คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การนวดเต้านม

00024-5-1-o-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ?การนวดเต้านม? เป็นทักษะหนึ่งที่มารดาสามารถใช้ในระหว่างการให้นมบุตรโดยจะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้นในขณะที่ลูกหยุดดูดนม ซึ่งจะกระตุ้นให้ทารกเริ่มดูดนมใหม่ ทักษะนี้จะเป็นประโยชน์ในทารกที่ดูดนมสองสามครั้งและเว้นช่วงการดูดนาน ได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือทารกที่มีภาวะอ่อนแรง การกดนวดเต้านมจะทำให้น้ำนมมารดาไหลได้ดีขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้ทารกเริ่มดูดนมอีกครั้ง

??????? นอกจากนี้ การนวดเต้านมยังมีส่วนช่วยในทารกที่ปากแหว่งเพดานโหว่ที่ดูดนมไม่ได้ดีจากการที่ทารกไม่สามารถสร้างแรงดูดในช่องปากได้เพียงพอ การกดนวดเต้านมมารดาปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการบีบน้ำนมด้วยมือ โดยจังหวะในการกดนวดเต้านม มารดาและทารกจะเรียนรู้จังหวะที่เหมาะสมที่จะส่งเสริมให้ทารกสามารถปรับตัวกับน้ำนมที่ไหลเร็วขึ้น ซึ่งทารกที่ดูดนมแม่ได้น้อยหรือดูดได้ยาก จะได้รับน้ำนมแม่ที่เพียงพอมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

ท่าในการให้นมลูกสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร

S__38207886

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? ในสมัยก่อนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาศัยการสังเกตจากมารดา คนในครอบครัว เพื่อนบ้าน คนในระแวกใกล้เคียงหรือในชุมชนเดียวกัน ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นเรื่องปกติที่มารดาทุกคนจำเป็นต้องให้นมแม่กับทารกแรกเกิด ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะถูกถ่ายทอดผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ด้วยความใกล้ชิดของสภาพสังคมและการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ในปัจจุบัน สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ความห่างเหินและการใช้ชีวิตแบบครอบครัวเดี่ยวเริ่มมีมากขึ้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการอบรม หรือมีการจัดสอนให้มารดามีทักษะในการปฏิบัติในการให้นมลูกได้ สิ่งหนึ่งในกระบวนการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีความสำคัญ คือ ท่าในการให้นมลูก

????????? ในโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีการสอนมารดาให้มีทักษะในการให้นมบุตรในช่วงระหว่างหลังคลอด โดยจะมีการสอนท่าต่างๆ ในการให้นมบุตร ท่าที่นิยมในการสอนมักมี 4 ท่า ได้แก่ ท่าอุ้มขวางตัก ท่าอุ้มขวางตักประยุกต์ ท่าฟุตบอล ท่านอนตะแคง แต่ในระยะหลังมีการศึกษาถึงท่าเอนหลัง (laid-back) ซึ่งเป็นท่าที่จะช่วยกระตุ้นกลไกพื้นฐานของพัฒนาการของทารกได้ดี และยังมีการศึกษาถึงท่าให้นมบุตรที่มารดาปฏิบัติได้ก่อนกลับบ้าน โดยหากมารดาให้นมบุตรได้มากกว่าสองท่าขึ้นไปมีความสัมพันธ์กับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหกเดือนสูงขึ้น1

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. The number of infant feeding positions and the 6-month exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2015;98 (in press)

การตรวจสอบขั้นตอนขณะมารดาให้ทารกดูดนม

S__38207880

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????? การที่บุคลากรทางการแพทย์จะให้คำแนะนำมารดาในการให้นมบุตรได้อย่างเหมาะสม บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการสังเกตมารดาในการให้นมบุตร โดยการตรวจสอบขั้นตอนขณะมารดาให้ทารกดูดนม ดังนี้

?????? ขั้นตอนขณะมารดาให้ทารกดูดนม

????? -สังเกตภาษากายของมารดาขณะที่ให้ทารกดูดนม มองดูสีหน้ามารดา ความตึงของกล้ามเนื้อที่มือ แขน หัวไหล่ และขาของมารดา

??????-สังเกตภาษากายของทารกขณะดูดนม ดูการเกร็งตัวหรือภาวะตึงเครียด

????? -สังเกตการเคลื่อนไหวของขากรรไกรล่างของทารก หากเคลื่อนไหวในทิศทางขึ้นและลง แสดงว่าทารกดูดเต้านม แต่ไม่ได้ดูดกลืนน้ำนม (nonnutritive sucking) หากเคลื่อนไหวโยกไปในทิศทางหน้าหลัง แสดงถึงทารกมีการดูดกลืนน้ำนม

????? -สังเกตว่าทารกจัดการกับการไหลของน้ำนมอย่างไร ทารกมีการสำลักหรือแหวะนมในระหว่างการดูดนมหรือไม่

????? -ในระหว่างการดูดนม ทารกยังคงอยู่ที่ตำแหน่งเดิมหรือมีการถอยห่างออกมาจากเต้านม

????? -สังเกตว่าทารกมีการหายใจที่ลำบากขณะอยู่ที่เต้านมหรือไม่

????? -สังเกตผิวหนังบริเวณริมฝีปากของทารก สังเกตว่ามีสีปกติหรือสีคล้ำเขียว ซึ่งหากมีความผิดปกติ ทารกอาจต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษโดยแพทย์

????? -สังเกตจังหวะของการดูดและการกลืนของทารก ซึ่งในช่วงที่ทารกมีการดูดนมเร็วจะมีจังหวะการดูดเทียบกับการกลืนคือ การดูด? 1-2 ครั้งต่อการกลืน 1 ครั้ง

??????? และหลังการให้การดูดนม

????? -สังเกตว่าสิ่งใดเป็นตัวชักนำให้มารดาหยุดให้ทารกกินนม การดูเวลา หรือมารดาหยุดเอง หรือทารกหยุดดูดนมเอง

??????-ลักษณะหัวนมและลานนมเปลี่ยนแปลงอย่างไรหลังทารกดูดนม เล็กและยึดยาวออกหรือไม่

????? -สีของหัวนมเปลี่ยนแปลงหรือไม่

?????? สิ่งที่สังเกตได้เหล่านี้จะช่วยประเมินการดูดนมของทารกว่าเหมาะสมหรือไม่ และมารดาและทารกมีอาการผิดปกติระหว่างหรือหลังการกินนมไหม

?????? เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การตรวจสอบขั้นตอนขณะมารดานำทารกเข้าเต้า

IMG_1010

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ?การที่บุคลากรทางการแพทย์จะให้คำแนะนำมารดาในการให้นมบุตรได้อย่างเหมาะสม บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการสังเกตมารดาในการให้นมบุตร โดยการตรวจสอบขั้นตอนขณะมารดานำทารกเข้าเต้า ดังนี้

????? ขั้นตอนขณะมารดานำทารกเข้าเต้า

????? -ลักษณะหัวนมมารดาขณะที่จะให้ทารกดูดเป็นอย่างไร

????? -มารดาเลือกท่าใดในการให้นมบุตร

????? -ลำตัวทารกหันเข้าหามารดาหรือไม่ การจัดเรียงของลำตัวอยู่ในแนวที่เหมาะสมหรือไม่ คือ หูจะอยู่ในแนวหัวไหล่ หัวไหล่จะอยู่แนวเดียวกับสะโพกแขนและขาทารกจะงอเข้าในหาแนวกลางของลำตัว

????? -มือของมารดาวางอยู่ที่ไหน มารดาได้ใช้มือประคองศีรษะทารกหรือวางมืออยู่บริเวณข้างใบหน้าทารก? มารดาได้ใช้มือช่วยจับหรือปรับลักษณะของเต้านม หรือใช้มือยกเต้านมขึ้นหรือไม่

????? -ตำแหน่งของทารกมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งของหัวนมอย่างไร

????? -ทารกอ้าปากเมื่อไร และเมื่อทารกอ้าปากประกบเต้านมแล้วมุมของปากทารกกว้างราว 90 องศาหรือไม่ หรือทารกอ้าปากเล็กจนเกินไปที่จะดูดนมได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

?????? -มารดาตอบสนองต่อการอ้าปากของทารกโดยขยับทารกเข้ามาใกล้ชิดกับเต้านมหรือไม่

?????? -ทารกสามารถขยับศีรษะเอนไปด้านหลังได้หรือไม่ หรือศีรษะทารกถูกกดให้ติดหน้าอกมารดา

?????? -ทารกเข้าเต้าด้วยริมฝีปากล่างและลิ้นก่อนแล้วจึงประกบริมฝีปากบนเข้ากับเต้านมหรือไม่ และเมื่อเทียบปากของทารกที่ประกบกับเต้านมแล้ว ตำแหน่งที่ประกบสัมพันธ์กับตำแหน่งหัวนมอย่างไร

????? -คางของทารกแนบชิดกับหน้าอกมารดาหรือไม่

????? -จมูกของทารกชิดติดกับเต้านมหรือไม่

????? -แขนของทารกเกาะก่ายอยู่ที่เต้านมหรือไม่

???? สิ่งเหล่านี้จะช่วยประเมินการเข้าเต้าของทารกว่าเหมาะสมหรือไม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การตรวจสอบขั้นตอนก่อนการให้นมลูก

IMG_1005

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????? การที่บุคลากรทางการแพทย์จะให้คำแนะนำมารดาในการให้นมบุตรได้อย่างเหมาะสม บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการสังเกตมารดาในการให้นมบุตร โดยมีการทบทวนขั้นตอนก่อนการให้นมลูก ดังนี้

?????? ขั้นตอนก่อนการให้นม

????? -ในทารกที่ต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษในเรื่องการเพิ่มของน้ำหนักตัว ทารกควรได้รับการชั่งด้วยตาชั่งดิจิตอลที่วัดได้ถึงหน่วยน้ำหนักเป็นกรัมก่อนและหลังการกินนม โดยทารกสามารถใส่เสื้อผ้าได้ และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอ้อม

??????-ควรโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อก่อนการกินนม

????? -อาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวลักษณะใดที่มารดาใช้ในการเริ่มให้นมลูก

????? -ทารกหิวเกินไปโดยมีอาการงอแง ร้องไห้ก่อนการให้นมหรือไม่

????? -ทารกไม่หิวหรือหลับสนิท ก่อนการให้นมหรือไม่

????? -มารดามีการเตรียมตัวก่อนการให้นมอย่างไร

??????-มารดาใช้เวลานานแค่ไหนจากที่ทารกมีอาการที่บ่งบอกว่าหิวถึงเมื่อมารดานำทารกมาเข้าเต้า

????? -บุคลากรทางการแพทย์ควรเลือกตำแหน่งในการสังเกตการให้นมของมารดาที่เหมาะสม โดยทั่วไป จะเลือกตำแหน่งที่มองเห็นการเข้าเต้าและการดูดนมของทารกได้ดีคือ หากมารดานั่งให้นม ควรอยู่ด้านหลังมารดาเพื่อจะได้มุมมองที่ใกล้เคียงกับมุมมองของมารดา

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.