คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

เทคนิคในการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม

IMG_9417

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? วิธีการปั๊มนมด้วยเครื่อง มารดาควรทราบเกี่ยวกับชิ้นส่วนของเครื่องปั๊มนมเป็นอย่างดี สำหรับเทคนิคในการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม มีขั้นตอนดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนการปั๊มนม เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั๊มนมที่พร้อมทำความสะอาดแล้วตามสลากประกอบการใช้
  • มารดาควรนึกถึงภาพทารกและการให้นมทารก อาจใช้ภาพถ่าย การบันทึกเสียงหรือผ้าที่ใช้ห่อตัวทารกเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนม
  • นวดเต้านมจากด้านนอกเข้าหาหัวนม อาจใช้ผ้าอุ่นประคบราว 5 นาทีเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลเวียนได้ดี
  • ประกบที่ปั๊มนมกับเต้านม โดยหัวนมควรใส่เข้าไปในที่ดูดหัวนมได้สะดวก ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป เปิดเครื่องปั๊มหากเป็นเครื่องปั๊มอัตโนมัติ โดยหากสามารถปรับแรงดูดได้ มารดาไม่ควรรู้สึกเจ็บขณะที่เครื่องปั๊มออกแรงดูด แต่หากเป็นเครื่องปั๊มที่ใช้แรงบีบมือ มารดาควรออกแรงบีบให้เกิดแรงดูดที่พอเหมาะ เพราะหากดูดแรงเกินไป หรือใส่ที่ประกบหัวนมไม่เหมาะสม เต้านมจะเกิดการบาดเจ็บ เกิดเต้านมอักเสบได้ ขณะใช้เครื่องปั๊มนมมารดาอาจนวดบริเวณเต้านมร่วมด้วยเพื่อช่วยในการระบายน้ำนมได้
  • กระบวนการปั๊มนมในแต่ละเต้าใช้เวลาราว 10 นาที แต่หากเป็นเครื่องปั๊มที่สามารถปั๊มนมจากทั้งสองเต้าได้ จะลดเวลาการปั๊มนมจากทั้งสองเต้าลง
  • เก็บน้ำนมจากภาชนะใส่ถุงเก็บน้ำนม ควรเขียนชื่อของมารดา วันที่ที่เก็บ เพื่อความสะดวกในการเลือกนำมาใช้ และความปลอดภัยในการเก็บรักษา จากนั้นเก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น แต่หากไม่มีตู้เย็น สามารถใส่ในกระติกหรือกระเป๋าเก็บความเย็นที่ใส่น้ำแข็งไว้ขณะที่อยู่ที่ทำงานหรือต้องเดินทาง แล้วนำกลับบ้านหลังเลิกงาน

หมายเหตุ เครื่องปั๊มนมปกติที่ใช้ส่วนใหญ่ออกแบบสำหรับมารดาที่ใช้เพียงคนเดียว ยกเว้นเครื่องปั๊มนมที่ใช้โรงพยาบาลที่มีการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างมารดาแต่ละคน การเพาะเชื้ออุปกรณ์ในการใช้เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของมารดาแต่ละคน ปกติไม่มีความจำเป็น และมารดาควรระลึกไว้เสมอว่า การกระตุ้นดูดนมที่ดีที่สุดคือ การให้ทารกดูดกระตุ้นโดยตรงจากเต้า

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

20 คำถามที่ต้องตอบก่อนการเลือกซื้อและใช้เครื่องปั๊มนม

pump5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การใช้เครื่องปั๊มนม เป็นวิธีหนึ่งที่สะดวกและใช้เวลาสั้นในการเก็บน้ำนม อย่างไรก็ตาม เครื่องปั๊มนมมีหลายชนิด หลายราคา คุณภาพ และการคงทนในการใช้งานที่แตกต่างกัน มีคำถามที่มารดาต้องตอบตัวเองก่อนการเลือกซื้อและใช้เครื่องปั๊มนม ดังนี้

  1. เครื่องปั๊มนมที่จะซื้อนี้ จำเป็นต้องใช้ในระยะสั้นหรือระยะยาว
  2. ราคาของเครื่องปั๊มนมที่สามารถรับได้ ราคาเท่าไร
  3. น้ำหนักของเครื่องปั๊มนมหนักเท่าไร (ต้องพิจารณาในกรณีใช้พกพา)
  4. สถานที่ที่จะเก็บน้ำนม ใช้เครื่องปั๊มสะดวกหรือไม่ (เครื่องปั๊มบางชนิดใช้ไฟฟ้า บางชนิดใช้แบตเตอรี่ บางชนิดใช้มือบีบ)
  5. ประสิทธิภาพในการปั๊มนมของเครื่องปั๊มนมแต่ละชนิดหรือยี่ห้อเป็นอย่างไร
  6. การทำความสะอาดเครื่องปั๊มนมหรืออุปกรณ์ประกอบทำได้ง่ายหรือไม่
  7. มีวิธีใช้และดูแลรักษาบ่งบอกไว้ชัดเจนหรือไม่
  8. ขวดที่จะใช้เก็บน้ำนมจากเครื่องปั๊ม เป็นขนาดมาตรฐานทั่วไป หรือจำเป็นต้องซื้อเฉพาะยี่ห้อของเครื่องปั๊มนม
  9. เครื่องปั๊มนมมีรอบในการปั๊มนมกี่รอบต่อหนึ่งนาทีและปรับรอบของการปั๊มนมได้หรือไม่
  10. ขนาดของอุปกรณ์ที่ใช้ประกบกับเต้านม (cup) เพื่อปั๊มนมมีหลายขนาดให้เลือกตามความเหมาะสมของขนาดหัวนมและเต้านมหรือไม่
  11. มีระบบที่ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นในแต่ละส่วนของเครื่องปั๊มนมหรือไม่
  12. เครื่องปั๊มนมเสียงดังหรือไม่
  13. หากใช้ไฟฟ้า สายไฟของเครื่องปั๊มนมยาวแค่ไหน
  14. เครื่องปั๊มนมสามารถปั๊มนมได้สองเต้าในเวลาเดียวกันหรือไม่
  15. เครื่องปั๊มนมเป็นชนิดมีการรับรองการใช้งานในโรงพยาบาลหรือไม่
  16. การรับประกันจากบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายเป็นอย่างไร
  17. เครื่องปั๊มนมเป็นชนิดที่ออกแบบสำหรับการใช้งานคนเดียวหรือสามารถใช้งานได้โดยมารดาหลายๆ คน
  18. เครื่องปั๊มนมมีกล่องหรือกระเป๋าใส่อุปกรณ์ที่สะดวกในการพกพาหรือไม่
  19. ในการใช้งานเครื่องปั๊มนม มารดาต้องใช้สองมือในการปั๊มนมหรือไม่
  20. เครื่องปั๊มนมนี้ใช้งานได้จริงและคุ้มค่าคุ้มราคาหรือไม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

เทคนิคในการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ

hand expression13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? วิธีการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือเป็นวิธีพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริมใดๆ ประหยัด สะดวก และเหมาะกับยุคเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ มีขั้นตอนดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด พร้อมเตรียมภาชนะใส่นมอาจเป็นแก้วน้ำ หรือถ้วยชามที่สะอาดก็ได้
  • มารดาควรนึกถึงภาพทารกและการให้นมทารก อาจใช้ภาพถ่าย การบันทึกเสียงหรือผ้าที่ใช้ห่อตัวทารกเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนม
  • นวดเต้านมจากด้านนอกเข้าหาหัวนม อาจใช้ผ้าอุ่นประคบราว 5 นาทีเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลเวียนได้ดี
  • วางนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านบน ขณะที่นิ้วที่เหลืออยู่ทางด้านล่าง โดยระยะห่างจากฐานของหัวนมประมาณ 3 เซนติเมตร กดที่หัวแม่มือและนิ้วที่เหลือลงไปที่หน้าอกก่อน แล้วออกแรงบีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วที่เหลือเข้าหากัน บีบไล่น้ำนมจากท่อน้ำนมที่อยู่ใต้นิ้วมือไปที่หัวนม บีบน้ำนมจนหมด แล้วหมุนมือเปลี่ยนที่ไปรอบๆ เต้านมเพื่อบีบน้ำนมที่ท่อน้ำนมที่เหลือจนเกลี้ยงเต้า ไม่ควรใช้นิ้วมือบีบเฉพาะบริเวณหัวนม
  • กระบวนการบีบเก็บน้ำนมจากสองเต้า ใช้เวลาราว 20-30 นาที
  • เก็บน้ำนมจากภาชนะใส่ถุงเก็บน้ำนม ควรเขียนชื่อของมารดา วันที่ที่เก็บ เพื่อความสะดวกในการเลือกนำมาใช้ และความปลอดภัยในการเก็บรักษา จากนั้นเก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น แต่หากไม่มีตู้เย็น สามารถใส่ในกระติกหรือกระเป๋าเก็บความเย็นที่ใส่น้ำแข็งไว้ขณะที่อยู่ที่ทำงานหรือต้องเดินทาง แล้วนำกลับบ้านหลังเลิกงาน

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

การเตรียมตัวของมารดาที่ให้นมบุตรเมื่อต้องกลับไปทำงาน ตอนที่2

IMG_1728

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเตรียมความพร้อมที่ทำงาน

-จดรายชื่อเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ เพื่ออาจใช้ในการขอคำปรึกษา

? ? ? ? ?-หากสามารถบริหารจัดการได้ ควรเริ่มการกลับมาทำงานโดยเริ่มทำงานในช่วงที่สั้นๆ ก่อนแล้วค่อยๆ ปรับเป็นเต็มเวลา หากทำได้

? ? ? ? ?-การเริ่มกลับไปทำงาน หากมารดาต้องทำงานในวันจันทร์ถึงศุกร์ ควรเลือกที่จะเริ่มกลับมาทำงานในวันพฤหัสหรือวันศุกร์ก่อน เพื่อการทำงานในระยะแรกจะทำงานเพียง 1-2 วันแล้วถึงวันหยุด ซึ่งมารดาจะสามารถกลับมาวางแผนการปรับตัวสำหรับการทำงานและการให้นมลูก

? ? ? ? ?-มารดาควรให้นมลูกกินนมแม่ก่อนออกไปทำงาน และหลังจากกลับมาจากการทำงาน เมื่อมารดาและทารกได้อยู่ด้วยกัน

? ? ? ? ? -ควรให้ทารกกินนมแม่ตามความต้องการในช่วงเวลาเย็นและกลางคืน โดยมารดาและทารกควรอยู่ห้องเดียวกัน ใกล้ๆ กัน เพื่อมารดาสามารถสังเกตอาการหิวของทารกและให้นมได้บ่อยครั้งตามต้องการ และควรทำการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ

? ? ? ? ?-หากมารดาต้องใช้เครื่องปั๊มนม ควรทำความสะอาดเครื่องปั๊มนมและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันไว้ก่อนเวลาที่จำเป็นต้องใช้

? ? ? ? ? -เตรียมกระเป๋าหรือกระติกเก็บความเย็นที่จะใช้สำหรับเก็บน้ำนมที่บีบเก็บหรือปั๊มได้กลับบ้าน และสำรวจอุปกรณ์ที่มีสนับสนุนการบีบเก็บน้ำนมในที่ทำงาน เช่น เครื่องปั๊มนม ถุงเก็บน้ำนม ตู้เย็นหรือตู้แช่สำหรับแช่น้ำนมที่บีบเก็บ

? ? ? ? ? ?-ถ่ายรูปลูก บันทึกเสียงหรือใช้ผ้าห่อตัวทารกของลูกที่มีกลิ่นทารก เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นการไหลของน้ำนมในการบีบเก็บน้ำนมหรือการปั๊มนม

? ? ? ? ? -เตรียมเสื้อผ้ามาสำรองเพื่อใช้ในกรณีที่มีน้ำนมไหลแฉะหรือเลอะเปรอะ

? ? ? ? ?-ควรเตรียมเสื้อนอกหรือแจ็กแก็ตที่ใส่คลุมข้างนอกเพื่อช่วยปิดปังการไหลของน้ำนมเลอะเสื้อหากจำเป็น

? ? ? ? ?-ควรเลือกเสื้อผ้าที่เป็นชุดแยกกันระหว่างเสื้อกับกระโปรงหรือกางเกง หรือชุดที่สามารถจะเปิดเพื่อการบีบเก็บน้ำนมหรือปั๊มนมได้สะดวก

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

การเตรียมตัวของมารดาที่ให้นมบุตรเมื่อต้องกลับไปทำงาน ตอนที่1

IMG_1588

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การทำงานของสตรีมีความจำเป็นมากขึ้น เมื่อสตรีทำงานนอกบ้าน หากอยู่ในช่วงที่ให้นมบุตร การเตรียมตัวสำหรับการกลับไปทำงานจึงมีความจำเป็น ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับมารดาที่ให้นมบุตรเมื่อต้องกลับไปทำงาน มีดังนี้

การเตรียมตัวก่อนการกลับไปทำงาน

? ? ? ? ? ?-ลาพักเพื่อเลี้ยงดูบุตร และให้ลูกกินนมแม่นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

? ? ? ? ? ?-ประสานงานกับนายจ้างหรือบริษัทก่อนวันที่ต้องกลับไปทำงาน

? ? ? ? ? ?-หากเป็นไปได้ ควรมีการเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนการลาพักเพื่อเลี้ยงดูบุตร

? ? ? ? ? ? -ควรมีการฝึกการบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนม 2 สัปดาห์ก่อนการกลับไปทำงาน

? ? ? ? ? ? -ควรมีการเริ่มการบีบเก็บน้ำนมตั้งแต่ในระยะแรก เพื่อให้มีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ

? ? ? ? ? ? -ควรมีการเตรียมการให้นมแม่แก่ทารกด้วยทางเลือกอื่นๆ ที่อาจทำได้ ได้แก่ การป้อนนมแม่ด้วยถ้วย หรืออาจใช้ขวดนมหากมีความจำเป็น

? ? ? ? ? ? -ทดลองป้อนทารกด้วยถ้วยหลายๆ ลักษณะและสังเกตว่าทารกชอบลักษณะไหน เช่นเดียวกับการเลือกใช้จุกนมและขวดนมหากมีความจำเป็น

? ? ? ? ? ? -พยายามให้สามีหรือญาติที่ช่วยดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลทารกและงานบ้าน เพื่อให้มีความพร้อมเมื่อจำเป็นต้องช่วยในการให้นมลูกขณะที่มารดาต้องกลับไปทำงาน

? ? ? ? ? ? -ควรจัดเวลาเตรียมการให้ทารกได้อยู่กับผู้เลี้ยงดูในช่วงสั้นๆ ก่อนมารดากลับไปทำงาน เพื่อดูว่าผู้ดูแลสามารถจัดการดูแลทารกได้ตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่

? ? ? ? ? ? -ควรจะมีการฝึกทักษะการป้อนนมด้วยถ้วยให้แก่ผู้ดูแล รวมทั้งในฝึกการเตรียมนมและป้อนนมด้วยขวดนม หากมีความจำเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.