คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การประคบเต้านมด้วยลููกประคบ


ลูกประคบสามารถนำมาใช้ประคบเต้านมเพื่อลดอาการตึงคัดหรืออักเสบของเต้านมได้ ซึ่งจะช่วยขยายท่อน้ำนมและระบายน้ำนมที่ขังอยูู่ในเต้านม โดยร่วมกับการให้ลูกดูดนมจากเต้าหรือปั๊มนมหลังการประคบเต้านมด้วยลูกประคบ

ลักษณะทารกที่ปฏิเสธเต้านมจากการติดจุกนม

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องอยู่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต มักได้รับการป้อนนมด้วยจุุกนมจากขวดและติดจุกนม เมื่อมาให้นมจากเต้า ทารกอาจจะปฏิเสธการดูดนมจากเต้า เนื่องจากการดูดนมจากเต้า ทารกต้องอ้าปากกว้าง อมหัวนมและลานนมลึก ร่วมกับใช้ลิ้นดุนหรือกดไล่นมจากบริเวณลานนม ซึ่งกลไกการดูดนมจะยากกว่าการดูดนมจากจุกนมที่ทารกจะอมจุกนมเพียงตื้น ๆ มักเรียกภาวะที่ทารกปฏิเสธการดูดจากเต้านี้ว่า การสับสนหัวนม (nipple confusion)

การจับลูกเรอหลังกินนมในท่านั่ง

หลังทารกกินนมทุกครั้ง ควรมีการจับลูกให้เรอ ในวิดีโอนี้จะแสดงถึงวิธีการจับลูกเรอท่านั่ง โดยใช้มือประคองบริเวณคอของทารก แต่จะไม่กดหรือบีบบริเวณลำคอทารก จากนั้นจัดท่าทารกให้น่ังและลูบบริเวณหลังของทารก

ลูกประคบช่วยลดอาการตึงคัดเต้านมได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัญหาตึงคัดเต้านมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในมารดาหลังคลอดบุตร ซึ่งหากดูแลจัดการไม่เหมาะสมอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีผลทำให้มารดาหยุดให้นมแม่ได้ อาการตึงคัดเต้านมมักพบในช่วงแรกหลังคลอดเกิดจากการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองที่บริเวณเต้านมร่วมกับมีน้ำนมส่วนหนึ่งขังอยู่ในเต้านมด้วย ดังนั้น หลักการรักษาการตึงคัดเต้านมคือ ดูแลให้มีการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองบริเวณเต้านมให้ดีขึ้น ระบายน้ำนมออกจากเต้านม ร่วมกับให้ยาบรรเทาอาการปวดหรือยาลดไข้ การดูแลให้มีการไหลเวียนของเลือด น้ำเหลือง และมีการระบายของน้ำนมที่ดี การใช้ความร้อนประคบเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ ในประเทศไทยมีภูมิปัญญาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดที่ใช้มานานตั้งแต่สมัยโบราณ ได้แก่ การใช้ลูกประคบ ได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมพบว่า การใช้ลูกประคบสามารถช่วยลดอาการตึงคัดเต้านมได้1 เหตุผลน่าจะมาจากความร้อนที่ใช้ในการประคบร่วมกับสมุนไพรที่มีอยู่ในลูกประคบช่วยบรรเทาอาการปวด อย่างไรก็ตาม ควรยึดหลักในการรักษาอาการตึงคัดเต้านมพร้อมกันไปด้วย คือ ประคบร้อนก่อน แล้วให้ลูกกระตุ้นดูดนม จากนั้นจึงประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดเลือดหรือน้ำเหลืองที่จะเข้ามาคั่งบริเวณเต้านมเพิ่ม การเข้าใจหลักการในการดูแลรักษาอาการตึงคัดเต้านมจะทำให้ลดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนที่จะเป็นอุปสรรคในการให้ลูกกินนมแม่ต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Ketsuwan S, Baiya N, Paritakul P, Laosooksathit W, Puapornpong P. Effect of Herbal Compresses for Maternal Breast Engorgement at Postpartum: A Randomized Controlled Trial. Breastfeed Med 2018;13:361-5.

ลักษณะงานของแม่แบบใดที่มีผลต่อการให้นมลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การกลับไปทำงานของมารดาเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และมีผลทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากกลับไปทำงานได้ การที่มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากกลับไปทำงานนั้น อาจเป็นเพราะการที่มารดาต้องปรับตัวกับการทำงาน สถานที่ทำงานอาจอยู่ไกลบ้าน ลักษณะของงานที่อาจจะมีความเสี่ยงต่ออันตรายหรือมีความเครียดสูง ความอิสระของลักษณะงาน1 เพื่อนร่วมงาน การดูแลหรือให้การสนับสนุนการบีบหรือปั๊มนมของมารดา มีเครื่องปั๊มนมหรือสถานที่ที่ใช้บีบเก็บน้ำนม และนโยบายของนายจ้างหรือสถานประกอบการในเรื่องการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความตั้งใจที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ต่อหลังมารดากลับไปทำงานและการคงการให้นมลูกต่อเนื่องเมื่อมารดากลับไปทำงานแล้ว การรณรงค์ให้สถานประกอบการมีนโยบายทางสังคมที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นค่านิยมที่ควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดขึ้นและสร้างระบบการสนับสนุนให้มารดาคงการให้นมแม่ได้แม้กลับไปทำงานแล้ว สิ่งนี้จะช่วยสร้างโอกาสที่จะให้ลูกได้กินนมแม่และเป็นรากฐานในการวางแผนการพัฒนาสุขภาพของกำลังคนของประเทศชาติในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Spitzmueller C, Zhang J, Thomas CL, et al. Identifying job characteristics related to employed women’s breastfeeding behaviors. J Occup Health Psychol 2018.