คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

ลดการเจ็บปวดของลูกจากการฉีดวัคซีนด้วยนมแม่ได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?บ่อยครั้งที่แม่มักรู้สึกกังวลเมื่อลูกร้องหลังจากการฉีดวัคซีน เพราะว่าเสียงลูกร้องมักสร้างความสะเทือนใจและหวั่นวิตกแก่แม่ได้ ด้วยความรักและผูกพันระหว่างแม่กับลูก แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นเสียงร้องไห้จากการฉีดวัคซีนที่ล่วงรู้มาก่อนแล้วก็ตาม แต่แม่บางคนก็รู้สึกว่าต้องร้องไห้ตามเสียงร้องของลูกอยู่นั่นเอง ซึ่งการลดความเจ็บปวดให้กับลูกจากการฉีดวัคซีนนั้น มักไม่มีการใช้ยาแก้ปวดหรือยาชา การให้กินนมแม่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่มีการศึกษาวิจัยแล้วว่าสามารถช่วยลดความเจ็บปวดของทารกจากการฉีดวัคซีนได้1 โดยที่การให้นมลูกนอกจากจะลดความเจ็บปวดแก่ลูกแล้ว ยังสร้างความสงบและอบอุ่นแก่ลูกด้วย ประโยชน์ของนมแม่ในเรื่องนี้มีอย่างชัดเจนโดยไม่มีข้อเสียหรืออาการข้างเคียงใด ๆ ซ้ำยังเพิ่มความรักความผูกพันของแม่กับลูกยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Zurita-Cruz JN, Rivas-Ruiz R, Gordillo-Alvarez V, Villasis-Keever MA. Breastfeeding for acute pain control on infants: a randomized controlled trial. Nutr Hosp 2017;34:301-7.

 

ความหมายที่ชัดเจนของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ควรใส่ใจ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หมายถึง พฤติกรรมร่วมสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกในการป้อนนมจากเต้าของแม่ให้แก่ลูก โดยความหมายนี้เป็นความหมายตามที่คาดคะเนตามประกาศขององค์การอนามัยโลกถึงสิทธิของทารกที่จะได้รับนมจากเต้านมของแม่ อย่างไรก็ตาม ความหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คงขาดความชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไป เพราะว่า การพัฒนาเครื่องปั๊มนมที่แม่สามารถจัดหามาเก็บน้ำนมแล้วป้อนน้ำนมให้ลูกด้วยการป้อนด้วยขวดนมหรือป้อนด้วยถ้วย ดังนั้น ในการให้นมแม่จึงไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการกินนมจากเต้าแม่เท่านั้น ยังหมายถึงการป้อนนมแม่ที่ได้จากเต้าด้วยขวดนมหรือถ้วยด้วย แม้ในกรณีที่หยุดให้นมจากเต้าของแม่แล้ว แต่ยังมีนมที่บีบเก็บไว้ให้ได้อีกหลายเดือน1

? ? ? ? ? ? ? ?การกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความจำเป็น คำที่นิยมใช้และควรกำหนดเป็นมาตรฐาน1 ได้แก่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากเต้า (feeding at the breast หรือ at-the-breast feeding) หมายถึง พฤติกรรมของแม่ในการให้นมลูกจากเต้านม โดยไม่รวมแม้ว่าจะเป็นการให้นมแม่จากการป้อนนมวิธีอื่น

นมแม่ที่บีบเก็บ (expressed breast milk) หมายถึง น้ำนมแม่ที่ได้จากการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนม

นมแม่ที่บริจาค (donated breast milk) หมายถึง น้ำนมแม่ที่มีการบีบเก็บและมีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อบางโรค โดยแม่ได้บริจาคให้แก่ธนาคารนมแม่

นมแม่ที่แบ่งปัน (shared breast milk) หมายถึง น้ำนมแม่ที่มีแบ่งปันให้กับทารกของแม่คนอื่นโดยไม่ได้มีการคิดเงินจากการนมแม่ที่มีการแบ่งปัน ซึ่งนมแม่ที่แบ่งปันนี้จะไม่มีการคัดกรองการติดเชื้อเหมือนการบริจาคเข้าธนาคารนมแม่

นมแม่ที่จัดซื้อ (purchased breast milk) หมายถึง น้ำนมแม่ที่ได้รับจากแม่ของทารกคนอื่นจากการซื้อขาย นมแม่ที่ได้จากการซื้อขายนี้จะไม่มีการคัดกรองการติดเชื้อเหมือนการบริจาคเข้าธนาคารนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Rasmussen KM, Felice JP, O’Sullivan EJ, Garner CD, Geraghty SR. The Meaning of “Breastfeeding” Is Changing and So Must Our Language About It. Breastfeed Med 2017;12:510-4.

กัญชา ปัญหาในวัยรุ่นและระหว่างการให้นมบุตร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบัน ด้วยสภาพสังคมที่เร่งเร้าและแข่งขันกันอย่างมาก สร้างความกดดันและเพิ่มความเครียดให้แก่คนในสังคมมากขึ้นโดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งยังขาดความมั่นคงทางอารมณ์และมีแนวโน้มที่จะถูกชักจูงในการใช้ยาหรือสารเสพติดต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย การใช้ยาหรือสารเสพติดเพื่อการผ่อนคลายหรือให้ความสนุกสนานจึงพบมากขึ้น เช่น การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ การสูบบุหรี่ การใช้ยาบ้า ยาอี รวมทั้งการใช้กัญชาโดยเพื่อตอบสนองต่อภาวะเครียดที่ไม่รู้จะหาทางออกหรือระบายความอัดอั้นในใจต่าง ๆ ได้อย่างไรผสมไปกับการชักจูงโดยกลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาหรือสารเสพติดเหล่านี้อยู่แล้ว ทำให้มีแนวโน้มของการใช้ยาหรือสารเสพติดเพื่อการผ่อนคลายเกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นขณะที่ร่างกายได้รับยาหรือสารเสพติดเหล่านี้ จะมีการกระตุ้นประสาทที่ทำให้เกิดอาการคึกคักหรือสนุกสนานและการกดระบบประสาทที่ทำให้ซึมหรือมึนงง โดยยาหรือสารเสพติดบางชนิดอาจมีฤทธิ์ในการหลอนประสาทด้วย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดขาดการยับยั้งชั่งใจ การมีเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์โดยขาดความตั้งใจเป็นผลติดตามมาได้

??????????? กัญชาเป็นสารเสพติดชนิดหลอนประสาท โดยออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในตอนต้น กดและหลอนประสาทเมื่อได้รับปริมาณขนาดที่เพิ่มขึ้น ในบางประเทศเช่น โคลัมเบีย และบางรัฐในสหรัฐอเมริกา การใช้กัญชาในรูปแบบเพื่อการผ่อนคลายหรือให้ความสนุกสนานไม่ผิดกฎหมาย ประเทศไทยซึ่งมีลัทธิตามอย่างประเทศเสรีนิยมจึงเริ่มพบการใช้สารเหล่านี้เพิ่มขึ้นในวัยรุ่นรวมถึงพบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยไม่ได้ตั้งใจสูงขึ้นด้วย กัญชาสามารถตรวจพบในร่างกายของผู้เสพหรือใช้ได้ราว 1 สัปดาห์หลังการใช้ หากใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรย่อมเกิดผลเสียต่อทั้งมารดาและทารกอย่างแน่นอน แม้ว่าโทษของกัญชาจากข้อมูลการศึกษาวิจัยในผลของการใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังมีข้อมูลที่น้อยและขาดการยืนยัน1-3 เนื่องจากหากมารดาใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรย่อมมีช่วงเวลาที่ขาดสติและมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกได้ ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือ การงดหรือการลดการใช้ลงด้วยการยับยั้งชั่งใจ และความใส่ใจในสุขภาพอย่างน้อยก็เพื่อสุขภาพของลูกที่จะเกิดและเจริญเติบโตขึ้น โดยคงไม่มีมารดาคนใดที่จะเจตนาสร้างความพิกลพิการแก่ระบบประสาทและสติปัญญาของลูกน้อยที่จะเป็นตราบาปที่คงอยู่ตราบเท่าชีวิตที่คงอยู่ของคนทั้งสอง

เอกสารอ้างอิง

  1. Eidelman AI. Marijuana/Cannabis Use and Breastfeeding: A Clinical Dilemma. Breastfeed Med 2017;12:579.
  2. Mourh J, Rowe H. Marijuana and Breastfeeding: Applicability of the Current Literature to Clinical Practice. Breastfeed Med 2017;12:582-96.
  3. Anderson PO. Cannabis and Breastfeeding. Breastfeed Med 2017;12:580-1.

?

โภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร2

รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ

? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม มีสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่บางชนิดที่ควรมีข้อมูลของประเทศไทย เพื่อให้ข้อแนะนำว่า ควรมีการเสริมสารอาหารเหล่านี้ในระหว่่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหรือไม่ ได้แก่

? ? ? ? ? ? ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันที่สำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของสมอง ในสหรัฐอเมริกามีข้อแนะนำว่าสตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรได้รับการเสริมดีเอชเอ โดยมักพบในอาหารจำพวกปลา มีการแนะนำชนิดของปลาและปริมาณที่เหมาะสมที่ควรเลือกรับประทานในแต่ละวัน

? ? ? ? ? แคลเซียม แม้ว่าในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ความต้องการแคลเซียมจะไม่เพิ่มขึ้น แต่ความต้องการแคลเซียมในแต่ละวันของสตรี ส่วนใหญ่จะรับประทานไม่ครบตามความต้องการ พิจารณาอาหารที่ให้ปริมาณที่ให้แคลเซียมใกล้เคียง นม 1 แก้ว (มีแคลเซียม 226 มิลลิกรัม) ได้แก่

  • โยเกิร์ต รสธรรมชาติ 1 ถ้วย (มีแคลเซียม = 240 มก.)
  • นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม 1 กล่อง (มีแคลเซียม = 108 มก.) ต้องรับประทาน 2 กล่อง
  • นมถั่วเหลือง สูตรธรรมดา (มีนมผสม) 1 กล่อง (มีแคลเซียม = 60 มก.) ต้องรับประทาน 4 กล่อง
  • น้ำเต้าหู้ 1 แก้ว (มีแคลเซียม = 8 มก.) ต้องรับประทาน 25 แก้ว
  • เต้าหู้ขาวหลอด ? หลอด (มีแคลเซียม = 59 มก.) ต้องรับประทาน 2 หลอด
  • เต้าหู้ไข่หลอด ? หลอด (มีแคลเซียม = 12 มก.) ต้องรับประทาน 10 หลอด
  • ผักคะน้าผัด ? ถ้วยตวง (มีแคลเซียม = 71) ต้องรับประทาน 1? ถ้วยตวง
  • ผักตำลึงต้ม ? ถ้วยตวง (มีแคลเซียม = 31) ต้องรับประทาน 3? ถ้วยตวง
  • งาดำคั่ว 1 ช้อนชา (มีแคลเซียม = 44 มก.) ต้องรับประทาน 5 ช้อนชา

? ? ? ? ? ? ?สตรีจึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อให้เพียงพอในระยะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

? ? ? ? ? ?วิตามินดี มีความสำคัญต่อกระดูกและภูมิคุ้มกันต่อต้านโรค ในสหรัฐอเมริกามีข้อแนะนำการเสริมวิตามินดีในมารดาที่ตั้งครรภ์ และทารกแรกเกิดด้วย ในประเทศไทยพบสตรีในกรุงเทพมหานครมีภาวะขาดวิตามินดีร้อยละ 24-75 โดยภาพรวมของประเทศพบภาวะขาดวิตามินดี 9-57

? ? ? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ มารดาควรหลีกเลี่ยงการรับประทานคาเฟอีน ที่พบในกาแฟ ชา น้ำอัดลมโคลา ช็อคโกแลต เครื่องดื่มบำรุงกำลัง คาเฟอีนผ่านจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ และน้ำนมแม่ได้ จาก Meta-analysis พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่บริโภคคาเฟอีน >300 มก./วัน (กาแฟวันละ 3 แก้ว) มีความเสี่ยงต่อการแท้งเพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงต่อการมีลูก low birth weight เพิ่มขึ้นเป็น 1.3-2.1 เท่า อายุของยาครึ่งชีวิตหรือ Half-life ในทารก (newborn: 96 hr, 3-5 month-old baby: 14 hr) ยาวกว่าผู้ใหญ่ (5 hr) มาก ทำให้กำจัดคาเฟอีนได้ช้าและเกิดผลเสียแก่ทารก แม่ที่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือดื่มเพียงเล็กน้อย เช่น รวมกันไม่เกิน 200 มก./วัน (กาแฟประมาณ 2 แก้ว) ถ้ามากเกินไป ลูกจะมีอาการกระวนกระวาย สั่น นอนไม่หลับ

? ? ? ? ? ? สรุป โภชนาการของแม่ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมลูกสำคัญมากต่อสุขภาพแม่และทารก แม่ต้องการอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนเพิ่มขึ้นอย่างพอเหมาะ ต้องการวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดเพิ่มขึ้น และต้องเสริมยาเม็ดธาตุเหล็ก ไอโอดีน กรดโฟลิค อาหารที่มารดารับประทานต้องสะอาดและปลอดภัย ไม่แนะนำให้แม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกงดอาหารบางประเภทเพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้ในลูก และควรมีการทบทวนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของวิตามินดีในทารกเพื่อหาแนวทางป้องกันการขาดวิตามินดี

ที่มาจาก การประชุมเรื่องโภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560

 

 

 

โภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร 1

รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ

????????? ความสำคัญของภาวะโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ที่มีผลทั้งสุขภาพมารดาและทารก โดยในสตรีตั้งครรภ์ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น โปรตีน แร่ธาตุและวิตามินบางชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการขาด พลังงานต้องการเพิ่มขึ้น 475 กิโลแคลอรีต่อวัน โปรตีนต้องการเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสที่หนึ่ง 0.5 กรัมต่อวัน ไตรมาสที่สอง 7.7 กรัมต่อวัน และไตรมาสที่สาม 24.9 กรัมต่อวัน วิตามินเอต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 200 RE โฟเลทต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 200 ไมโครกรัม เหล็กต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 60 มิลลิกรัม ไอโอดีนต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 50 ไมโครกรัม

? ? ? ? ? ?สตรีที่ให้นมบุตรต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 500 กิโลแคลอรีต่อวันในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด และต้องการ 460 กิโลแคลอรีต่อวันในเดือนที่หกถึงเดือนที่สิบสองหลังคลอด โปรตีนเพิ่มขึ้นในหกเดือนแรกหลังคลอดราว 14-16 กรัมต่อวัน และในช่วงหกเดือนถึงสิบสองเดือนหลังคลอด 10 กรัมต่อวัน วิตามินเอต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 375 RE โฟเลทต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 100 ไมโครกรัม เหล็กต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 15 มิลลิกรัม ไอโอดีนต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 50 ไมโครกรัม

? ? ? ? ? ?กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายในการเสริมไอโอดีนให้แก่สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ตั้งแต่ ปี 2553 โดยจัดให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนฟรี จนถึงระยะให้นมบุตรถึง 6 เดือน ยาที่ให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาเม็ดวิตามินและเกลือแร่สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ได้แก่ Triferdine 150 ประกอบด้วย ไอโอดีน 150 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัมและโฟเลท 400 ไมโครกรัม หรือพิจารณา Iodine GPO 150 ประกอบด้วยไอโอดีน 150 ไมโครกรัมใช้สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดที่เป็นโรคธาลัสซีเมียรุนแรงและเสี่ยงต่อการได้ธาตุเหล็กมากเกินไป

? ? ? ? ? ?อาหารปกติที่สตรีควรรับประทานควรพิจารณาตามธงโภชนาการ ได้แก่ ข้าว วันละ 8-12 ทัพพี ผัก วันละ 4-6 ทัพพี ผลไม้ วันละ 3-5 ส่วน นม วันละ 2-3 แก้ว เนื้อสัตว์ วันละ 6-12 ช้อนโต๊ะ และน้ำมัน น้ำตาล เกลือ วันละน้อย ๆ

? ? ? ? ? สำหรับตัวอย่างอาหารที่ควรเพิ่มใน 1 วันสำหรับแม่ที่ให้นมลูก (ประมาณ 500 กิโลแคลอรี โปรตีน 20 กรัม) ได้แก่ นม 1 แก้ว ข้าวสวย 2 ทัพพี เนื้อสัตว์สุก 3 ช้อนโต๊ะ ผักและผลไม้ อย่างละ 1-2 ส่วน หรือ นม 1 แก้ว และก๋วยเตี๋ยวน้ำ 1 ชาม

ที่มาจาก การประชุมเรื่องโภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560