คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การดูแลอาการซึมเศร้าหลังคลอดกับการให้นมแม่ ตอนที่2

S__46162116

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? 2. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum blues หรือ baby blues มารดาจะมีอาการเศร้า กระวนกระวาย ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อาการนี้มักพบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในสองสัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเป็นจากการลดระดับของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอด การดูแลภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ทำโดยอธิบายให้มารดาและครอบครัวเข้าใจถึงลักษณะการเกิดอาการ ความร่วมมือของสามีและครอบครัวที่ดูแลเอาใจใส่ ลดงาน ลดภาระและลดความวิตกกังวลให้แก่มารดา จะช่วยสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาได้ การให้นมลูกจะช่วยสร้างความรู้สึกที่มีคุณค่าแก่มารดา ดังนั้น ไม่ควรให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาบางรายที่มีอาการซึมเศร้าอาจนอนไม่หลับ การจัดให้มารดาได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยในการรักษาด้วย การรักษาด้วยยาส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นในภาวะนี้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การดูแลอาการซึมเศร้าหลังคลอดกับการให้นมแม่ ตอนที่1

IMG_9420

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?อาการซึมเศร้าที่พบหลังคลอดแบ่งเป็น 4 ลักษณะตามความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาการเกิดอาการซึมเศร้า และผู้ที่มีอาการ ซึ่งการดูแลในแต่ละลักษณะอาการ มีดังนี้1,2

  1. อารมณ์เศร้าก่อนการให้นม หรือ Dysphoric Milk Ejection Reflux (D-MER) มารดาจะมีอาการเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังก่อนที่จะให้นมบุตร อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป สาเหตุของอาการซึมเศร้าเชื่อว่าเกิดจากโดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง การดูแลอาการเศร้าก่อนการให้นมนั้น ทำโดยอธิบายให้มารดาเข้าใจถึงลักษณะการเกิดอาการ ให้ความมั่นใจ ดูแลเอาใจใส่ และลดความวิตกกังวลให้แก่มารดาร่วมกับความร่วมมือของครอบครัว ฝึกผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึกๆ ฟังดนตรีที่ชอบ หรือใช้กลิ่นบำบัด (aromatherapy) โดยอาจใช้เทียนหอมในกลิ่นลาเวนเดอร์ที่ช่วยให้มารดารู้สึกผ่อนคลายได้ อาการแปรปรวนก่อนการให้นมโดยทั่วไปจะดีขึ้นเองและหายเองเมื่อเวลาผ่านไปราว 2-3 เดือน โดยการให้นมแม่ยังสามารถให้ได้ปกติ

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การติดเชื้อซิก้าไวรัสกับการให้นมลูก

IMG_9423

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เชื้อซิก้าไวรัสเป็นไวรัสที่มีการติดต่อผ่านพาหะคือ ยุงสายพันธุ์ Aedes aegypti?และ Aedes albopictus ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ไม่มีอาการ ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นผื่นแดง ปวดข้อ และมีตาแดง สำหรับอาการที่รุนแรงพบน้อย มีรายงานการติดเชื้อซิก้าไวรัสผ่านมารดาไปยังทารกระหว่างการตั้งครรภ์โดยอาจทำให้เกิดภาวะศรีษะเล็กในทารกและเกิดการแท้งได้โดยมีการพบไวรัสซิก้าในสมองของทารกที่ติดเชื้อและทารกที่เสียชีวิตจากการแท้ง มีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสซิก้าในน้ำนม แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อผ่านการกินนมแม่ ดังนั้น จากข้อมูลทั้งหมด ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (center for disease control) จึงยังแนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อซิก้าไวรัส เนื่องจากประโยชน์ของนมแม่มีมากกว่าความเสี่ยงจากการติดเชื้อซิก้าไวรัส1

เอกสารอ้างอิง

  1. Staples JE, Dziuban EJ, Fischer M, et al. Interim Guidelines for the Evaluation and Testing of Infants with Possible Congenital Zika Virus Infection – United States, 2016. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2016;65:63-7.

 

 

ควรมีการสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร ในมารดาตั้งครรภ์ไตรมาสสาม

IMG_9410

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? จากที่มารดาและครอบครัวเห็นประโยชน์ ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้เข้ากลุ่มและมีพี่เลี้ยงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการแนะนำในไตรมาสแรกที่สองแล้ว ในไตรมาสที่สาม ข้อแนะนำที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้1 ได้แก่

??????????????? –สอนการเข้าเต้าโดยใช้ตุ๊กตาให้มารดาทดลองอุ้มและท่าในการให้นมลูก ได้แก่ ท่าเอนหลัง (laid-back) ท่าอุ้มขวางตัก ท่าอุ้มขวางตักประยุกต์ ท่าฟุตบอล และท่านอนตะแคง

? ? ? ? ? ? ? ? ?-ทบทวนกระบวนการเริ่มการให้นม การสร้างและการหลั่งน้ำนม

? ? ? ? ? ? ? ? -กระตุ้นให้มารดาได้เข้าร่วมสังเกตกลุ่มมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามแต่ละขั้นตอนที่มารดาสนใจ

? ? ? ? ? ? ? ?-ให้ข้อมูลทางเลือกของการลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอด และผลกระทบของการใช้ยาแก้ปวดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ?-อภิปรายถึงความสำคัญของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) ต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มารดาควรต้องปฏิบัติไม่ว่ามารดาจะคลอดบุตรด้วยวิธีการคลอดวิธีใด การเริ่มให้ทารกดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด การให้ทารกคืบคลานเข้าหาเต้านมมารดา (breast crawl) และวิธีการที่จะทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จไปได้ด้วยดี

? ? ? ? ? ? ? ? -แนะนำให้มีการอภิปรายพูดคุยกับมารดาและครอบครัวเกี่ยวกับแผนในการเลี้ยงดูทารกและแผนในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์

? ? ? ? ? ? ? ? -เน้นให้มารดาและครอบครัวเห็นความสำคัญของการติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในสัปดาห์แรกหลังคลอดโดยเฉพาะในมารดาและทารกที่มีความเสี่ยงจะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร

เอกสารอ้างอิง

  1. Rosen-Carole C, Hartman S. ABM Clinical Protocol #19: Breastfeeding Promotion in the Prenatal Setting, Revision 2015. Breastfeed Med 2015;10:451-7.

 

 

ควรมีการสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร ในมารดาตั้งครรภ์ไตรมาสสอง

IMG_9407

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังจากที่มารดาและครอบครัวเห็นประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการแนะนำในไตรมาสแรกแล้ว ในไตรมาสที่สอง ข้อแนะนำที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้1 ได้แก่

??????????????? -สร้างให้มารดามีความมั่นใจและกำลังใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการพูดคุยถึงบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ โดยอาจเป็นคนที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ หรือเป็นคนในครอบครัว พี่น้อง หรือเพื่อน เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-แนะนำให้มารดา ครอบครัว หรือผู้ที่มีส่วนในการดูแลทารกได้เข้ากลุ่มเพื่อนมารดาที่สนใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อให้มีการพูดคุยระหว่างสตรีตั้งครรภ์ด้วยกัน หรือมีการแลกเปลี่ยนปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งทำให้ได้เห็นมารดาที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัญหาที่มารดาอาจพบหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีการปฏิบัติได้จริงเป็นตัวอย่าง

-ทบทวนพื้นฐานของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน การสร้างน้ำนม การเข้าเต้าและการดูดนมของทารกที่เหมาะสม การให้นมตามความต้องการของทารก จำนวนครั้งและปริมาณของการให้นม อาการหิวหรืออาการอิ่มของทารก และการหลีกเลี่ยงการป้อนนมจากขวดนมหรือการใช้จุกนมหลอก

-สำหรับมารดาที่ต้องกลับไปทำงานหรือจำเป็นต้องแยกจากทารก ชี้แจงถึงสิทธิในการลาพักหลังคลอดเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กระตุ้นและให้กำลังใจให้มารดามองเห็นกระบวนการจัดการเพื่อให้ยังคงสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ การบีบน้ำนมด้วยมือ การปั๊มนม การเก็บน้ำนม นโยบายการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสถานประกอบการ การมีมุมนมแม่

-สนับสนุนให้มีพี่เลี้ยง (doula) ที่จะดูแลมารดาในระหว่างการคลอด หลังคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรืออาสาสมัครที่มารดาคุ้นเคยและไว้ใจที่จะให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาและแนะนำให้มารดาผ่านกระบวนการการคลอดไปได้ด้วยดีและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ

เอกสารอ้างอิง

  1. Rosen-Carole C, Hartman S. ABM Clinical Protocol #19: Breastfeeding Promotion in the Prenatal Setting, Revision 2015. Breastfeed Med 2015;10:451-7.