คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

กลไกการดูดนมแม่ของทารก

00024-5-1-o-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การดูดนมจากเต้านมมารดาของทารกจะมีการสร้างแรงดูดในช่องปากทารก เริ่มจากการที่ปากทารกประกบกับเต้านม ทารกยื่นลิ้นออกไปกดบริเวณลานนม การขยับลิ้นกลับลงด้านล่าง จะสร้างแรงดูดในช่องปากทารกเพิ่มขึ้น น้ำนมจะไหลจากเต้านมมารดา ร่วมกับแรงจากการบีบตัวของเซลล์กล้ามเนื้อต่อมเต้านมที่จะช่วยขับไล่น้ำนมออกจากเต้านม เมื่อน้ำนมอยู่ไหลเข้ามาในช่องปากมากขึ้น แรงดูดนมจะลดลง ทารกจะยกลิ้นขึ้นเพื่อให้เกิดการกลืนน้ำนม น้ำนมจะไหลลงคอหอยและหลอดอาหาร ลิ้นของทารกจะลดต่ำลงอีกครั้ง แรงดูดในช่องปากทารกจะเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการไหลของน้ำนมจากเต้านมในรอบถัดไป การดูดนมของทารกจะเป็นรอบจังหวะการดูด โดยจังหวะจะเป็นรอบช้าและมีหยุดพักสั้นๆ บางช่วง การเข้าใจกลไกการดูดนมของทารกจะช่วยให้มารดาสามารถสังเกตการดูดนมที่มีประสิทธิภาพของทารกได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

โครงสร้างของเต้านม พัฒนาการสำหรับการให้นมทารก ตอนที่ 3

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? หลังคลอด การหลั่งน้ำนมมักเกิดขึ้นภายใน 40 ชั่วโมง ซึ่งหากเกิดขึ้นหลัง 72 ชั่วโมงจะเรียกว่าเกิด ภาวะน้ำนมมาช้า โดยปัจจัยที่มีผลต่อน้ำนมมาช้า ได้แก่ มารดาท้องแรก มารดาอายุมากกว่า 30 ปี มารดาที่มีทารกน้ำหนักมากกว่า 3600 กรัม มารดามีน้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วน มารดาที่มีภาวะเบาหวาน และมารดาที่ขาดการให้ทารกดูดนมอย่างมีประสิทธิภาพใน 24 ชั่วโมง เมื่อน้ำนมเริ่มมาแล้ว กลไกการควบคุมการสร้างน้ำนมจะขึ้นอยู่กับการกินนมให้เกลี้ยงเต้า และหลังจากเมื่อถึงระยะของการหยุดให้นม การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆ กลับเข้าสู่ระยะก่อนการตั้งครรภ์

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

 

โครงสร้างของเต้านม พัฒนาการสำหรับการให้นมทารก ตอนที่ 2

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?เมื่อเข้าสู่ระยะตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของเต้านมจะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น เต้านมและหัวนมจะขยาย สีของหัวนมและลานนมจะสีคล้ำขึ้น เพื่อให้ทารกสามารถมองเห็นหัวนมและลานนมได้ชัดเจนขึ้น ร่วมกับต่อมไขมันบริเวณลานนม คือ ต่อมมอนโกเมอรีจะสร้างไขช่วยหล่อลื่นหัวนมและนมลานขณะทารกดูดนม สร้างสารที่ช่วยต้านการติดเชื้อด้วย และมีการสร้างน้ำนมเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับทารก โดยฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญคือ โปรแลคติน การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ กระบวนการการสร้างน้ำนมจะมีเริ่มผลิตน้ำนม แต่การหลั่งน้ำนมจะยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ออกฤทธิ์ต้านการหลั่งน้ำนม จนเมื่อหลังคลอด ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง ร่วมกับการทำงานของออกซิโตซินจากการกระตุ้นดูดน้ำนม จะทำให้น้ำนมหลั่งออกมาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

โครงสร้างของเต้านม พัฒนาการสำหรับการให้นมทารก ตอนที่ 1

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เต้านมของสตรีออกแบบมาสำหรับการให้นมทารก โดยโครงสร้างต่างๆ ได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่ทารกหญิงขณะเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา การพัฒนาของเต้านมเริ่มต้นขณะทารกอายุครรภ์ราว 18-19 สัปดาห์ โดยตุ่มที่โป่งคล้ายหลอดไฟที่จะเจริญเป็นเต้านมจะเจริญจากเนื้อเยื่อชั้นนอกเข้าไปในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ด้านใน จากนั้น ส่วนที่เป็นท่อน้ำนมจะยืดออก แตกกิ่งก้านสาขาอยู่ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้เต้านม เมื่อมีการเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เต้านมจะมีการพัฒนาการเพิ่มขึ้น เต้านม หัวนม และลานนมขยาย โครงสร้างของเต้านมจะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาการจะเริ่มตั้งแต่ก่อนการมีประจำเดือน 2.5-3 ปี ซึ่งระหว่างช่วงหลังการตกไข่ (luteal phase) จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จะช่วยในการพัฒนาโครงสร้างของเต้านม ระยะเวลาของการพัฒนาการในช่วงนี้จะใช้เวลา 3-3.5 ปี

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

เลปติน ฮอร์โมนที่ควบคุมการกินอาหารในนมแม่

00024-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัญหาในเรื่องการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน การกินนมแม่ช่วยฝึกให้ทารกรู้จักควบคุมการกินอาหารจากการที่มารดาให้ทารกกินนมแม่ตามความต้องการ นอกจากนี้ ในน้ำนมแม่ยังมีฮอร์โมนเลปติน (leptin) และอะดิโพเนคติน (adiponectin) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการกินอาหารและการเผาพลาญพลังงานของร่างกาย เมตาบอลิสมของไขมัน และความไวของการตอบสนองของอินซูลิน ซึ่งจะมีผลต่อภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้ ซึ่งเรื่องนี้มีความน่าสนใจและมีการศึกษาถึงฮอร์โมนเลปตินกับการกินอาหารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากเราทราบรายละเอียดถึงกลไกที่สำคัญในการควบคุมการกิน? การป้องกันโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดตามมาหลังจากโรคอ้วนก็จะสามารถทำได้และจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.