การใช้ยาของมารดาขณะให้นมบุตร

IMG_3463

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? หลังคลอดขณะที่มารดาให้นมลูก มารดาอาจเจ็บป่วยและจำเป็นต้องรับประทานยา ซึ่งยานั้นมีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีข้อแนะนำที่แตกต่างกันในระหว่างการให้นม ดังนั้น คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์และเภสัชกรผู้ที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้ยา จึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสอบถามว่า สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระยะที่ให้นมบุตรหรือไม่ หลังจากนั้น จึงพิจารณาการแนะนำการใช้ยาในระหว่างให้นมบุตรในแต่ละตัวยา ข้อควรระวังต่างๆ ที่ควรให้การสังเกตหรือใส่ใจในกรณีที่สงสัยจะเกิดอาการหรือความผิดปกติจากการใช้ยาในมารดาและทารก ความชุกของการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรมีรายงานอาจสูงถึงร้อยละ 661 และมีการซื้อยาเองจากร้านขายยาร้อยละ 172

ในประเทศไทย ยังมีการศึกษาในเรื่องการใช้ยาของมารดาขณะให้นมบุตรน้อย แต่จากการสำรวจโดยการเยี่ยมบ้านของมารดาที่คลอดบุตรที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พบมีการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรในหนึ่งเดือนแรกหลังคลอดร้อยละ 31.4 โดยที่ยาที่พบว่ามีการใช้มากที่สุด คือ ยาสตรีที่รับประทานเพื่อขับน้ำคาวปลาโดยพบร้อยละ 25 ของสตรีหลังคลอด สตรีที่รับประทานยาเหล่านี้ มักซื้อจากร้านขายยาเอง และขาดการให้คำแนะนำในการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตร สิ่งเหล่านี้ อาจมีผลต่อการที่มารดาจะให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งในมารดาบางคนอาจวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัยในการใช้ยาทำให้หยุดการให้นมแม่ชั่วคราวหรือถาวร ดังนั้น ควรมีการศึกษาถึงผลกระทบของการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในอนาคตต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Schirm E, Schwagermann MP, Tobi H, de Jong-van den Berg LT. Drug use during breastfeeding. A survey from the Netherlands. Eur J Clin Nutr 2004;58:386-90.
  2. Al-Sawalha NA, Tahaineh L, Sawalha A, Almomani BA. Medication Use in Breastfeeding Women: A National Study. Breastfeed Med 2016;11:386-91.