หมอเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานไหม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ขณะนั่งทบทวนอ่านบทความและรายงานวิจัย ก็เกิดคำถามอย่างหนึ่งคือ อาชีพแพทย์หรือหมอที่มีความรู้เรื่องการดูแลเรื่องสุขภาพเป็นอย่างดี และทราบถึงคุณค่าและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในการปฏิบัติ จริง ๆ แล้วหมอสามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลกได้มากน้อยแค่ไหน ลองค้นช้อมูลในการศึกษาในประเทศไทยพบว่าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงค้นในวิจัยต่างประเทศโดยเป็นการศึกษาในประเทศตรุกีพบว่า แพทย์มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้นานเฉลี่ย 4.8 เดือนและคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องได้นานเฉลี่ย 15.8 เดือน ปัญหาหรืออุปสรรคในการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่คือ การกลับไปทำงานและอยู่เวรของแพทย์ และการขาดสิ่งที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่ทำงาน นอกจากนี้ จากข้อมูลในรายงาน พบร้อยละ 43.6 ของแพทย์ที่ไม่สามารถใช้สิทธิการลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเต็มที่1 โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้ว่าจะมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูง แต่ก็ยังมีอุปสรรคในเรื่องการงานและการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่ทำงาน ดังนั้น การที่จะช่วยให้แพทย์มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายการสนับสนุนให้แพทย์ลาพักสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้โดยลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแพทย์ที่ต้องรีบกลับมาปฏิบัติงานทั้ง ๆ ที่ยังลาพักไม่ครบ และการสนับสนุนให้โรงพยาบาลมีห้องพร้อมอุปกรณ์ที่แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์สามารถจะใช้บีบหรือปั๊มเก็บนมแม่ได้อย่างสะดวกและมีความเพียงพอ      

เอกสารอ้างอิง

1.        Ersen G, Kasim I, Agadayi E, Demir Alsancak A, Sengezer T, Ozkara A. Factors Affecting the Behavior and Duration of Breastfeeding Among Physician Mothers. J Hum Lact 2020:890334419892257.