คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่2

IMG_1036

สำหรับเป้าหมายของแผนปฏิบัติการในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงแรกปี พ.ศ.2533 มี 4 ข้อคือ

? ? ? ? ? ? ? ?1.เจรจาหาความร่วมมือจากผู้ที่อำนาจในการดำเนินงาน พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายภาคส่วนทั้งจากภาครัฐ เอกชน และบุคลากรทางการแพทย์

? ? ? ? ? ? ? ?2.สนับสนุนการให้สถานพยาบาลดำเนินการตามหลักบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ?3.ยึดการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

? ? ? ? ? ? ? ?4.ส่งเสริมให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองและปกป้องสิทธิในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่สตรีที่ทำงาน

? ? ? ? ? ? ? ? และในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการเพิ่มเป้าหมายในแผนปฏิบัติการอีก 5 ข้อ

? ? ? ? ? ? ? ? 5.พัฒนา ติดตามและประเมินผลนโยบายและระบบการดำเนินงานเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็กตามบริบทของนโยบายเรื่องอาหาร อนามัยการเจริญพันธุ์ และการแก้ปัญหาเรื่องความยากจนของแต่ละประเทศ

? ? ? ? ? ? ? ? ?6.สนับสนุนให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องสุขภาพและหน่วยงานภาคประชาสังคมช่วยกันปกป้องให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และกินนมแม่ต่อเนื่องจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น โดยช่วยส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนของครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบการ และทำให้มารดาสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือเหล่านี้ได้

? ? ? ? ? ? ? ? 7.ส่งเสริมการจัดอาหารเสริมตามวัยที่ปลอดภัยและให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

? ? ? ? ? ? ? ? 8.จัดทำแนวทางในการให้อาหารทารกและเด็กเล็กในกรณีที่มีความเจ็บป่วยหรือยากลำบากในการให้ พร้อมทั้งการให้การสนับสนุนในมารดา ครอบครัว และบุคลากรทางแพทย์ในกรณีเดียวกัน

? ? ? ? ? ? ? ? ?9.พิจารณาการระเบียบหรือตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อใช้ส่งเสริมหรือวัดผลการดำเนินงานของหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและปัญหาด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่1

IMG_1041

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การดำเนินการด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขององค์การอนามัยโลกได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2524 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศสนับสนุนให้มีการใช้หลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กเมื่อปี พ.ศ. 2524 หรือเรียกย่อว่า code และมีประเทศที่นำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้กว่าร้อยละ 70 ทั่วโลก1 โดยวัตถุประสงค์ของการออกหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารของทารกและเด็กเล็กเพื่อป้องกันมารดาและบุคลากรทางการแพทย์จากการตลาดของนมผสม ในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) องค์กรอนามัยโลกและองค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) ประกาศการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างชัดเจนในปฏิญญาบริสุทธิ์ที่ว่าด้วยการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Innocent ?Declaration on the Protection, Promotion and Support of Breastfeeding) และในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) มีการเริ่มนโยบายการดำเนินงานโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดียิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือยุทธวิธี คือ บันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในช่วงแรกมีแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 4-6 เดือน2 ต่อมาเมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่เริ่มมากขึ้น โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจและหูอักเสบ ผิวหนังอักเสบ3 จึงได้นำไปสู่ให้ข้อแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเพิ่มจาก 4 เดือนเป็น 6 เดือน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศข้อแนะนำว่ามารดาควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือนในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544)2

เอกสารอ้างอิง

  1. Salasibew M, Kiani A, Faragher B, Garner P. Awareness and reported violations of the WHO International Code and Pakistan’s national breastfeeding legislation; a descriptive cross-sectional survey. Int Breastfeed J 2008;3:24.
  2. Fewtrell MS, Morgan JB, Duggan C, et al. Optimal duration of exclusive breastfeeding: what is the evidence to support current recommendations? Am J Clin Nutr 2007;85:635S-8S.
  3. Kramer MS, Chalmers B, Hodnett ED, et al. Promotion of breastfeeding intervention trial (PROBIT): a cluster-randomized trial in the Republic of Belarus. Design, follow-up, and data validation. Adv Exp Med Biol 2000;478:327-45.

?

วัฒนธรรมการแข่งขันปั๊มเก็บนมแม่

electric expression x1-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในปัจจุบัน กระแสเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เริ่มมีเพิ่มขึ้นในสังคมไทย ซึ่งสิ่งที่เกิดเพิ่มขึ้นตามมาคือ การบีบน้ำนมหรือปั๊มนมเก็บแช่ตู้เย็น จริงๆ แล้ว การบีบเก็บน้ำนมหรือการปั๊มนมแล้วเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่จะช่วยให้มารดาสามารถคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หากมารดามีความจำเป็นต้องไปทำงานนอกบ้านโดยไม่สามารถกลับมาให้ลูกกินนมแม่ระหว่างวันได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่หากทำกันโดยแข่งขันกันว่า แม่คนหนึ่งบีบเก็บน้ำนมหรือปั๊มนมเก็บได้มากกว่าอีกคนหนึ่งจนกลายเป็นวัฒนธรรมการแข่งขันการเก็บนมแม่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

??????????????? นมแม่จะดีที่สุดหากให้ลูกได้ดูดนมที่สดใหม่จากเต้า ซึ่งระหว่างที่ลูกดูดนม สายตาของมารดาสื่อประสานใจกับทารก อารมณ์ ความรู้สึก การพูดคุย จะช่วยให้ลูกได้มีพัฒนาการของระบบประสาท สมอง และอารมณ์ไปพร้อมๆ กันอย่างสมดุล ซึ่งช่วยสร้างเด็กที่เก่งและมีความมั่นคงในอารมณ์ที่จะเป็นคนดีและสร้างอนาคตของชาติได้ การเก็บรักษานมในตู้เย็น คุณค่าของน้ำนมแม่จะลดลง ยิ่งเก็บน้ำนมไว้นาน คุณค่าจะยิ่งลดลงมาก อย่างไรก็ตาม น้ำนมแม่ก็ยังมีคุณค่าสูงกว่านมผสม ดังนั้น การวางแผนเก็บตุนน้ำนมควรทำให้เหมาะสมกับสภาวะของมารดาที่จำเป็นแยกจากทารกเท่าที่จำเป็นต้องใช้ และผู้ที่ทำหน้าที่ให้นมแม่ที่ได้จากการเก็บและละลายมาใช้ ควรมีใส่ใจ ใส่ความรักลงไป ขณะที่ให้นมทารกให้คล้ายคลึงกับการให้นมลูกของมารดา และอย่าลืมว่า ?ที่เก็บน้ำนมแม่ที่ดีที่สุดคือเต้านมของแม่ ที่ที่เก็บได้นานเท่านาน คงคุณค่า ไม่มีวันบูดหรือเสีย และพร้อมใช้ตลอดเวลา?

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศไทย

00025-1-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า องค์การอนามัยโลกได้รณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาอย่างต่อเนื่อง และได้ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนไว้ที่ร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2025 ในปัจจุบันอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนโดยภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 39

? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับในประเทศไทยปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ.2547 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบาย แนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2544-2549) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ไว้ว่า ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนอย่างน้อยร้อยละ 30 ?แต่จากการติดตามผลการดำเนินการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยสี่เดือนในปี 2536-2544 พบตั้งแต่ร้อยละ 1.0-16.31 ในปี พ.ศ.2549 องค์กรยูนิเซฟสำรวจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนร้อยละ 5.4 ในปี พ.ศ.2552 จากการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ (National Reproductive Health Survey) ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนร้อยละ 15.52

? ? ? ? ? ? และในปี พ.ศ. 2555 องค์กรยูนิเซฟได้มีการสำรวจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนในประเทศไทยซ้ำ พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนเท่ากับร้อยละ 12.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี พ.ศ.2549 จะเห็นว่าตัวเลขของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่บรรลุเป้าหมาย แต่จากข้อมูลของกรมอนามัยในปี พ.ศ.2555 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเท่ากับร้อยละ 47.5 โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลจากฐานข้อมูลในโรงพยาบาลซึ่งจะมีความแตกต่างจากข้อมูลที่สำรวจในชุมชน ขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ได้ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 50 ซึ่งขยับเป้าหมายสูงขึ้น การจะบรรลุเป้าหมายนี้เป็นสิ่งท้าทายที่จำเป็นต้องความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมทั้งความตื่นตัวของกระแสสังคมและการสนับสนุนในด้านนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.
  2. Kongsri S, Limwattananon S, Sirilak S, Prakongsai P, Tangcharoensathien V. Equity of access to and utilization of reproductive health services in Thailand: national Reproductive Health Survey data, 2006 and 2009. Reprod Health Matters 2011;19:86-97.

 

 

อุปกรณ์ในการช่วยป้อนนม จำเป็นหรือไม่

DSC00123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ทารกที่ดูดนมจากเต้าได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติสร้างมา โดยให้ทารกได้รับทั้งความอบอุ่น สัมผัสที่กระตุ้นพัฒนาการ สายตาที่จะจดภาพจำ จมูกที่รับกลิ่นน้ำนมที่เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของทารกแรกเกิด

? ? ? ? ?แต่สำหรับทารกบางคนที่ไม่มีความพร้อมในการดูดนมจากเต้า ได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด? ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ ทารกที่มีความผิดปกติของช่องปาก หรือทารกที่เจ็บป่วยรุนแรง การใช้อุปกรณ์ในการช่วยป้อนนมอาจมีความจำเป็น

? ? ? ? ?การใช้อุปกรณ์ช่วยป้อนนมที่เต้านม (at-breast feeders) ในทารกที่พอจะดูดนมจากเต้าได้ แต่ดูดน้ำนมได้น้อยไม่เพียงพอ หรือดูดแล้วมีอาการหอบเหนื่อย การใช้อุปกรณ์ช่วยป้อนนมที่เต้านมจะเป็นช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมมากขึ้น โดยในระหว่างที่ทารกดูดนม อุปกรณ์ป้อนที่มีถุงเก็บน้ำนมและมีสายมาวางติดที่เต้านมจะป้อนน้ำนมให้ไหลผ่านสายยางมาที่ปากและให้กับทารกขณะที่อมหัวนมและลานนมและดูดนมที่เต้า และการขณะเดียวกัน การดูดนมของทารกจะไปกระตุ้นกลไกการสร้างน้ำนมของมารดาเพิ่มขึ้นด้วย วิธีการนี้ ในโรงพยาบาลอาจทำโดยใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาและนำมาให้ทารกในลักษณะเดียวกันได้

? ? ? ? ?การป้อนนมด้วยถ้วย ในทารกที่ไม่สามารถดูดนมจากเต้านมได้โดยตรง การป้อนนมด้วยถ้วยอาจพิจารณาการใช้ขณะที่รอทารกแข็งแรงขึ้น มีพัฒนาการที่ดีขึ้น อาการเจ็บป่วยมีความรุนแรงน้อยลง การป้อนนมด้วยถ้วยจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทารกได้รับนม และเป็นการฝึกทักษะเบื้องต้นในการดูดนมแม่จากเต้า เนื่องจากในการป้อนนมด้วยถ้วยในระหว่างที่ป้อนนม ทารกจะต้องแลบลิ้นออกมา เพื่อช้อนน้ำนมจากถ้วยขึ้นไป ซึ่งลักษณะนี้จะเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดูดนมจากเต้านมเช่นกัน ดังนั้น บางครั้งในมารดาบางคน บุคลากรทางการแพทย์จะแนะให้มารดาฝึกป้อนแก้วระหว่างที่รอทารกสมบูรณ์และพร้อมที่จะดูดนมจากเต้า

? ? ? ? ?การป้อนนมด้วยช้อน ลักษณะการป้อนควรมีการฝึกให้ทารกได้แลบลิ้นออกมา เลียหรือช้อนนมเข้าปากไป ซึ่งจะช่วยในกลไกการดูดนมจากเต้าเมื่อทารกมีความพร้อม การป้อนนมด้วยช้อนมักใช้ในมารดาและทารกที่มีลักษณะเช่นเดียวกับทารกที่ป้อนนมด้วยถ้วย แต่น้ำนมที่ป้อนมีปริมาณน้อย เช่น หัวน้ำนมที่มารดามีในสองสามวันแรกหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. .2nd?ed Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.