คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความเสี่ยงของการมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก

BUSIN127

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งในวัยเด็ก วัยรุ่น และสตรีตั้งครรภ์ มีการศึกษาพบว่าการมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในวัยเด็กและช่วงวัยรุ่นน่าจะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคทางจิตเวช ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า (depressive disorder) โรคอารมณ์แปรปรวน (bipolar disorder) ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder)1 โดยสำหรับความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในการตกเลือดหลังคลอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น การอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการขาดธาตุเหล็ก ควรมีการเลือกลักษณะการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็กและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ส่วนการเสริมธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์นอกจากจะลดภาวะซีด ยังช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยด้วย2

เอกสารอ้างอิง

  1. Chen MH, Su TP, Chen YS, et al. Association between psychiatric disorders and iron deficiency anemia among children and adolescents: a nationwide population-based study. BMC Psychiatry 2013;13:161.
  2. Haider BA, Olofin I, Wang M, Spiegelman D, Ezzati M, Fawzi WW. Anaemia, prenatal iron use, and risk of adverse pregnancy outcomes: systematic review and meta-analysis. BMJ 2013;346:f3443.

 

 

การสอนทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่บุคลากรทางการแพทย์

1410868496077

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ?ในการเรียนการสอนทักษะให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เบื้องต้นผู้สอนควรมีความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านทักษะ ซึ่งมีทฤษฎีของ Harrow?s instructive modal for psychomotor domain ที่อธิบายไว้ 5 ขั้นตอน คือ

  1. ขั้นเลียนแบบ
  2. ขั้นทำตอบคำบอก
  3. ขั้นทำได้ถูกขั้นตอน
  4. ขั้นทำและนำเสนอได้ด้วยความมั่นใจ
  5. ขั้นทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

? ? ? ? การสอนทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่บุคลากรทางการแพทย์นั้น เป้าหมายคาดหวังคือ อย่างน้อยควรอยู่ในขั้นทำได้ถูกขั้นตอน ดังนั้น หากมีการฝึกเลียนแบบและทำตอบคำบอกกับหุ่นหัตถการจนสามารถทำได้ถูกขั้นตอน ผลการเรียนรู้เมื่อได้ปฏิบัติจริงจะดีขึ้น1 สำหรับการจะทำได้ถึงขั้นมั่นใจและเป็นธรรมชาตินั้นต้องอาศัยการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ อย่างไรก็ตาม การประเมินผลและตอบสนองกลับให้แก่ผู้เรียนเป็นระยะและบ่อยๆ จะทำให้การเรียนรู้ทางด้านทักษะของผู้เรียนดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Herrmann-Werner A, Nikendei C, Keifenheim K, et al. “Best practice” skills lab training vs. a “see one, do one” approach in undergraduate medical education: an RCT on students’ long-term ability to perform procedural clinical skills. PLoS One 2013;8:e76354.

 

การล้างมือเข้าห้องคลอด

 

 

 

 

?การล้างมือเข้าห้องคลอด