คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

ความรู้ของมารดามีความสำคัญต่อนมแม่

img_2111

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การที่มารดาจะเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น มารดาต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงประโยชน์ของนมแม่ ทราบความสำคัญและความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และการที่จะให้นมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยต่อเนื่องไปจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้นโดยขึ้นอยู่กับมารดาและทารก ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งแพทย์ควรจัดเวลาให้มีการแนะนำเรื่องความสำคัญและความจำเป็นในการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะการฝากครรภ์ ระยะคลอด รวมถึงในระยะหลังคลอดด้วย มีการศึกษาในกลุ่มผู้อพยพที่อยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน และมีการให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกัน พบว่า ในกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่า1 จะเห็นว่า หากมารดาได้รับการให้บริการที่จะสร้างเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของนมแม่ก็จะทำให้แม่มีโอกาสที่จะให้นมลูกได้นานขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Wojcicki JM, Heyman MB, Elwan D, Lin J, Blackburn E, Epel E. Early exclusive breastfeeding is associated with longer telomeres in Latino preschool children. Am J Clin Nutr 2016;104:397-405.

 

ปีใหม่นี้ เราจะทำอะไรเพื่อนมแม่

s__38207668-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เวลาในแต่ละปีที่ผ่านมา เมื่อถึงปีใหม่ เรามักคิดว่าเวลาได้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ในปีที่แล้วเรายังไม่ได้ทำโน่นทำนี่เลย ตั้งใจจะทำกิจกรรมหรือการให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ แต่ก็ยังไม่ได้ทำ ปัญหาของการที่เราละเลยไม่ได้ทำสิ่งต่างๆ ที่เราเห็นว่าควรต้องทำในปีที่ผ่านมาก็คือ การให้ความสำคัญ การที่คนเราจะทำอะไรก่อนหรือหลังก็ขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะทำ ดังนั้น เมื่อถึงปีใหม่ สิ่งใดที่เราตั้งใจหรือตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานไว้ เราควรมีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพราะบางครั้งงานที่เราตั้งใจหรืออยากจะทำอาจมีมากมายจนเกินกว่าระยะเวลาหนึ่งปีจะสามารถทำได้ การจัดลำดับความสำคัญและเลือกนำแนวทางหรือกิจกรรมที่เป็นลำดับแรกๆ ที่เราให้ความสำคัญมาก จะสามารถจะทำให้เรามีโอกาสในการบรรลุเป้าหมายการทำงาน เป้าหมายในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งสิ่งนี้อาจนำไปใช้ในการกำหนดลำดับความสำคัญในชีวิตได้ ขอให้ทุกท่านได้ทำงานทุกงานตามที่ตั้งใจไว้ในระยะเวลาหนึ่งปีที่ถึงนี้และบรรลุของเป้าหมายตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้เทอญ

สิ้นปีเก่า เราต้องทำอะไรเพื่อนมแม่

img_2113

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในปีที่ผ่านมา ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คงต้องทบทวนตนเองในแต่ละหน่วยงานว่า 1 ปีที่ผ่านมา เราได้ทำอะไรในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปแล้วบ้าง และถ้าหากมีการวางแผนการทำงาน ต้องถามว่าผลงานที่เราทำในปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จหรือไม่ หากประสบความสำเร็จแล้ว ได้แก้ไขปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เผชิญอยู่หรือไม่ หากแก้ไขปัญหาแล้ว อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนของโรงพยาบาลหรือชุมชนดีขึ้นไหม หากยังไม่ดีขึ้น มีปัญหาใดที่ยังมีความสำคัญและถูกละเลยอยู่ ซึ่งต้องนำมาจัดลำดับความสำคัญในการวางแผนดำเนินการในปีใหม่ที่จะถึงนี้ สุดท้ายนี้ ขอให้ปัญหาเก่าๆ ที่เราต้องเผชิญสามารถแก้ไขผ่านพ้นอุปสรรคไปด้วยดี ขอให้ทุกท่านมีทีมงานที่ดีร่วมสร้างสรรค์งานพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และสนับสนุนให้เด็กไทยได้กินนมแม่เพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต

ความเข้าใจในปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2119

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หากถามว่า ปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คืออะไร จะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันจากผู้เชี่ยวชาญที่มีมุมมองที่หลากหลายและให้ความสำคัญที่แตกต่างกันในแต่ละคน ได้แก่ อาจพูดถึงปัญหาของแม่ที่ต้องทำงาน ปัญหาของการสื่อสารทางการตลาดของนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ปัญหาจากมารดาขาดความรู้ความเข้าใจ ปัญหาเรื่องมารดาเข้าใจว่าตนเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ1 ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทั้งขาดแคลนด้านความรู้ ทักษะ และจำนวนผู้เชี่ยวชาญ ปัญหาเรื่องเครือข่ายการให้บริการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีจำนวนน้อย กระจายไม่ทั่วถึงและเข้าถึงได้ลำบาก ปัญหาเรื่องค่านิยมวัฒนธรรมและการตื่นตัวของสังคม

??????????? แม้การพูดถึงปัญหาที่มากมาย อาจทำให้เกิดความท้อถอยในทีมงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ความเข้าถึงสาเหตุและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้ นั่นก็ถือเป็นการบรรลุถึงความสำเร็จระดับหนึ่งของการรู้จักปัญหาที่เราต้องเผชิญ สำหรับบุคลากรในโรงพยาบาล คงต้องเริ่มถามว่าปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลคืออะไร เมื่อได้คำตอบแล้ว อาจสำรวจเพิ่มเติมไปที่ปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนที่โรงพยาบาลตั้งอยู่คืออะไร ซึ่งความเข้าใจในปัญหาจะเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่ตามมาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Wood NK, Woods NF, Blackburn ST, Sanders EA. Interventions that Enhance Breastfeeding Initiation, Duration, and Exclusivity: A Systematic Review. MCN Am J Matern Child Nurs 2016;41:299-307.

 

เป้าหมายและการดำเนินการที่ชัดเจนช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1702

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยจากข้อมูลขององค์การยูนิเซฟ มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนร้อยละ 12 ซึ่งอยู่ในกลุ่มเกณฑ์ประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในโลก การที่จะพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนั้น นอกจากนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลแล้ว การนำมาปฏิบัติโดยสถานพยาบาลควรมีการวางแผนดำเนินการ ตั้งตัวชี้วัด ติดตามผลและประเมินการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งมีการศึกษาพบว่า การตั้งเป้าหมายและจัดการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนได้เมื่อเทียบกับการทำงานประจำแบบเดิมๆ1 สิ่งนี้สื่อให้เห็นถึง หากต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องมีการวางแผน การดำเนินการที่เป็นขั้นตอน ติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาที่เกิดขึ้นได้จะมีความยั่งยืนกว่าการรอโชคชะตาหรือทำงานไปวันๆ ตามรูปแบบดั้งเดิม

เอกสารอ้างอิง

  1. Wouk K, Lara-Cinisomo S, Stuebe AM, Poole C, Petrick JL, McKenney KM. Clinical Interventions to Promote Breastfeeding by Latinas: A Meta-analysis. Pediatrics 2016;137.