การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกในระยะหลังคลอด

w36

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจากมารดาไปสู่ทารกในช่วงหลังคลอดจะมีการให้ Hepatitis B immunoglobulin และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยในส่วนของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่จะกระตุ้นให้ทารกสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีการศึกษาว่าหากได้รับวัคซีนชนิดนี้จะลดการติดเชื้อในทารกร้อยละ 72 เทียบกับการให้ยาหลอกหรือไม่ได้ให้วัคซีน แต่หากให้ Hepatitis B immunoglobulin ภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังคลอดพร้อมกับให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะลดการติดเชื้อลงอีกร้อยละ 46 เทียบกับการให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีอย่างเดียว1 ทำให้โดยรวมการให้ภูมิคุ้มกันทั้งสองชนิดจะป้องกันการติดเชื้อในทารกได้ร้อยละ 85-95 จะเห็นว่าประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในทารกสูง2 บุคลากรทางการแพทย์จึงควรเน้นย้ำให้สตรีตั้งครรภ์ตรวจสอบ HBsAg ระหว่างฝากครรภ์ โดยเมื่อตรวจพบภาวะไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในสตรีตั้งครภ์ แพทย์ผู้ดูแลจะได้วางแผนการให้ Hepatitis B immunoglobin และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อตับอักเสบบีเร็วที่สุดหลังคลอด เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันการติดเชื้อในทารก สำหรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต้องฉีดเข็มที่สองในช่วง 1-2 เดือน และเข็มที่สามในช่วง 6-8 เดือนด้วย3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Lee C, Gong Y, Brok J, Boxall EH, Gluud C. Effect of hepatitis B immunisation in newborn infants of mothers positive for hepatitis B surface antigen: systematic review and meta-analysis. BMJ 2006;332:328-36.

2.???????? Andre FE, Zuckerman AJ. Review: protective efficacy of hepatitis B vaccines in neonates. J Med Virol 1994;44:144-51.

3.???????? Harpaz R, McMahon BJ, Margolis HS, et al. Elimination of new chronic hepatitis B virus infections: results of the Alaska immunization program. J Infect Dis 2000;181:413-8.

4.???????? Al-Faleh FZ, Al-Jeffri M, Ramia S, et al. Seroepidemiology of hepatitis B virus infection in Saudi children 8 years after a mass hepatitis B vaccination programme. J Infect 1999;38:167-70.