รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
แม้ว่าในระหว่างการให้นมลูกมารดาจะมีความรู้สึกที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจากการศึกษาพบร้อยละ 62 ซึ่งจะมีอารมณ์ความรู้สึกของการเป็นแม่ มีความรู้สึกรักและผูกพันระหว่างมารดาและทารก แต่ในรายที่มีความยากลำบากในระหว่างการให้นมลูกจะพบอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้ โดยพบความรู้สึกเจ็บหัวนมร้อยละ 8 ความรู้สึกเป็นภาระที่ต้องดูแลทารกร้อยละ 6 ความรู้สึกว่าล้มเหลวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 11 ซึ่งในรายเหล่านี้ จะมีความเสี่ยงที่จะเปลี่ยนไปเลี้ยงลูกด้วยนมผงดัดแปลงสำหรับทารกสูงขึ้น1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรจะดูแลและติดตามมารดากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มให้มารดามีการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. Gianni ML, Lanzani M, Consales A, et al. Exploring the
Emotional Breastfeeding Experience of First-Time Mothers: Implications for
Healthcare Support. Front Pediatr 2020;8:199.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การรายงานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
ส่วนใหญ่จะได้ข้อมูลจากความจำของมารดาเป็นหลัก ซึ่งข้อจำกัดจะขึ้นอยู่กับความจำและความยาวนานของระยะเวลาในการฟื้นความทรงจำ
ทำให้ความน่าเชื่อถือจึงมีน้อย
โดยความน่าเชื่อถือจะดีขึ้นหากมีการเก็บข้อมูลไปข้างหน้าและประกอบกับการมีการจดบันทึกข้อมูลที่ชัดเจน
สำหรับการตรวจยืนยันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์จึงมีความน่าสนใจ
โดยมีความพยายามที่จะตรวจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวด้วยการให้มารดาดื่มสารกรัมมันตรังสีขนาดต่ำที่จะผ่านไปยังนมแม่
แล้วไปตรวจยืนยันจำนวนที่ผ่านไปยังทารกเพื่อตรวจยืนยันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการใช้การตรวจคาร์โบไฮเดรตในอุจจาระของทารกโดยการตรวจโมโนแซกคาไรด์และโอลิโกแซกคาไรด์ที่ทารกอายุสองเดือนและห้าเดือน1 ซึ่งผลจากงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการตรวจสอบยืนยันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสำหรับการที่ต้องการศึกษาวิจัยที่ต้องการหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือ
เอกสารอ้างอิง
1. Ranque CL, Stroble C, Amicucci MJ,
et al. Examination of Carbohydrate Products in Feces Reveals Potential
Biomarkers Distinguishing Exclusive and Nonexclusive Breastfeeding Practices in
Infants. J Nutr 2020;150:1051-7.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เร็วจะช่วยเพิ่มอัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ซึ่งมักจะมีคำกล่าวที่ว่า การเริ่มต้นที่ดีมักจะมีผลลัพธ์ที่ดีตามมาด้วย
รวมถึงในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็เช่นกัน มีการตั้งสมมติฐานว่า การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงสามวันแรกหลังคลอดมีความสัมพันธ์กับผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
และได้มีการศึกษาในประเทศบังคลาเทศพบว่า
การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสามวันแรกหลังคลอดสามารถทำนายการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกได้1 ดังนั้น สิ่งนี้เป็นการเน้นย้ำให้บุคลากรทางการแพทย์ใส่ใจในการดูแลการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดที่มารดาและทารกอยู่ที่โรงพยาบาล
ซึ่งหากสามารถสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสำเร็จ
โอกาสที่มารดาจะสามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะเพิ่มขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. Raihan MJ, Choudhury N, Haque MA,
Farzana FD, Ali M, Ahmed T. Feeding during the first 3 days after birth other
than breast milk is associated with early cessation of exclusive breastfeeding.
Matern Child Nutr 2020:e12971.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีทั้งปัจจัยพื้นฐานส่วนตัวของมารดาที่เกี่ยวข้องกับด้านร่างกายและจิตใจ
ปัจจัยในครอบครัว และปัจจัยทางสังคม ความเชื่อ ค่านิยม
และวัฒนธรรมขนบประเพณีที่มีอยู่ในแต่ละสังคม แต่หากมาพิจารณาถึงปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาขณะอยู่ในโรงพยาบาลช่วงหลังคลอดจะพบว่า
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้ยังมีความสำคัญ แต่จะมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกันไป
โดยพบว่าปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ การมีบุคลากรที่ทักษะในการให้คำปรึกษาหรือสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
ซึ่งโรงพยาบาลที่มีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรจะให้ความสำคัญกับจุดนี้
เอกสารอ้างอิง
1. Ragusa R, Giorgianni G, Marranzano
M, et al. Breastfeeding in Hospitals: Factors Influencing Maternal Choice in
Italy. Int J Environ Res Public Health 2020;17.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
สูตินรีแพทย์เป็นแพทย์ที่มีความใกล้ชิดกับมารดาและครอบครัวตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์
ระยะคลอด และในระยะหลังคลอด ดังนั้นมารดาและครอบครัวจึงมักมีความใกล้ชิดและเชื่อมั่นในการให้คำปรึกษาจากสูตินรีแพทย์
อย่างไรก็ตาม สูตินรีแพทย์มักขาดความรู้ หรือมีความรู้ที่ไม่เพียงพอ และขาดความเชื่อมั่นในการที่จะให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาและครอบครัว
ซึ่งมีการศึกษาโดยการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้แก่สูตินรีแพทย์พบว่า
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่หกเดือนก่อนและหลังการจัดหลักสูตรพบว่า
อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนหลังการจัดหลักสูตรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ1 ดังนั้น การสนับสนุนให้สูตินรีแพทย์มีความรู้ที่เพียงพอในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้แพทย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยความมั่นใจและช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่หกเดือนได้
เอกสารอ้างอิง
1. Qureshey E, Louis-Jacques AF,
Abunamous Y, Curet S, Quinones J. Impact of a Formal Lactation Curriculum for
Residents on Breastfeeding Rates Among Low-Income Women. J Perinat Educ
2020;29:83-9.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)