คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

มารดาที่ให้นมลูกดื่มเครื่องดื่มชูกำลังได้ไหม

S__46162102

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในช่วงหลังคลอด มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจจะต้องตื่นบ่อยเพื่อให้นมลูก และบางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลีย จึงอาจมีคำถามว่า สามารถดื่มเครื่องดื่มชูกำลังได้หรือไม่ โดยทั่วไปเครื่องดื่มชูกำลังที่มีขายตามท้องตลาดมักมีส่วนประกอบของคาเฟอีน วิตามิน น้ำตาลเพื่อให้พลังงานและสมุนไพรบางชนิด1 ซึ่งมารดาอาจสามารถตรวจสอบส่วนผสมของสารที่มีอยู่ในเครื่องดื่มชูกำลังได้จากฉลากที่ติดอยู่ข้างขวด โดยคาเฟอีนที่มีอยู่ในเครื่องดื่มชูกำลังจะผ่านไปสู่น้ำนมได้ดีและอาจทำให้ทารกร้องกวน หงุดหงิด ไม่ยอมนอนได้ เนื่องจากคาเฟอีนที่ผ่านไปยังทารกจะถูกกำจัดได้ช้ากว่าและอยู่ในร่างกายทารกนาน สำหรับวิตามินและน้ำตาลสามารถรับประทานได้ในขนาดที่ไม่เกินความต้องการของร่างกาย ส่วนสมุนไพรบางชนิดอาจมีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ในระหว่างการให้นมลูก ดังนั้น ทางเลือกแรกที่เหมาะสมสำหรับมารดาที่ให้นมบุตร ควรเลือกการพักผ่อนไปพร้อมกับทารกมากกว่า คือ ?ลูกหลับแม่หลับด้วยเพื่อให้มารดาได้พักผ่อนได้ดีขึ้น? สำหรับการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากมักมีส่วนประกอบของคาเฟอีนและสารประกอบอื่นๆ ซึ่งมารดาจำเป็นต้องศึกษาจากฉลากที่ชี้แจงส่วนผสมก่อนการเลือกใช้เสมอ

เอกสารอ้างอิง

  1. Thorlton J, Ahmed A, Colby DA. Energy Drinks: Implications for the Breastfeeding Mother. MCN Am J Matern Child Nurs 2016.

?

 

เด็กจะแข็งแรงกว่าหากกินนมแม่นาน

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? นมแม่มีภูมิคุ้นกันโรคที่ส่งผ่านจากมารดาไปให้แก่ทารก นอกเหนือจากการป้องกันโรคแล้ว ยังมีการศึกษาในนักเรียนอายุเฉลี่ย 7 ปีถึงสมรรถนะของระบบการหายใจและการเต้นของหัวใจ (cardiorespiratory fitness) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความแข็งแรงของร่างกาย พบว่า เด็กที่กินนมแม่นานกว่าหกเดือนสัมพันธ์กับการมีสมรรถนะของระบบการหายใจและการเต้นของหัวใจที่ดีกว่า และเด็กที่กินนมแม่น้อยมีความเสี่ยง 3.2 เท่าที่จะไม่ผ่านการทดสอบสมรรถนะของระบบการหายใจและการเต้นของหัวใจเมื่อเทียบกับเด็กที่กินนมแม่นานกว่าหกเดือน1 ซึ่งสิ่งนี้อาจแสดงถึงหลักฐานเบื้องต้นที่ยืนยันว่า ?ทารกที่กินนมแม่ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะมีสมรรถภาพของร่างกายที่แข็งแรงกว่า? ที่จะนำไปสู่การศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Vafa M, Heshmati J, Sadeghi H, et al. Is exclusive breastfeeding and its duration related to cardio respiratory fitness in childhood? J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29:461-5.

?

?

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยชีวิตทั้งแม่และลูก

latching2-1-o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า นมแม่มีประโยชน์มากทั้งต่อมารดาและทารก ในมารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคเบาหวาน และช่วยในการคุมกำเนิดได้ ในทารกช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ โรคท้องร่วง การอักเสบของหูส่วนกลาง โรคหอบหืด โรคอ้วน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก รวมถึงเพิ่มความเฉลียวฉลาด โดยมีการคำนวณเฉพาะการป้องกันมะเร็งเต้านม ในมารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปัจจุบันป้องกันมารดาทั่วโลกจากการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมปีละราว 20000 คน สำหรับในทารก หากได้กินนมแม่จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของทารกทั่วโลกได้ราวปีละ 800000 คน1 ดังนั้น สิ่งที่เป็นพื้นฐานธรรมชาติที่ง่ายในการปฏิบัติที่ช่วยเสริมสร้างชีวิตให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น จึงควรค่าในการส่งเสริมสนับสนุน และลงทุนเพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Victora CG, Bahl R, Barros AJ, et al. Breastfeeding in the 21st century: epidemiology, mechanisms, and lifelong effect. Lancet 2016;387:475-90.

?

การตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีผลเสียต่อมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่

00025-1-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การติดเชื้อเอชไอวีพบได้ในคนทั่วไปทั้งในบุรุษและสตรี โดยอุบัติการณ์จะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งในปัจจุบันการใช้ชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หากดูแลตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ออกกำลังกาย และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้ แต่เริ่มมีคำถามว่า หากสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือคุมกำเนิดมีผลต่อตัวโรคที่เป็นอยู่ไหม จะทำให้โรคแย่ลงหรือไม่ มีการศึกษาเพื่อตอบคำถามนี้ พบว่า การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร หรือการคุมกำเนิดไม่ได้ทำให้การดำเนินของโรคแย่ลง1

? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม สตรีที่ตั้งครรภ์ควรทราบถึงโอกาสที่บุตรจะติดเชื้อผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดซึ่งหากมีการดูแลที่เหมาะสม โอกาสที่จะติดเชื้อน้อยราวร้อยละ 1 สำหรับการให้นมบุตร หากมีทางเลือกแนะนำการใช้นมผสม แต่หากจำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ การพาสเจอไรส์นมแม่ หรือการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่าการกินนมแม่ร่วมกับนมผสม สำหรับการคุมกำเนิดสามารถใช้การคุมกำเนิดโดยการกินยาคุมกำเนิด การฉีดยาหรือใช้ยาฝังคุมกำเนิดได้อย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนหรือไม่ได้ตั้งใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Wall KM, Kilembe W, Haddad L, et al. Hormonal Contraception, Pregnancy, Breastfeeding, and Risk of HIV Disease Progression Among Zambian Women. J Acquir Immune Defic Syndr 2016;71:345-52.

มารดาที่รู้สึกด้อยค่าเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_0712

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การรู้สึกด้อยค่ามักพบในมารดาที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยพบว่า มารดาที่รู้สึกด้อยค่าหรือมีอาการซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหนึ่งเดือนแรก1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์นอกจากจะต้องใส่ใจกับการสังเกตการณ์เข้าเต้าและการกินนมที่เหมาะสมของทารกแล้ว ยังต้องสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของมารดาร่วมกันไปด้วยเสมอ เนื่องจากการจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องเกิดจากความพร้อมของทั้งมารดาและทารก

? ? ? ? ? แต่ในทางกลับกัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับช่วยลดการเกิดการซึมเศร้าหลังคลอด โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ในช่วงสามเดือนหลังคลอด2 และความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดพบในมารดาที่ให้นมแม่ร้อยละ 2.5 ขณะที่พบร้อยละ 19.4 ในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่3

เอกสารอ้างอิง

  1. Zanardo V, Volpe F, Giustardi A, Canella A, Straface G, Soldera G. Body image in breastfeeding women with depressive symptoms: a prospective study. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29:836-40.
  2. Figueiredo B, Canario C, Field T. Breastfeeding is negatively affected by prenatal depression and reduces postpartum depression. Psychol Med 2014;44:927-36.
  3. Tashakori A, Behbahani AZ, Irani RD. Comparison Of Prevalence Of Postpartum Depression Symptoms Between Breastfeeding Mothers And Non-breastfeeding Mothers. Iran J Psychiatry 2012;7:61-5.

?