คลังเก็บหมวดหมู่: การเตรียมตัวเมื่อตั้งครรภ์

การเตรียมตัวเมื่อตั้งครรภ์

การนับอายุครรภ์และการคำนวณวันครบกำหนดคลอด นับกันอย่างไร?

การคำนวณวันครบกำหนดคลอด

? ? ? ? ? ??ในหนึ่งเดือนช่วงที่จะมีการตั้งครรภ์ได้คือช่วงที่มีการตกไข่แล้วมีการปฏิสนธิ ปกติแล้ว วันตกไข่ในสตรีที่มีรอบของประจำเดือนทุก 28 วัน คือวันที่ 14 นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์จะใช้เวลาประมาณ 266 วัน นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวันคลอด? เราจึงหาวันครบกำหนดคลอดได้จากการนับ 266+14 = 280 วันนับจากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (แต่ในทางการแพทย์มักใช้วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายในการคำนวณหาวันครบกำหนดคลอดโดยใช้วิธีง่ายๆ คือ บวกจำนวนวันไปอีก 7 วัน และนับย้อนเดือนไป 3 เดือน? ก็จะได้วันที่เป็นวันครบกำหนดคลอด)? การนับการอายุทารกตั้งแต่ปฏิสนธิมีความลำบากและไม่มีจุดอ้างอิงให้จดจำเหมือนประจำเดือน ดังนั้น เพื่อความสะดวกและแม่นยำการนับอายุครรภ์จึงนิยมนับเป็นสัปดาห์เริ่มต้นจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเช่นกัน ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจ เวลาไปพบแพทย์แล้ว แพทย์บอกว่า 6 สัปดาห์ทั้งที่เพิ่งขาดประจำเดือนไปเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

รู้ได้อย่างไรว่าตั้งครรภ์แล้ว?

รู้ได้อย่างไรว่าตั้งครรภ์แล้ว?

?

??????????? หลังจากที่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์แล้ว ควรจะต้องทราบถึงอาการที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ก่อน? บางครั้งคุณอาจไม่ได้สังเกตในระยะแรก? แต่สัญชาติญาณอาจทำให้นึกสงสัย? เพราะอาจมีความรู้สึกบางอย่างที่เปลี่ยนไป ได้แก่

-????????? ประจำเดือนขาด

-????????? เต้านมคัดตึงและเจ็บ สีคล้ำและขยายขนาด

-????????? หงุดหงิด เหนื่อยง่าย

-????????? หิวบ่อย

-????????? เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม

-????????? ง่วงนอนกลางวัน

-????????? ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น

-????????? ตกขาวลักษณะปกติ? แต่มีปริมาณมากขึ้น

-????????? ท้องผูก

-????????? คลื่นไส้อาเจียน

-????????? แสบร้อนบริเวณหน้าอก

-????????? รู้สึกทนไม่ได้กับบางอย่าง เช่น ควันการทำอาหาร? รู้สึกเหม็นกลิ่นกับข้าว

-????????? อยากอาหารรสเปรี้ยว หรืออาหารอื่นๆ แปลกๆ

ถ้ามีอาการดังกล่าว หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์? ปัจจุบันสามารถตรวจสอบได้รวดเร็วโดยสามารถซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในร้านขายยาและห้างสรรพสินค้า หรือไปปรึกษาแพทย์? ชุดทดสอบการตั้งครรภ์นี้จะตรวจสอบระดับฮอร์โมนในปัสสาวะ? ซึ่งปัจจุบันการตรวจสอบส่วนใหญ่สามารถตรวจได้หลังจากครบกำหนดประจำเดือนมาทันทีในผู้ที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอเป็นปกติ? หรือถ้าในรายที่มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอเพื่อความแน่นอนอาจรอประมาณ 2 สัปดาห์หลังประจำเดือนขาดก็ได้

?บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์