คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

หากหัวนมบอด ทำอย่างไรถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

breast--1

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาที่มีหัวนมบอดจะสังเกตได้ว่า หัวนมจะบุ๋มลึกลงไปในเต้านม ซึ่งได้มีการแบ่งลักษณะของหัวนมบอดเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

? ? ? ? ? ?1.หัวนมบอดจะสามารถจะกระตุ้นให้หัวนมโผล่ออกมาได้ง่ายโดยการให้ทารกดูดนมหรือใช้การปั๊มนม

? ? ? ? ? ?2.หัวนมบอดที่สามารถกระตุ้นให้หัวนมให้หัวนมโผล่ออกมาได้ง่ายโดยการให้ทารกดูดนมหรือจากการปั๊มนม แต่หลังจากหยุดดูดนมหรือปั๊มนม หัวนมจะกลับบุ๋มลงไปเหมือนเดิม

? ? ? ? ? ?3.หัวนมบอดที่การกระตุ้นให้หัวนมโผล่ออกมาทำไม่ได้หรือทำได้ยาก

? ? ? ? ? ? ?ลักษณะของหัวนมในลักษณะที่ 1 และที่ 2 การจัดให้ทารกเข้าเต้าโดยการให้ทารกอมหัวนมและลานนมในลักษณะที่อมหัวนมและลานนมด้านล่างมากกว่าด้านบนจะสามารถช่วยในการให้นมทารกได้ แต่ลักษณะหัวนมบอดในลักษณะที่ 3 การดูดนมของทารกอาจทำไม่ได้ดี การบีบน้ำนมหรือการปั๊มนมอาจมีความจำเป็น ร่วมกับควรมีการประเมินการเจริญเติบโตของทารกร่วมด้วย เพื่อประเมินว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่ จะเห็นว่าลักษณะหัวนมบอดในลักษณะที่ 1และที่ 2 มารดายังสามารถให้นมทารกได้โดยต้องฝึกทักษะการเข้าเต้าที่เหมาะสม ขณะที่หัวนมบอดในลักษณะที่ 3 เป็นลักษณะที่มีความเสี่ยงในการที่ทารกจะได้รับนมไม่เพียงพอและมีเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์ บุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจว่ามารดาให้นมได้หรือไม่และให้นมได้เพียงพอไหม การติดตามน้ำหนักของทารกเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตจะทำให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มและการวางแผนการแก้ไขปัญหาจะทำได้ง่ายกว่า เมื่อทารกเกิดภาวะที่มีการเจริญเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ขั้นรุนแรง

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

หัวนมแบน ลูกจะดูดได้ไหม

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การตรวจเต้านมในมารดาระหว่างการตั้งครรภ์ อาจพบว่ามารดาบางคนมีหัวนมแบนราบไปกับเต้านม ซึ่งมารดาและบุคลากรทางการแพทย์อาจวิตกกังวลว่าจะให้นมลูกได้หรือไม่ แม้ว่าความยาวของหัวนมจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นได้บ้างในระหว่างตั้งครรภ์จนถึงระยะคลอดและหลังคลอด และความยาวหัวนมที่ 7 มิลลิเมตรในระยะหลังคลอดอาจมีความสัมพันธ์กับการเข้าเต้าได้ง่ายกว่า1 แต่หากมารดาเข้าใจถึงลักษณะการเข้าเต้าที่เหมาะ เรียนรู้ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เรื่องของหัวนมที่แบนราบจะไม่เป็นอุปสรรคในการให้นมแม่
? ? ? ? ? ? ? เริ่มต้นด้วย มารดาลองสังเกตว่าหัวนมที่แบนราบนั้น จะยืดออกอากาศเย็นหรือมีการกระตุ้นหรือไม่ หากยืดออกได้บ้างและความยาวหัวนมเพิ่มได้ถึง 3 มิลลิเมตร ทางเลือกหนึ่งในการช่วยให้ความยาวหัวนมเพิ่มขึ้นคือ การใช้อุปกรณ์ช่วยดึงหัวนม (nipple puller) โดยอุปกรณ์นี้หากมารดาใช้กระตุ้นหัวนมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในช่วงไตรมาสสอง เมื่อถึงหลังคลอด ความยาวหัวนมจะเพิ่มขึ้นได้ราว 4 มิลลิเมตร
? ? ? ? ? ? ? แต่หากมารดาไม่ได้ทำการช่วยกระตุ้นความยาวหัวนม การจัดลักษณะการเข้าเต้าที่เหมาะสมก็สามารถช่วยได้เช่นกัน เนื่องจากในขณะที่ทารกดูดนมแม่ ทารกจะไม่ได้ดูดนมเฉพาะหัวนม แต่จะงับทั้งส่วนของลานนมเข้าไปในปากด้วย การนำที่ทารกเข้าเต้าจากด้านล่างของเต้านมในลักษณะที่ส่งเสริมให้การอมส่วนของลานนมด้านล่างมากกว่าด้านบน (asymmetrical latch) เหงือกและเพดานปากของทารกจะรีดส่วนของหัวนมและลานนมให้ยาวออก ทารกจะงับลานนมและหัวนมได้ติด และทำให้การดูดนมเกิดขึ้นได้2 อีกส่วนหนึ่งคือหากลานนมมีน้ำนมคัดตึง ทารกจะงับส่วนของลานนมได้ยาก การที่มารดาบีบน้ำนมออกก่อนบางส่วนและทำให้ลานนมนุ่มขึ้น การอมหัวนมและลานนมก็จะเกิดได้ดีขึ้น
? ? ? ? ? ? ?ดังนั้น ในมารดาที่มีหัวนมแบนราบสามารถให้นมแม่ได้ หากมีการเตรียมตัวที่ดีและฝึกทักษะปฏิบัติเรื่องการเข้าเต้าที่เหมาะสม
?

เอกสารอ้างอิง
1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Paritakul P, Ketsuwan S, Wongin S. Nipple length and its relation to success in breastfeeding. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 1:S1-4.
2. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

แม่ที่เสริมเต้าให้ลูกกินนมแม่ได้ไหม

825ea4606ddc45b9b89f25d00d303761

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในปัจจุบัน การผ่าตัดเสริมความงามของสตรีมีมากขึ้นรวมถึงการผ่าตัดเสริมขนาดของเต้านม ซึ่งเทคโนโลยีในการผ่าตัดได้พัฒนาไปอย่างมาก โดยทั่วไปจะไม่มีแผลผ่าตัดที่หัวนมหรือรอบลานนม ดังนั้น การรบกวนต่อมน้ำนมหรือท่อน้ำนมที่ส่วนใหญ่จะอยู่รอบๆ และไม่ไกลจากลานนมจึงมีน้อย ซึ่งมารดาอาจสังเกตได้จากตำแหน่งการผ่าตัด ความรู้สึกขณะมีการสัมผัสหัวนมหรือลานนม การขยายขนาดของเต้านมขณะตั้งครรภ์ ซึ่งใส่อุปกรณ์เสริมขนาดเต้านมจำพวกซิลิโคน ก็ไม่ได้ทำให้น้ำนมมีความผิดปกติหรือปนเปื้อน และการให้นมก็ไม่ได้ทำให้เกิดผลเสียต่อการผ่าตัดเสริมที่ทำอยู่เดิม จึงไม่ได้เป็นข้อห้ามในมารดาที่เสริมขนาดของเต้านมที่จะให้นมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

ทารกเข้าเต้ากินนมเองได้จริงหรือ

4

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????ในระยะแรกหลังคลอด สัญชาตญาณของทารกที่จะเข้าหาเต้าและกินนมเองจะยังมีมาก แต่จะน้อยลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป โดยมีการศึกษาพบว่า ในวันแรกหลังคลอดจากการกินนมแม่ 11 ครั้ง ทารกจะเข้าหาเต้าและกินนมได้เองถึง 10 ครั้ง ในขณะที่ในวันที่หกหลังคลอด จากการกินนมแม่ 12 ครั้ง ทารกจะมีการเข้าหาเต้าและกินนมเองเพียง 2 ครั้ง ดังนั้น เมื่อผ่านระยะหลังคลอดไปนานขึ้น สัญชาตญาณของทารกที่จะเข้าหาเต้าจะลดลง การเข้าเต้าของทารกจึงต้องมีความช่วยเหลือของมารดาร่วมด้วย และเป็นความร่วมมือระหว่างมารดาและทารกในการที่จะช่วยกันเข้าเต้าและกินนมได้ ซึ่งหลังจากอาศัยสัญชาตญาณในระยะแรก การเรียนรู้ถึงการเข้าเต้าที่เหมาะสมสำหรับมารดาและบุตรในแต่คู่จะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น

? ? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า ในทารกที่ขาดโอกาสที่จะเข้าหาเต้าและกินนมได้เองตั้งแต่ระยะแรก สัญชาตญาณของทารกในการเข้าหาเต้าลดลง มารดาและทารกขาดโอกาสที่จะเรียนรู้การเข้าเต้าร่วมกัน การเริ่มการกินนมแม่เมื่อทารกอายุมากขึ้น จึงยากกว่าในระยะแรกหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

เก้าระยะของทารกในการเริ่มกินนมแม่

51

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีการศึกษาถึงลักษณะอาการของทารกหลังคลอดจนถึงการเริ่มกินนมแม่ในครั้งแรก พบว่า มีระยะต่างๆ แบ่งได้เป็น 9 ระยะ

? ? ? ?-ระยะที่หนึ่ง ทารกร้องไห้ขณะแรกเกิด

? ? ? -ระยะที่สอง ทารกเริ่มรู้สึกผ่อนคลาย

? ? ? -ระยะที่สาม ทารกตื่นตัวมากขึ้น

? ? ? -ระยะที่สี่ ทารกจะเริ่มขยับแขนขา

? ? ? -ระยะที่ห้า ระยะพัก

? ? ? -ระยะที่หก ระยะไขว่คว้าหาเต้านม

? ? ? -ระยะที่เจ็ด ระยะสร้างความคุ้นเคยกับเต้านม

? ? ? -ระยะที่แปด ระยะเริ่มดูดนม

? ? ? -ระยะที่เก้า ทารกจะนอนหลับ

? ? ? ? ? ? ? ?การเข้าใจถึงลำดับขั้นตอนของแต่ละระยะ จะทำให้มารดาหรือบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ไปรบกวนหรือขัดขวางกลไกที่จะเกิดขึ้นขณะวางทารกไว้ที่อกมารดา จนทารกจะสามารถเริ่มดูดนมแม่ได้เอง ซึ่งถ้ามารดาเริ่มต้นได้ดี ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ระยะเก้าระยะนี้จะใช้เวลานานขึ้น โดยอาจใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง หากมารดาได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวดในระหว่างการคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.