รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวานที่มีมาก่อนการตั้งครรภ์1 มีดังนี้
ค่าระดับน้ำตาลในพลาสม่าสูงเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 0 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol/L) หลังการงดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
ค่าระดับน้ำตาลในพลาสม่าที่สองชั่วโมงหลังการรับประทานน้ำตาล 75 กรัมทดสอบค่าความทนต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test หรือ OGTT) เท่ากับหรือมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 1 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol/L)
ค่าการตรวจ HbA1c เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 5 หรือ 48 มิลลิโมลต่อโมล (mmol/mol)
เมื่อได้ทำการวินิจฉัยโรคเบาหวานแล้ว การแยกโรคระหว่างโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 จะอาศัยจากประวัติ อาการและอาการแสดงทางคลินิก ซึ่งจะบ่งบอกถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ สำหรับกรณีที่สงสัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แนะนำให้มีการตรวจยืนยันด้วยแอนติบอดี โดยแอนติบอดีที่ใช้ตรวจวินิจฉัยบ่อย ได้แก่ islet cell antibody และ glutamic acid decarboxylase antibody (GAD-65 Ab)
เอกสารอ้างอิง
American Diabetes A. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S14-S31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus)
สาเหตุเกิดจากมีความผิดปกติของการหลั่งอินซูลินจากเซลล์ตับอ่อนร่วมกับมีความต้านทานของเนื้อเยื่อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งเป็นผลให้ต้องใช้ปริมาณอินซูลินที่มากขึ้นเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ โดยเมื่อความผิดปกติเพิ่มขึ้น ร่างกายไม่สามารถจะควบคุมระดับน้ำตาลได้ จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการ ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน ตามัว น้ำหนักลด โดยมักไม่พบอาการนำที่รุนแรงในโรคเบาหวานชนิดที่ 21
เอกสารอ้างอิง
American Diabetes A. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S14-S31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus)
สาเหตุเกิดจากมีการทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการสร้างอินซูลิน ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน โดยอาจมีการแบ่งชนิดของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ละเอียดมากขึ้นเป็นชนิดที่มีการทำลายเซลล์ของตับอ่อนเกิดจากภูมิคุ้มที่ต่อต้านตนเอง (autoimmune) และชนิดที่เกิดการทำลายของเซลล์ตับอ่อนที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการของผู้ป่วยหากพบในช่วงวัยเด็กจะมีอาการนำที่รุนแรงคือ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากโรคเบาหวาน (diabetic ketoacidosis หรือ DKA) พบได้บ่อยกว่า โดยอาการของภาวะแทรกซ้อนนี้ ได้แก่ อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ หายใจลึกเร็ว สับสน และหมดสติ ร่วมกับตรวจพบภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แต่หากผู้ป่วยพบมีอาการครั้งแรกในช่วงวัยผู้ใหญ่ อาการนำที่รุนแรงจะพบน้อยกว่า โดยอาการอาจเหมือนกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน ตามัว และน้ำหนักลด1
เอกสารอ้างอิง
American Diabetes A. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S14-S31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
โรคเบาหวานที่มารดาเป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ จะแบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ คือ
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์อาจพบได้ในมารดาทั้งที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 ที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ มารดาที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะมีประวัติพบและได้รับการวินิจฉัยในขณะที่มารดามีอายุน้อย ขณะที่มารดาที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะพบและได้รับการวินิจฉัยในมารดาที่มีอายุมาก เนื่องจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมมากกว่า จึงมักพบในมารดาที่มีอายุน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบสัดส่วนอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานที่พบในผู้ใหญ่แล้ว โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะพบมากกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 1 1
เอกสารอ้างอิง
American Diabetes A. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S14-S31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
โรคเบาหวานที่มีมาก่อนตั้งครรภ์ หากมีการวางแผนสำหรับการตั้งครรภ์ร่วมกันระหว่างมารดา ครอบครัว และแพทย์ผู้ดูแล จะทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ลงได้ เนื่องจากมีการเตรียมความพร้อมของมารดาให้มีการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมก่อนการตั้งครรภ์ แต่ในทางปฏิบัติ การดูแลอาจไม่เชื่อมโยงกัน เนื่องจากมารดามักจะได้รับการดูแลโรคเบาหวานจากอายุรแพทย์ ขณะที่หากจะปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์หรือการวางแผนการคุมกำเนิดมักได้รับการดูแลโดยสูติแพทย์ ทำให้ขาดการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ขาดความใส่ใจในการสอบถามมารดาถึงเรื่องการตั้งครรภ์หรือการวางแผนคุมกำเนิดในระหว่างการรักษาโรคเบาหวาน จึงมักพบว่ามารดาที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อมีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี มารดาจะเกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ได้มีการวางแผน เนื่องจากโอกาสของการตั้งครรภ์ของมารดาจะเพิ่มขึ้นหากมีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมจึงควรมีการเน้นย้ำในการดูแลสตรีที่มีโรคประจำตัวเสมอว่าสตรีนั้นมีการวางแผนการมีบุตรหรือการตั้งครรภ์ไว้อย่างไร เพื่อให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นเมื่อมีความพร้อม 1
เอกสารอ้างอิง
Mitanchez D, Yzydorczyk C, Siddeek B, Boubred F, Benahmed M, Simeoni U. The offspring of the diabetic mother–short- and long-term implications. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 2015;29:256-69.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)