รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ประโยชน์ของนมแม่เป็นที่ทราบกันดีว่ามีมากมายหลายด้าน ได้แก่ ด้านความเฉลียวฉลาด? สุขภาพที่ดีเนื่องจากได้รับภูมิคุ้มกันจากนมแม่ การลดโรคเรื้อรัง ภาวะอ้วน เบาหวาน ภูมิแพ้ มะเร็งในเด็กบางชนิด นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาการให้นมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด พบว่า การที่ทารกก่อนกำหนดได้รับนมแม่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น 1 ดังนั้น เมื่อปัจจุบัน การให้การดูแลหรือสามารถเลี้ยงดูทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้ดี โอกาสรอดชีวิตมีสูงขึ้น การช่วยให้ทารกได้กินนมแม่ จะช่วยเรื่องสุขภาพของหัวใจของทารกที่ดีในอนาคตด้วย
เอกสารอ้างอิง
Lewandowski AJ, Lamata P, Francis JM, et al. Breast Milk Consumption in Preterm Neonates and Cardiac Shape in Adulthood. Pediatrics 2016;138.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ปัจจุบัน การให้นมแม่ แม้จะมีกระแสสังคมที่ให้การสนับสนุนมากขึ้น แต่การอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะทั่วไป ยังขาดการจัดสรรพื้นที่เอื้อสำหรับมารดาที่ให้นมบุตร เช่น ตามสวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก หรือตามโรงงานหรือสถานประกอบการ แม้จะมีนโยบายที่ส่งเสริมให้โรงงานหรือสถานประกอบการมีมุมหรือห้องนมแม่ แต่ยังมีที่ที่จัดการสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำกัด ทำให้ขาดการเข้าถึงการจัดการสนับสนุนมุมนมแม่ในที่สาธารณะและสถานประกอบการ สิ่งนี้ต้องการความร่วมมือของภาคเอกชน และการเห็นและจัดลำดับความสำคัญในการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งหากภาคส่วนสังคมให้ความตระหนักแล้ว การจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มารดาที่การให้ลูกกินนมแม่ไม่ว่าจะเดินทางอย่างไรหรือไปในสถานที่ใด เช่นตัวอย่างการจัดห้องให้นมแม่บนเรือเฟอร์รี่ในประเทศฮ่องกง1 ที่แสดงถึงความใส่ใจในเรื่องสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก หากทารกได้กินนมแม่
เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลจาก http://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/1961856/hong-kong-ferry-company-launch-first-breastfeeding
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? การให้ลูกกินนมแม่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะอ้วนในทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น โดยกลไกการเกิดจากการที่ทารกควบคุมการกินนมแม่ด้วยตนเอง ร่วมกับผลจากการดูดซึมและกลไกจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นเชื้อถิ่นที่มีประโยชน์ที่อยู่ในลำไส้กระตุ้นการทำงานและการเผาพลาญสารอาหารของร่างกาย การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะช่วงทารกคลอดและหลังคลอดใหม่จะมีผลในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ได้ และอาจมีผลในการลดการได้ประโยชน์จากการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนของทารกได้ 1 ดังนั้น การพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาและทารกในช่วงแรกของชีวิต อาจต้องใช้ตามความจำเป็นและข้อบ่งชี้ เพื่อให้ทารกได้ประโยชน์จากการกินนมแม่อย่างเต็มที่
เอกสารอ้างอิง
Korpela K, Salonen A, Virta LJ, Kekkonen RA, de Vos WM. Association of Early-Life Antibiotic Use and Protective Effects of Breastfeeding: Role of the Intestinal Microbiota. JAMA Pediatr 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? การให้ลูกกินนมแม่จะลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่ต้องใช้ในการซื้อนมผงดัดแปลงสำหรับทารกซึ่งใช้ราว 1 ใน 3 ของเงินเดือนขั้นต่ำของค่าจ้างแรงงานมาตรฐานของประเทศ นอกจากนี้ ยังลดค่าใช้จ่ายจากการสูญเสียค่ารักษาพยาบาลในการรักษาอาการท้องเสีย และปอดบวมได้ถึง 293 ล้านดอลล่าร์ต่อปี และลดค่าใช้จ่ายในจากการสูญเสียความฉลาดและโอกาสที่จะหารายได้ในอนาคตราว 1.6 พันล้านดอลล่าร์ต่อปีป ในกลุ่มประชากรในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนม่า อินโดนิเซีย และติมอร์ เลสเต
เอกสารอ้างอิง
UNICEF, Alive &thrive. Cost of not breastfeeding.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนม่า อินโดนิเซีย และติมอร์ เลสเต จากการคำนวณวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ในทารกแรกเกิดถึงสองปี หากกินนมแม่จะลดอัตราการเสียชีวิตของทารกจากการท้องเสียและปอดบวมลงได้กว่าร้อยละ 50 โดยหากคิดเป็นจำนวนคนจะป้องกันการเสียชีวิตของทารกได้มากกว่า 10700 รายต่อปี และหากมารดาให้นมทารกถึงสองปีได้ร้อยละ 90 จะลดการเสียชีวิตของมารดาจากมะเร็งเต้านมได้ถึงร้อยละ 10 ดังนั้น นอกจากลดอัตราการตายของทารก นมแม่ยังลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาจากมะเร็งเต้านมได้
เอกสารอ้างอิง
UNICEF, Alive &thrive. Cost of not breastfeeding.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)