รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
กลไกที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกประกอบด้วย
การปกป้อง การส่งเสริม และการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประกอบด้วยฟันเฟืองสองส่วน
ได้แก่
การจัดสถานพยาบาลที่เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกและการจัดเครือข่ายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน
นั่นคือการเริ่มต้นให้การสนับสนุนช่วยเหลือให้มารดาได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลี้ยงลูกตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์
ระยะคลอด หลังคลอด และเมื่อมารดากลับบ้าน จะมีการส่งต่อเพื่อเชื่อมโยงการสนับสนุนให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่องหลังจากออกจากโรงพยาบาลไปอยู่ที่บ้านในชุมชน
โดยตัวจักรกลที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนฟันเฟือง ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์
รวมทั้งกลุ่มอาสาสมัครที่ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ และเสริมพลัง สร้างศักยภาพ
ให้มีความมั่นใจที่จะให้คำปรึกษากับมารดาด้วยความมั่นใจ
เอกสารอ้างอิง
1. Perez-Escamilla R. Breastfeeding
in the 21st
century: How we can make it work. Soc Sci Med 2020;244:112331.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
กลไกที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกประกอบด้วย
การปกป้อง การส่งเสริม และการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือการทำให้มารดามีความตั้งใจ
มีทัศนคติ และนำไปสู่การปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะมีกลไกที่สำคัญคือ
การเผยแพร่ประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสื่อสารผ่านสื่อต่าง
ๆ ที่จะสร้างให้เกิดค่านิยมยืนนานจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
สำหรับสื่อที่ใช้ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการเข้าถึงของคนในแต่ละประเทศ เช่น
สื่อทีวี วิทยุ อินเตอร์เน็ต หรือสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น ดังนั้น
จะเห็นว่าการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาเพื่อสร้างให้เกิดค่านิยมหรือวัฒนธรรมที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนได้
เอกสารอ้างอิง
1. Perez-Escamilla R. Breastfeeding
in the 21st
century: How we can make it work. Soc Sci Med 2020;244:112331.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว่า
กลไกที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกประกอบด้วย
การปกป้อง การส่งเสริม และการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
การปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีสามแกนหลักที่สำคัญ
ได้แก่ การเปิดโอกาสให้มีการลาพักหลังคลอดเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยมีการจ่ายเงินเดือน
การเปิดโอกาสให้มารดาได้มีเวลาพักระหว่างการทำงานเพื่อบีบหรือปั๊มเก็บนมแม่ และการมีการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก
และอาหารอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือภาษาอังกฤษย่อว่า “code”
โดยดำเนินการให้เกิดการลาพักหลังคลอดเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยมีการจ่ายเงินเดือนนั้น
ควรเอื้อให้มีการลาพักได้อย่างน้อยหกเดือนเพื่อเป็นการสร้างโอกาสที่สอดคล้องกันที่จะเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน
และการที่จะช่วยให้ลูกได้กินนมแม่ได้อย่างต่อเนื่องหลังหกเดือนนั้น
การที่สนับสนุนให้มารดาได้มีเวลาพักระหว่างการทำงาน เพื่อบีบหรือปั๊มนมแม่จะช่วยให้แม่ยังคงมีการสร้างนมแม่อย่างต่อเนื่อง
และเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานขึ้นหลังจากที่มารดามีกิจกรรมหรือภาระงานที่มากขึ้นหลังจากการลาพักหลังคลอดแล้ว
สำหรับหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และอาหารอื่นที่เกี่ยวข้องจะมีบทบาทในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมในการเลือกอาหารสำหรับทารก
ไม่ถูกล่อหลอกด้วยมายาคติหรือกลไกทางการตลาด การลดแลกแจกแถม
หรือการชักจูงให้ใช้สินค้าโดยขาดจรรยาบรรณ
ดังนั้น การยึดหลักทั้งสามหลักนี้ จะเป็นเสมือนชุดเกราะที่จะปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
1. Perez-Escamilla R. Breastfeeding
in the 21st
century: How we can make it work. Soc Sci Med 2020;244:112331.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
นมแม่เป็นอาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับทารก องค์การอนามัยโลกได้ออกข้อแนะนำจากข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า ทารกควรจะได้กินนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก หลังจากนั้นควรกินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยจนกระทั่งถึงสองปีหรือนานกว่านั้น โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก การที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกนั้น แม้ว่าในแต่ละประเทศจะมีหลากหลายของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ในเนื้อหาที่เป็นปัจจัยที่สำคัญจะคล้ายคลึงกัน คือ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมของการกินนมแม่ ซึ่งกลไกที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ จะประกอบด้วย การปกป้อง การส่งเสริม และการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยรายละเอียดของแต่ละส่วนจะมีการเขียนบรรยายในตอนถัดไป
เอกสารอ้างอิง
1. Perez-Escamilla R. Breastfeeding
in the 21st
century: How we can make it work. Soc Sci Med 2020;244:112331.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การกลับไปทำงานของมารดาถือเป็นอุปสรรคที่พบได้บ่อยของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก ซึ่งพบเป็นปัญหาที่มารดาต้องทำการปรับตัวกับการที่ต้องให้นมลูกขณะเดียวกันกับการที่ต้องกลับไปทำงาน มารดาจำเป็นต้องทราบนโยบายและระเบียบของบริษัทหรือสถานที่ทำงานรวมทั้งสิ่งสนับสนุนที่สถานที่ทำงานเอื้อให้แกพนักงานหรือลูกจ้างในมารดาหลังคลอดลูกที่กลับมาทำงานและยังคงต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อวางแผนเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกรณีที่แตกต่างกัน ได้แก่ การมีสถานที่ดูแลเด็กเล็กระหว่างวันที่ใกล้ที่ทำงาน โดยมารดาสามารถมีช่วงเวลาออกมาให้นมลูกด้วย การมีห้องเก็บนมแม่ที่ให้มารดาสามารถบีบหรือปั๊มนมแม่ มีตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งนมแม่ เพื่อสนับสนุนให้มารดาเก็บน้ำนมระหว่างวันโดยเป็นการสนับสนุนให้มารดาคงการมีน้ำนมอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ดังนั้น นโยบายหรือการสนับสนุนจึงขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการที่ดำเนินงานโดยฝ่ายบุคคลหรือผู้จัดการเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1
เอกสารอ้างอิง
1. Lisbona AM, Bernabe M, Palaci FJ. Lactation and Work:
Managers’ Support for Breastfeeding Enhance Vertical Trust and Organizational
Identification. Front Psychol 2020;11:18.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)