รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? หลังคลอดขณะที่มารดาให้นมลูก มารดาอาจเจ็บป่วยและจำเป็นต้องรับประทานยา ซึ่งยานั้นมีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีข้อแนะนำที่แตกต่างกันในระหว่างการให้นม ดังนั้น คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์และเภสัชกรผู้ที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้ยา จึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสอบถามว่า สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระยะที่ให้นมบุตรหรือไม่ หลังจากนั้น จึงพิจารณาการแนะนำการใช้ยาในระหว่างให้นมบุตรในแต่ละตัวยา ข้อควรระวังต่างๆ ที่ควรให้การสังเกตหรือใส่ใจในกรณีที่สงสัยจะเกิดอาการหรือความผิดปกติจากการใช้ยาในมารดาและทารก ความชุกของการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรมีรายงานอาจสูงถึงร้อยละ 661 และมีการซื้อยาเองจากร้านขายยาร้อยละ 172
ในประเทศไทย ยังมีการศึกษาในเรื่องการใช้ยาของมารดาขณะให้นมบุตรน้อย แต่จากการสำรวจโดยการเยี่ยมบ้านของมารดาที่คลอดบุตรที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พบมีการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรในหนึ่งเดือนแรกหลังคลอดร้อยละ 31.4 โดยที่ยาที่พบว่ามีการใช้มากที่สุด คือ ยาสตรีที่รับประทานเพื่อขับน้ำคาวปลาโดยพบร้อยละ 25 ของสตรีหลังคลอด สตรีที่รับประทานยาเหล่านี้ มักซื้อจากร้านขายยาเอง และขาดการให้คำแนะนำในการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตร สิ่งเหล่านี้ อาจมีผลต่อการที่มารดาจะให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งในมารดาบางคนอาจวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัยในการใช้ยาทำให้หยุดการให้นมแม่ชั่วคราวหรือถาวร ดังนั้น ควรมีการศึกษาถึงผลกระทบของการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในอนาคตต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Schirm E, Schwagermann MP, Tobi H, de Jong-van den Berg LT. Drug use during breastfeeding. A survey from the Netherlands. Eur J Clin Nutr 2004;58:386-90.
Al-Sawalha NA, Tahaineh L, Sawalha A, Almomani BA. Medication Use in Breastfeeding Women: A National Study. Breastfeed Med 2016;11:386-91.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? เมื่อทารกร้อง หากไม่ได้มีการสังเกตว่า ทารกร้องเพราะเหตุใด การตอบสนองโดยการป้อนนมแก่ทารก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกอ้วน และเกิดภาวะอ้วนในระยะยาวเมื่อทารกเติบโตขึ้น มีการศึกษาพบว่า การตอบสนองต่อทารกเมื่อทารกร้องด้วยการให้นมมากกว่าการดูว่าทารกร้องหรือไม่สบายตัวจากสิ่งใด มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของน้ำหนักทารกที่มากกว่า การป้อนนมของมารดาที่มากกว่า และโอกาสการให้นมขวดที่เพิ่มขึ้น 1 ดังนั้น มารดาจำเป็นต้องมีความรู้ว่า ลูกหิวลูกจะมีอาการอย่างไร และสังเกตได้ว่าลูกว่าร้องเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งในบางครั้งในมารดาที่ขาดประสบการณ์ บุคลากรทางการแพทย์ควรสอนและชี้ให้เห็นว่า อาการใดเป็นอาการที่บ่งบอกว่าลูกหิว ซึ่งจะช่วยฝึกให้ลูกได้มีพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม และป้องกันภาวะอ้วนในอนาคตเมื่อทารกโตขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Buvinger E, Rosenblum K, Miller AL, Kaciroti NA, Lumeng JC. Observed infant food cue responsivity: Associations with maternal report of infant eating behavior, breastfeeding, and infant weight gain. Appetite 2017.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?สิ่งที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพชีวิตในระยะยาวนอกเหนือจากพันธุกรรม ได้แก่ สารอาหารที่ได้รับในช่วงแรกเกิด ซึ่งมีการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สำคัญเหล่านี้คือ นมแม่ และวิตามินดี ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ แบคทีเรีย probiotics และพันธุศาสตร์กระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenesis) 1 ซึ่งสิ่งที่ควบคุมและสนับสนุนได้ คือ การที่มารดาให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งเป็นเสมือนมอบหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยสร้างสุขภาพชีวิตที่ดีให้แก่ลูก โดยหากร่วมกับการดูแลเอาใจใส่ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ การกินอาหารที่ได้สัดส่วนที่สมดุลของมารดา การได้รับวิตามินดี และแบคทีเรีย probiotics ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น สุขภาพที่ดีของลูกขึ้นอยู่กับมารดาที่เป็นเสมือนพระพรหมผู้สร้างสรรค์และบันดาลสิ่งแวดล้อมพร้อมสุขภาพที่ดีแก่ลูกได้
เอกสารอ้างอิง
Berti C, Agostoni C, Davanzo R, et al. Early-life nutritional exposures and lifelong health: immediate and long-lasting impacts of probiotics, vitamin D, and breastfeeding. Nutr Rev 2017.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? มารดาแต่ละคน ในการที่จะวางแผนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจมีปัญหาและอุปสรรคที่แตกต่างกัน ดังนั้น การที่บุคลากรทางการแพทย์จะให้คำปรึกษาแก่มารดา จำเป็นต้องทราบบริบทของมารดา ได้แก่ มารดาพักอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร ทำงานอะไร มีใครช่วยเหลือในการเลี้ยงหรือดูแลลูกหรือไม่ สภาพครอบครัวเป็นอย่างไร บทบาทของมารดาและคนในครอบครัว หน้าที่และภาระงานต่าง ๆ ที่มารดาต้องปฏิบัติ เป็นต้น การที่จะเข้าถึงมารดาและให้คำปรึกษาจำเป็นต้องมีรูปแบบที่หลากหลายให้มารดามีความสะดวกที่จะเลือกใช้ โดยอาจใช้รูปแบบการให้คำปรึกษาที่คลินิกนมแม่ หรือในคนรุ่นใหม่อาจให้คำปรึกษาผ่านกลุ่มไลน์ ซึ่งจะทำให้การสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จโดยมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น1
เอกสารอ้างอิง
Dowling S, Pontin D. Using liminality to understand mothers’ experiences of long-term breastfeeding: ‘Betwixt and between’, and ‘matter out of place’. Health (London) 2017;21:57-75.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?แม่มักต้องการมีลูกที่ฉลาด ซึ่งพื้นฐานของความฉลาดเบื้องต้นก็มาจากอาหารที่ทารกรับประทาน และอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิดก็คือ นมแม่ ที่มีสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะกรดไขมันต่าง ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาของสมอง มีการศึกษาพบว่าระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สัมพันธ์กับไอคิวของทารกที่สูงขึ้น เช่นเดียวกันกับการพบว่ากรดไขมันที่มีอยู่ในนมแม่สัมพันธ์กับไอคิวที่เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดูเหมือนจะมีผลมากกว่า1 แต่ในสภาพความเป็นจริงในมารดาที่เอาใจใส่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และให้ลูกกินนมแม่นาน มักจะรับประทานอาหารที่บำรุงตนเองอยู่แล้ว การให้นมแม่จึงมักมาร่วมกับสารอาหารที่ครบถ้วนและเสริมสร้างการบำรุงสมอง นอกจากนี้ ในนมแม่มีภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้ลูกเจ็บป่วยน้อยและมีความแข็งแรง จึงต้องนำเสนอว่า มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน จะช่วยให้ลูกฉลาดและมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงมากกว่ามารดาที่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ และแม่ที่ต้องการให้ลูกฉลาดก็ควรให้ลูกกินนมแม่
เอกสารอ้างอิง
Bernard JY, Armand M, Peyre H, et al. Breastfeeding, Polyunsaturated Fatty Acid Levels in Colostrum and Child Intelligence Quotient at Age 5-6 Years. J Pediatr 2017.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)