คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การคำนวณค่าความเสี่ยงของยาที่ผ่านน้ำนมไปสู่ทารก

378096_10948911_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การที่จะบอกถึงความเสี่ยงของยาที่ผ่านน้ำนมไปสู่ทารก ในทางทฤษฎีความมีการคำนวณค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ (relative infant dose หรือ RID) ซึ่งจะคำนวณเป็นสัดส่วนร้อยละของขนาดยาที่ทารกได้รับต่อวันเทียบกับขนาดยาที่มารดาได้รับต่อวัน โดยทั่วไปหากค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์มากกว่าร้อยละ 10 ถือว่าเป็นค่าที่ต้องวิตกกังวลว่าอาจมีความเสี่ยง

ปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านของยาสู่น้ำนม2

3386536-2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการผ่านของยาจากกระแสเลือดของมารดาไปสู่น้ำนมและทารก มีดังนี้ (ต่อ)

?-ความสามารถในการแตกตัวเป็นไอออน ค่าคงที่ของการแตกตัวของยาหรือ pKa จะเป็นค่า pH ที่ทำให้ความเข้มข้นของยาที่ไม่แตกตัวเท่ากับยาที่แตกตัวเป็นไอออน โดยยาที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนจะผ่านไปยังน้ำนมได้ดีกว่า น้ำนมแม่จะมี pH 7-7.2 ?หากค่า pKa ของยามากกว่า 7.2 แสดงว่าขณะที่อยู่ที่ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำนม ยาจะมีส่วนของยาที่ไม่แตกตัวมากกว่าส่วนของยาที่แตกตัว การผ่านไปที่น้ำนมของยาจะดีกว่า

??????????????? -ระยะของการสร้างน้ำนม ในช่วงการสร้างหัวน้ำนม (colostrums) ปริมาณยาที่ผ่านไปสู่น้ำนม ทารกจะได้รับในปริมาณที่น้อยเนื่องจากปริมาณของหัวน้ำนมที่น้อย แต่เมื่ออยู่ในระยะการสร้างน้ำนมที่สมบูรณ์ (mature milk) กลไกของปรับตัวของเยื่อบุผนังลำไส้ของทารกหลังจากได้รับนมแม่จะมีการยึดกันแน่นของเยื่อบุผนังลำไส้ จะทำให้การผ่านของยาลดลง

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านของยาสู่น้ำนม1

3386536-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการผ่านของยาจากกระแสเลือดของมารดาไปสู่น้ำนมและทารก มีดังนี้

? ? ? ? ? ? ? -ขนาดโมเลกุล โมเลกุลของสารที่มีขนาดเล็กกว่า 500 ดาลตัน โดยทั่วไปสามารถผ่านไปสู่นมแม่ได้

? ? ? ? ? ? ? ?-การจับการโปรตีนในกระแสเลือด ยาที่จับกับโปรตีนในกระแสเลือดน้อย จะผ่านไปสู่น้ำนมได้มากกว่า

? ? ? ? ? ? ? ?-การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการแพร่ แต่จะมีสารบางชนิดที่ผ่านไปที่นมแม่โดยต้องอาศัยพลังงานเข้าช่วย (active transport) ได้แก่ อิมมูโนโกลบูลิน สารเกลือแร่ในกระแสเลือด (electrolyte) และไอโอดีน สำหรับการผ่านไปที่นมแม่โดยวิธีการที่ใช้ตัวช่วย (facilitated transport) พบน้อย

 

หลักการเลือกใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร

412910_12188322_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องปกติที่มารดาทุกคนควรปฏิบัติหลังคลอด โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก หลังจากนั้นให้นมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น การที่ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นช่วงที่ยาวนาน การที่มารดาจะได้รับยาระหว่างการให้นมบุตรจึงเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แม้ส่วนใหญ่ของยาที่ใช้โดยทั่วไปจะผ่านน้ำนมน้อย และไม่เกิดอันตรายที่รุนแรงแก่ทารก อย่างไรก็ตาม การเลือกให้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร ควรยึดหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง มารดาต้องมีความจำเป็นในการใช้ยาและประการที่สอง ควรหลีกเลี่ยงอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดแก่ทารก

 

การให้นมแม่ในสตรีที่ไม่ได้คลอดบุตร

p8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เนื่องด้วยประโยชน์ของนมแม่ จึงมีความพยายามในการให้นมแม่ในกรณีที่มารดาเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนเสียชีวิต มีการรับทารกไปเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม ทางเลือกในการให้นมแม่ในทารกเหล่านี้ อาจทำโดยการขอนมจากธนาคารนมแม่หากมีให้บริการในพื้นที่นั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วการบริจาคนมแม่ยังมีจำกัด ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ การกระตุ้นให้มารดาที่รับเลี้ยงทารกมีน้ำนมและให้นมลูกได้1 การกระตุ้นให้มารดาที่รับเลี้ยงมีน้ำนมจะทำโดยการให้ฮอร์โมนคุมกำเนิดเพื่อให้ร่างกายมารดาเสมือนมีการตั้งครรภ์ แล้วหยุดยา จากนั้นให้ทารกกระตุ้นดูดนมวันละ 8 ครั้ง โดยอาจให้ยากระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินร่วมด้วย ซึ่งเป็นการเลียนแบบกลไกธรรมชาติ และทำให้มารดาผู้รับเลี้ยงทารกมีน้ำนมได้ สิ่งนี้นอกจากการมีน้ำนมให้ลูก ยังสานสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกให้มีความผูกพันกันยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Schnell A. Breastfeeding without birthing: mothers through adoption or surrogacy can breastfeed! J Hum Lact 2015;31:187-8.