คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

ลักษณะทารกที่ปฏิเสธเต้านมจากการติดจุกนม

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องอยู่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต มักได้รับการป้อนนมด้วยจุุกนมจากขวดและติดจุกนม เมื่อมาให้นมจากเต้า ทารกอาจจะปฏิเสธการดูดนมจากเต้า เนื่องจากการดูดนมจากเต้า ทารกต้องอ้าปากกว้าง อมหัวนมและลานนมลึก ร่วมกับใช้ลิ้นดุนหรือกดไล่นมจากบริเวณลานนม ซึ่งกลไกการดูดนมจะยากกว่าการดูดนมจากจุกนมที่ทารกจะอมจุกนมเพียงตื้น ๆ มักเรียกภาวะที่ทารกปฏิเสธการดูดจากเต้านี้ว่า การสับสนหัวนม (nipple confusion)

การจับลูกเรอหลังกินนมในท่านั่ง

หลังทารกกินนมทุกครั้ง ควรมีการจับลูกให้เรอ ในวิดีโอนี้จะแสดงถึงวิธีการจับลูกเรอท่านั่ง โดยใช้มือประคองบริเวณคอของทารก แต่จะไม่กดหรือบีบบริเวณลำคอทารก จากนั้นจัดท่าทารกให้น่ังและลูบบริเวณหลังของทารก

ลูกประคบช่วยลดอาการตึงคัดเต้านมได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัญหาตึงคัดเต้านมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในมารดาหลังคลอดบุตร ซึ่งหากดูแลจัดการไม่เหมาะสมอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีผลทำให้มารดาหยุดให้นมแม่ได้ อาการตึงคัดเต้านมมักพบในช่วงแรกหลังคลอดเกิดจากการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองที่บริเวณเต้านมร่วมกับมีน้ำนมส่วนหนึ่งขังอยู่ในเต้านมด้วย ดังนั้น หลักการรักษาการตึงคัดเต้านมคือ ดูแลให้มีการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองบริเวณเต้านมให้ดีขึ้น ระบายน้ำนมออกจากเต้านม ร่วมกับให้ยาบรรเทาอาการปวดหรือยาลดไข้ การดูแลให้มีการไหลเวียนของเลือด น้ำเหลือง และมีการระบายของน้ำนมที่ดี การใช้ความร้อนประคบเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ ในประเทศไทยมีภูมิปัญญาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดที่ใช้มานานตั้งแต่สมัยโบราณ ได้แก่ การใช้ลูกประคบ ได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมพบว่า การใช้ลูกประคบสามารถช่วยลดอาการตึงคัดเต้านมได้1 เหตุผลน่าจะมาจากความร้อนที่ใช้ในการประคบร่วมกับสมุนไพรที่มีอยู่ในลูกประคบช่วยบรรเทาอาการปวด อย่างไรก็ตาม ควรยึดหลักในการรักษาอาการตึงคัดเต้านมพร้อมกันไปด้วย คือ ประคบร้อนก่อน แล้วให้ลูกกระตุ้นดูดนม จากนั้นจึงประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดเลือดหรือน้ำเหลืองที่จะเข้ามาคั่งบริเวณเต้านมเพิ่ม การเข้าใจหลักการในการดูแลรักษาอาการตึงคัดเต้านมจะทำให้ลดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนที่จะเป็นอุปสรรคในการให้ลูกกินนมแม่ต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Ketsuwan S, Baiya N, Paritakul P, Laosooksathit W, Puapornpong P. Effect of Herbal Compresses for Maternal Breast Engorgement at Postpartum: A Randomized Controlled Trial. Breastfeed Med 2018;13:361-5.

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับการคุมกำเนิด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาพบเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของไทยพบร้อยละ 14.81 การคุมกำเนิดถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาของคุณศิณัฐชานันท์ วงษ์อินทร์ ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่ามารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องเพศศึกษาและการคุมกำเนิด สาเหตุของการมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดจากการอยากลอง สถานที่ที่เกิดการมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บ้านตนเองหรือบ้านเพื่อน แม้มารดาวัยรุ่นที่ศึกษาจะขาดความรู้ แต่พบว่ามีทัศนคติที่ดีต่อการคุมกำเนิด ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์ช่วยส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรู้เรื่องเพศศึกษาและการคุมกำเนิดที่ถูกต้องเหมาะสม น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.