คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การเจ็บเต้านมและคลำพบก้อนจากท่อน้ำนมอุดตัน

IMG_0761 small

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บเต้านมและคลำได้ก้อนที่เต้านมจากท่อน้ำนมอุดตัน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า plugged duct หรือ clogged duct หรือ cake breast มารดาจะคลำพบก้อนที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม ลักษณะก้อนจะแข็งตึง ขอบเขตไม่ชัดเจน เจ็บตรงบริเวณก้อน โดยไม่มีไข้ ท่อน้ำนมที่เกิดการอุดตันนี้จะทำให้ก้อนจากการขังของน้ำนมในท่อน้ำนมที่ไม่สามารถจะระบายออกได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลหรือปฏิบัติอย่างเหมาะสม อาจมีไข้ ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยเต้านมอักเสบหรือฝีที่เต้านมได้

??????????????? การให้การดูแลและแนะนำในปัญหานี้ ควรเริ่มต้นด้วยการให้ลูกดูดนมข้างที่มีท่อน้ำนมอุดตันก่อน และควรเลือกท่าให้นมลูกที่วางตำแหน่งคางของทารกตรงกับตำแหน่งของก้อน เพื่อให้ทารกได้ดูดในท่อน้ำนมที่มีการอุดตันได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้น้ำนมที่อุดตันอยู่หลุดออก โดยอาจช่วยนวดคลึงเบาๆ บริเวณก้อนร่วมด้วย ซึ่งโดยทั่วไป ก้อนจากท่อน้ำนมอุดตัน เมื่อให้ทารกได้ดูดนมได้ดีในท่อน้ำนมท่ออุดตัน ก้อนมักจะหายไปใน 24-48 ชั่วโมง แต่หากอาการก้อนไม่หายไป มีอาการบวมแดงเพิ่มขึ้น มีไข้ ลักษณะสื่อถึง อาการของเต้านมอักเสบ ซึ่งมารดาควรต้องปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจจำเป็นมีการให้ยาปฏิชีวนะร่วมในการรักษาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การเจ็บเต้านมและคลำพบก้อน

inverted nipple6

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บเต้านมและคลำได้ก้อนที่เต้านมในระหว่างการให้นมบุตรหรือหลังคลอด หากอาการหรือก้อนที่ตรวจพบเพิ่งจะตรวจเจอ ส่วนใหญ่ปัญหาน่าจะมาการปัญหาของการให้นมลูก ซึ่งเกิดจากการขังของน้ำนมจากท่อน้ำนมอุดตัน การมีเต้านมอักเสบ รวมถึงการเป็นฝีที่เต้านม อย่างไรก็ตาม สาเหตุอื่นๆ ที่สามารถพบในสตรีทั่วไป ได้แก่ การเป็นถุงน้ำ ก้อนเนื้อ หรือมะเร็งที่เต้านมก็อาจเป็นได้ แต่พบน้อยกว่า ซึ่งลักษณะที่ตรวจพบของก้อนจากสาเหตุต่างๆ จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น ไม่ว่าในระหว่างการตั้งครรภ์หรือหลังคลอด มารดาควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำการตรวจระหว่างการอาบน้ำ การคลำตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้มารดาสามารถตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งหากสาเหตุของก้อนได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม จะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และช่วยให้มารดาสามารถให้นมลูกอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การเจ็บเต้านมจากเต้านมคัด

00024-5-1-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บเต้านมจากเต้านมคัด เกิดจากการที่มีการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองที่เต้านม มักเกิดในวันที่ 2-4 หลังคลอด มารดาบางคนอาจรู้สึกเพียงเต้านมตึงและแน่น แต่บางคนอาจมีอาการปวดตึงเต้านมรุนแรง มีไข้ เต้านมบวมและอุ่น โดยมากการให้ทารกดูดนมบ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ขณะทารกดูดนมจะช่วยนวดเต้านม และการที่มารดาได้อุ้มทารกขณะให้นมลูกจะช่วยให้เลือดและน้ำเหลืองที่คั่งอยู่ในเต้านมไหลเวียนดีขึ้น อาการตึงคัดเต้านมจะลดลงและหายไปได้เอง

? ? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ในบางรายที่มีอาการปวดมาก อาจรับประทานยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวดร่วมด้วยได้ ยาแก้ปวดที่ใช้ ได้แก่ ยาพาราเซตามอล หรือในกรณีที่มีอาการมากอาจพิจารณาใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่ควรเน้นให้มารดาให้นมลูกบ่อยๆ และสม่ำเสมอเป็นหลักก่อน สำหรับการให้การประคบร้อน ประคบเย็น การประคบด้วยใบกะหล่ำปลีแช่เย็น หรือการฝังเข็ม ช่วยในการลดอาการเจ็บเต้านมได้ โดยยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานในเชิงประจักษ์ว่าวิธีใดใช้ได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า1

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การเจ็บหัวนมจากทารกมีภาวะลิ้นติด

IMG_8867

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมจากทารกมีภาวะลิ้นติด เกิดจากการที่ทารกไม่สามารถจะขยับยื่นลิ้นออกไปทางด้านหน้าได้เพียงพอที่จะไปกดท่อน้ำนมบริเวณลานนม ?ทารกจึงออกแรงกดหรือขบบริเวณหัวนม ทำให้มารดาเจ็บหัวนม ลักษณะอาการเจ็บหัวนมจะเกิดขึ้นขณะเริ่มและระหว่างการให้นม การสังเกตภายในช่องปากทารก เมื่อทารกร้องไห้หรือยกลิ้นขึ้นจะสังเกตได้ดีขึ้น การใช้เครื่องมือ MED SWU tongue-tie director ช่วยในการยกลิ้นขึ้นเพื่อตรวจสอบภาวะลิ้นติดเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การวินิจฉัยทำได้ง่ายขึ้น และสามารถบอกถึงความรุนแรงของภาวะลิ้นติดได้จากการวัดระยะจากผังพืดใต้ลิ้นถึงปลายลิ้น โดยในกรณีที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไข1

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยตรวจสอบว่ามารดามีท่าให้นมที่เหมาะสมก่อนเสมอ2 เนื่องจากในทารกที่มีภาวะลิ้นติดเล็กน้อย ท่าที่ให้นมลูกที่ทำให้ทารกได้อมหัวนมและลานนมได้ลึกพอที่ลิ้นของทารกจะสามารถขยับยื่นมากดท่อน้ำนมได้ ทารกจะสามารถดูดนมได้ การผ่าตัดแก้ไขจะไม่มีความจำเป็น แต่หากทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางหรือรุนแรง และหลังการปรับท่าการให้นมแล้ว มารดายังมีการเจ็บหัวนมและทารกยังไม่สามารถเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม การผ่าตัด frenotomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก สามารถทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกได้ โดยไม่ต้องการการดมยาสลบ ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-5 นาที หลังผ่าตัดทารกสามารถดูดนมแม่ได้ทันที ซึ่งการแก้ไขสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาอย่างเหมาะสม จะส่งเสริมให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การเจ็บหัวนมจากการมีการอุดตันของรูเปิดของท่อน้ำนม

1404344111672

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมจากการอุดตันรูเปิดของท่อน้ำนม เกิดจากไขของนมอุดตันที่รูและท่อน้ำนม จะเห็นเป็นจุดขาวติดอยู่ที่หัวนม ภาษาอังกฤษเรียกว่า white dot หรือ bleb หรือ milk blister ลักษณะอาการเจ็บหัวนมจะเกิดขึ้นขณะทารกดูดนมหรือระหว่างมื้อของการให้นม โดยการเจ็บจะร้าวจากหัวนมไปทางด้านหลัง หากมีการอุดตันเกิดขึ้นในหลายท่อน้ำนม จะพบมีเต้านมตึงคัดร่วมด้วย และอาจพบภาวะแทรกซ้อนคือ เต้านมอักเสบได้

??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยตรวจสอบว่ามารดามีท่าให้นมที่เหมาะสมก่อนเสมอ เนื่องจากสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากท่าให้นมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทารกดูดน้ำนมได้ไม่ดี มีน้ำนมขังอยู่ในท่อน้ำนมจนจับตัวเป็นไข อุดตันรูเปิดท่อน้ำนม สำหรับสาเหตุอื่น ได้แก่ การใส่ยกทรงหรือชุดชั้นในที่แน่นเกินไป หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ การชนกระแทกจนเกิดจ้ำเลือดเขียวช้ำที่ขัดขวางการไหลของน้ำนม การให้การรักษาด้วยการประคบอุ่นบริเวณเต้านมและการบีบน้ำนมด้วยมืออาจช่วยให้ไขที่อุดตันหลุดออกได้ แต่หากไขที่อุดตันมีเยื่อบุผิวหนังเจริญคลุมท่อการเจ็บหัวนม ซึ่งจะสังเกตเห็นเป็นจุดขาวเป็นมัน การช่วยบีบน้ำนมให้ไล่ไขที่ติดอยู่ออกอาจไม่ได้ผล การสะกิดไขออกโดยใช้ปลายเข็มอาจช่วยได้ แต่ควรพิจารณาทำโดยแพทย์ ร่วมกับแนะนำให้มารดาใส่ยกทรงหรือชุดชั้นในที่ไม่แน่นจนเกินไป อย่างไรก็ตาม หากภาวะนี้ไม่ได้รับการแก้ไข ทารกต้องดูดนมแรงขึ้น มารดาเจ็บหัวนม หัวนมแตก เกิดเต้าอักเสบ และฝีที่เต้านมตามมาได้ การเอาใจใส่ของมารดาและบุคลากรทางการแพทย์ว่า ?เรื่องการเจ็บหัวนม แม้เป็นเรื่องที่พบบ่อย แต่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นปกติของการให้นม? ดังนั้น การแก้ปัญหานี้ตั้งแต่เริ่มต้น จะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.