คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

อาการโรคเอสแอลอีกับการกำเริบระหว่างการตั้งครรภ์

w45

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

โดยทั่วไปโรคเอสแอลอีกำเริบระหว่างการตั้งครรภ์บ่อยขึ้น แต่มีการศึกษาที่ขัดแย้งกันซึ่งแสดงว่าการกำเริบของโรคเอสแอลอีจะเกิดเหมือนปกติเมื่อไม่มีการตั้งครรภ์1 เวลาของการกำเริบเกิดได้ทุกไตรมาส แต่มีแนวโน้มว่าจะเกิดมากในไตรมาสที่สาม ความรุนแรงของโรคในช่วง 6-12 เดือนก่อนการตั้งครรภ์จะเป็นสิ่งที่บอกถึงโอกาสในการกำเริบของโรคระหว่างตั้งครรภ์และยังสัมพันธ์กับการแท้งบุตรด้วย1 ในผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบรุนแรงที่ตรวจพบมี complement ต่ำและมี anti-dsDNA เป็นบวกจะมีอัตราการแท้งและคลอดก่อนกำหนด2 สำหรับในกรณีที่สตรีที่เป็นโรคเอสแอลอีมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์เอง ได้แก่ อาการครรภ์เป็นพิษ การวินิจฉัยจำเป็นต้องแยกออกจากการเกิดอาการอักเสบของไตจากโรคเอสแอลอี เพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Doria A, Tincani A, Lockshin M. Challenges of lupus pregnancies. Rheumatology (Oxford) 2008;47 Suppl 3:iii9-12.

2.???????????? Clowse ME, Magder LS, Petri M. The clinical utility of measuring complement and anti-dsDNA antibodies during pregnancy in patients with systemic lupus erythematosus. J Rheumatol 2011;38:1012-6.

?

 

โรคเอสแอลอี (SLE) กับการตั้งครรภ์

 

w45

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? โรคเอสแอลอี หรือ systemic lupus erythematosus (SLE) เป็นโรคที่มีอาการอักเสบในหลายอวัยวะ เกิดจากภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง โดยเป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการกำเริบสลับกับช่วงอาการโรคเข้าสู่ช่วงสงบ โรคเอสแอลอีมักเกิดในสตรีอายุน้อยในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ดังนั้นโอกาสที่จะตั้งครรภ์ในสตรีจึงมีโอกาสเกิดได้ ในยุคแรกๆ การตั้งครรภ์ถูกห้ามเนื่องจากเชื่อว่าโรคเอสแอลอีจะแย่ลงเมื่อมีการตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบันการดูแลรักษาโรคเอสแอลอีดีขึ้น การตั้งครรภ์อาจจะสามารถทำได้ภายใต้การวางแผนดูแลของแพทย์ในช่วงที่ควบคุมอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงสูงต่อมารดาและทารกในสตรีที่เป็นโรคเอสแอลอี

??????????? ในสตรีที่เป็นโรคเอสแอลอีส่วนใหญ่จะตรวจพบ antiphospholipid antibody ซึ่งจะบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดอุดตันและภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์1 การให้คำปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์จะอธิบายถึงอันตรายที่จะเกิดกับมารดาและทารกในระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคในช่วงระยะนั้น ลักษณะภูมิคุ้มกันที่ตรวจพบ และอวัยวะที่ได้รับกระทบที่เกิดจากโรค

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Miyakis S, Lockshin MD, Atsumi T, et al. International consensus statement on an update of the classification criteria for definite antiphospholipid syndrome (APS). J Thromb Haemost 2006;4:295-306.

?

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกในระยะหลังคลอด

w36

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจากมารดาไปสู่ทารกในช่วงหลังคลอดจะมีการให้ Hepatitis B immunoglobulin และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยในส่วนของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่จะกระตุ้นให้ทารกสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีการศึกษาว่าหากได้รับวัคซีนชนิดนี้จะลดการติดเชื้อในทารกร้อยละ 72 เทียบกับการให้ยาหลอกหรือไม่ได้ให้วัคซีน แต่หากให้ Hepatitis B immunoglobulin ภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังคลอดพร้อมกับให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะลดการติดเชื้อลงอีกร้อยละ 46 เทียบกับการให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีอย่างเดียว1 ทำให้โดยรวมการให้ภูมิคุ้มกันทั้งสองชนิดจะป้องกันการติดเชื้อในทารกได้ร้อยละ 85-95 จะเห็นว่าประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในทารกสูง2 บุคลากรทางการแพทย์จึงควรเน้นย้ำให้สตรีตั้งครรภ์ตรวจสอบ HBsAg ระหว่างฝากครรภ์ โดยเมื่อตรวจพบภาวะไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในสตรีตั้งครภ์ แพทย์ผู้ดูแลจะได้วางแผนการให้ Hepatitis B immunoglobin และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อตับอักเสบบีเร็วที่สุดหลังคลอด เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันการติดเชื้อในทารก สำหรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต้องฉีดเข็มที่สองในช่วง 1-2 เดือน และเข็มที่สามในช่วง 6-8 เดือนด้วย3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Lee C, Gong Y, Brok J, Boxall EH, Gluud C. Effect of hepatitis B immunisation in newborn infants of mothers positive for hepatitis B surface antigen: systematic review and meta-analysis. BMJ 2006;332:328-36.

2.???????? Andre FE, Zuckerman AJ. Review: protective efficacy of hepatitis B vaccines in neonates. J Med Virol 1994;44:144-51.

3.???????? Harpaz R, McMahon BJ, Margolis HS, et al. Elimination of new chronic hepatitis B virus infections: results of the Alaska immunization program. J Infect Dis 2000;181:413-8.

4.???????? Al-Faleh FZ, Al-Jeffri M, Ramia S, et al. Seroepidemiology of hepatitis B virus infection in Saudi children 8 years after a mass hepatitis B vaccination programme. J Infect 1999;38:167-70.

 

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกในระยะคลอด

 

w36

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังของมารดาจะมีข้อมูลเชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสผ่านไปที่ทารกในช่วงระยะคลอดมากที่สุด โดยการเกิดการปนเปื้อนของเลือดมารดากับทารกในช่วงระหว่างการคลอด การกลืนน้ำคร่ำ และการสัมผัสกับเชื้อในช่องทางคลอด มีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการคลอดกับโอกาสของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารก พบว่า การคลอดโดยวิธีวางแผนนัดผ่าตัดคลอดจะลดการการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกร้อยละ 59 เทียบกับการคลอดปกติอย่างมีนัยสำคัญ1 แต่สำหรับการคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศและการคลอดด้วยคีมยังไม่พบความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีของทารก2

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Yang J, Zeng XM, Men YL, Zhao LS. Elective caesarean section versus vaginal delivery for preventing mother to child transmission of hepatitis B virus–a systematic review. Virol J 2008;5:100.

2.???????? Wang J, Zhu Q, Zhang X. Effect of delivery mode on maternal-infant transmission of hepatitis B virus by immunoprophylaxis. Chin Med J (Engl) 2002;115:1510-2.

?

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกในระยะก่อนคลอด

w36

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในมารดาที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือด อยู่ในโพรงมดลูก และเกิดการติดเชื้อผ่านไปที่ทารกในระยะก่อนการคลอดได้ มีแนวคิดเรื่องการให้ยาป้องกันในระยะก่อนคลอด ได้แก่ การให้ Hepatitis B immunoglobulin ข้อมูลของการให้ immunoglobulin ในส่วนของประโยขน์ในการลดการติดเชื้อในระยะก่อนคลอดพบไม่แตกต่างกัน1 สำหรับยาต้านไวรัสมียาที่ใช้ลดปริมาณไวรัสหลายตัว ได้แก่ Lamivudine, Tenofovir, Telbivudine, Entecavir, Adefovir Dipivoxil และ Interferon ข้อมูลประสบการณ์ในการใช้ยายังมีน้อย ดังนั้นข้อแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในระยะก่อนคลอดจึงยังไม่มีข้อแนะนำที่ชัดเจนจำเป็นต้องการข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น2-4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Yuan J, Lin J, Xu A, et al. Antepartum immunoprophylaxis of three doses of hepatitis B immunoglobulin is not effective: a single-centre randomized study. J Viral Hepat 2006;13:597-604.

2.???????? Han GR, Cao MK, Zhao W, et al. A prospective and open-label study for the efficacy and safety of telbivudine in pregnancy for the prevention of perinatal transmission of hepatitis B virus infection. J Hepatol 2011;55:1215-21.

3.???????? Zhang LJ, Wang L. [Blocking intrauterine infection by telbivudine in pregnant chronic hepatitis B patients]. Zhonghua Gan Zang Bing Za Zhi 2009;17:561-3.

4.???????? Benhammou V, Warszawski J, Bellec S, et al. Incidence of cancer in children perinatally exposed to nucleoside reverse transcriptase inhibitors. AIDS 2008;22:2165-77.

?