คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ทารกมีน้ำนมไหล อันตรายหรือไม่

IMG_9424

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ทารกหลังคลอดใหม่ๆ หากได้รับฮอร์โมนเพศหญิงที่ผ่านไปจากมารดามาก อาจมีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมโดยมีเต้านมขยาย (breast bud) และมีน้ำนมไหลได้ ร่วมกับอาจพบลักษณะของอวัยวะเพศหญิงบริเวณแคมบวมร่วมกับมีเมือกออกจากช่องคลอดได้ในกรณีที่ทารกเป็นเพศหญิง ซึ่งอาการเหล่านี้ ไม่เป็นอันตราย และจะหายไปเองในช่วงหนึ่งสัปดาห์หรืออย่างช้าหนึ่งเดือนเมื่อฮอร์โมนจากมารดาหมดไป ?ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์อาจให้คำปรึกษาและสร้างความเข้าใจให้กับมารดาและครอบครัว เพื่อลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจว่ามารดายังสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปได้

? ? ? ? ?เกร็ดความรู้เพิ่มเติม ในสมัยก่อนในยุโรป ยุคที่มีความเชื่อเกี่ยวกับแม่มด ทารกที่มีน้ำนมไหลถูกเชื่อว่าเป็นทารกที่ถูกสาปจากแม่มด ซึ่งการแก้ไขต้องให้แม่มดถอนคำสาปหรือปราบแม่มด อย่างไรก็ตาม ความเชื่อหลายๆ อย่างในยุคก่อน เกิดจากความไม่รู้หรือไม่สามารถอธิบายได้ การช่างสังเกตและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์บนพื้นฐานหลักฐานเชิงประจักษ์ จะสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเต้านมอักเสบ

S__38199475

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การเกิดเต้านมอักเสบในมารดาที่ให้นมลูกพบร้อยละ 8 ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด1 และพบร้อยละ 10.3-20 ในช่วงหกเดือนหลังคลอด2,3 มีการศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเต้านมอักเสบ1-4 พบว่า การมีประวัติเต้านมอักเสบมาก่อนเพิ่มความเสี่ยง 1.74-4 เท่า (95%CI 1.07-2.81, 95%CI 2.64-6.11) มารดาที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเพิ่มความเสี่ยง 1.93 เท่า (95%CI 1.18-3.16) การผ่าตัดคลอดเพิ่มความเสี่ยง 3.52 เท่า (95%CI 1.09-11.42) มารดาที่รู้สึกเครียดเพิ่มความเสี่ยง 3.15 เท่า (95%CI 1.56-6.37) การให้นมก่อนที่น้ำนมจะมาเพิ่มความเสี่ยง 2.76 เท่า(95%CI 1.03-7.40) การมีหัวนมแตกหรือเจ็บหัวนมเพิ่มความเสี่ยง 1.44-3.4 เท่า (95%CI 1.00-2.07, 95%CI 2.04-5.51) การมีท่อน้ำนมอุดตันเพิ่มความเสี่ยง 2.43 เท่า (95%CI 1.68-3.49) การเริ่มให้นมในเต้านมอีกข้างเมื่อให้นมครั้งถัดไปเพิ่มความเสี่ยง 2.28 เท่า (95%CI 1.50-3.44) การใช้เครื่องปั๊มนมเพิ่มความเสี่ยง 3.3 เท่า (95%CI 1.92-5.62) และการใช้ครีมทาหัวนมเพิ่มความเสี่ยง 1.83 เท่า (95%CI 1.22-2.73)

? ? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ ประวัติการมีน้ำนมมาช้ากว่า 24 ชั่วโมงหลังคลอด ประวัติการแยกมารดาและทารกนานกว่า 24 ชั่วโมง และการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อราเฉพาะที่ระหว่างการให้นมยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดเต้านมอักเสบของมารดาด้วย ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรเอาใจใส่ในมารดากลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ หลีกการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อราเฉพาะที่ไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการให้มารดาและทารกแยกจากกันหลังคลอด ควรกระตุ้นให้ทารกดูดนมบ่อยๆ ให้น้ำนมมาเร็ว ไม่ควรใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะสมหรือเริ่มเร็วเกินไป จัดท่ามารดาและทารกให้เข้าเต้าเหมาะสมเพื่อการดูดนมที่มีประสิทธิภาพ ลดการเจ็บหัวนมและเต้านม ท่อน้ำนมอุดตัน และควรดูดนมให้เกลี้ยงเต้าในเต้านมข้างเดิมในการดูดนมครั้งถัดไป สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเต้านมอักเสบได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Khanal V, Scott JA, Lee AH, Binns CW. Incidence of Mastitis in the Neonatal Period in a Traditional Breastfeeding Society: Results of a Cohort Study. Breastfeed Med 2015;10:481-7.
  2. Tang L, Lee AH, Qiu L, Binns CW. Mastitis in Chinese breastfeeding mothers: a prospective cohort study. Breastfeed Med 2014;9:35-8.
  3. Kinlay JR, O’Connell DL, Kinlay S. Risk factors for mastitis in breastfeeding women: results of a prospective cohort study. Aust N Z J Public Health 2001;25:115-20.
  4. Foxman B, D’Arcy H, Gillespie B, Bobo JK, Schwartz K. Lactation mastitis: occurrence and medical management among 946 breastfeeding women in the United States. Am J Epidemiol 2002;155:103-14.

?

การป้ายแบคทีเรียในช่องคลอดให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอด

02090044

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การที่ทารกได้รับการผ่าตัดคลอด ทารกจะไม่ได้ผ่านลงในช่องคลอด และจะไม่ได้รับเชื้อแบคทีเรียจากช่องคลอดที่จะเข้าไปเจริญเติบโตเป็นจุลินทรีย์ถิ่น (normal flora) ที่อยู่ในลำไส้ทารก ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยในย่อยอาหาร กระตุ้นภูมิคุ้มกัน1,2 และการพัฒนาการที่จำเป็นของลำไส้3 จึงมีแนวคิดว่าจะป้ายแบคทีเรียในช่องคลอด (vaginal seeding) ให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอด โดยหวังว่าจะช่วยในการเพิ่มจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่จะเจริญเติบโตไปเป็นจุลินทรีย์ถิ่นในช่องคลอด โดยมีการทำในหลายประเทศ4 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ในการใช้การป้ายแบคทีเรียในช่องคลอดให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอดยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน ซึ่งมีความคิดเห็นบางความคิดเห็นที่คิดแตกต่างกัน โดยข้อคิดแย้งมีความวิตกกังวลว่าอาจจะทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการป้ายเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดที่บางครั้งอาจมีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคแฝงอยู่ด้วย ดังนั้น ในทางปฏิบัติการที่จะช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่จะเข้าไปเป็นจุลินทรีย์ถิ่น ควรเลือกวิธีการที่มีการรับรองว่ามีความปลอดภัยก่อนมากกว่า ได้แก่ การให้ทารกที่ผ่าตัดคลอดได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและกินนมแม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยทารกได้เช่นเดียวกัน สามารถปฏิบัติได้ง่าย และมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกหลากหลายด้าน

เอกสารอ้างอิง

  1. West CE, Renz H, Jenmalm MC, et al. The gut microbiota and inflammatory noncommunicable diseases: associations and potentials for gut microbiota therapies. J Allergy Clin Immunol 2015;135:3-13; quiz 4.
  2. Sevelsted A, Stokholm J, Bonnelykke K, Bisgaard H. Cesarean section and chronic immune disorders. Pediatrics 2015;135:e92-8.
  3. Madan JC, Hoen AG, Lundgren SN, et al. Association of Cesarean Delivery and Formula Supplementation With the Intestinal Microbiome of 6-Week-Old Infants. JAMA Pediatr 2016:1-8.
  4. Molloy A. Mothers facing C-sections look to vaginal ?seeding? to boost their babies’ health.Guardian?2015 Aug 17.

 

?

ลักษณะมารดาที่เสี่ยงจะมีลูกอ้วน

IMG_9407

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในระหว่างการตั้งครรภ์ มีการศึกษาถึงลักษณะของมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกอ้วน โดยพบว่ามารดาที่มีน้ำหนักขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์เกินเกณฑ์ มารดาที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และมารดาที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกอ้วนที่อายุ 8 ขวบ1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรแนะนำให้มารดาได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมระหว่างการตั้งครรภ์ ควบคุมการขึ้นของน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ และงดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ การให้ลูกกินนมแม่ยังช่วยป้องกันภาวะอ้วนในทารกได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Mourtakos SP, Tambalis KD, Panagiotakos DB, et al. Maternal lifestyle characteristics during pregnancy, and the risk of obesity in the offspring: a study of 5,125 children. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:66.

?

ท่านรู้จัก เบบี้คาเฟ่ ไหม

IMG_9418

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? เบบี้คาเฟ่ คือ รูปแบบการให้บริการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างหนึ่งที่ใช้เรียกกันในสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษ ซึ่งการบริการจะคล้ายกับคลินิกนมแม่ คือ มีการให้ความรู้ ช่วยเหลือเรื่องทักษะการปฏิบัติ การให้คำปรึกษา และติดตามสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงสิ่งที่มารดาต้องการจากเบบี้คาเฟ่ พบว่า การให้เวลาและให้ความสำคัญโดยยึดหลักมารดาและทารกเป็นศูนย์กลางการให้บริการในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด1 ดังนั้น ในการให้บริการที่คลินิกนมแม่อาจจะนำความคาดหวังของการให้บริการเบบี้คาเฟ่มาปรับใช้ได้ โดยให้ความสำคัญกับมารดาและทารก ให้เวลา ติดตามสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉพาะในสัปดาห์แรกหลังคลอด ซึ่งเปรียบเทียบเหมือนเป็นสัปดาห์ทองในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะหากมารดาเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเหมาะสมแล้ว โอกาสที่จะมีความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และให้นมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น จะมีสูงตามด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Fox R, McMullen S, Newburn M. UK women’s experiences of breastfeeding and additional breastfeeding support: a qualitative study of Baby Cafe services. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:147.

?

?