คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

ประโยชน์ของนมแม่ต่อสุขภาพมารดา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? เป็นที่ทราบกันดีว่านมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด แต่ในเรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อมารดานั้น บางคนอาจยังไม่ทราบรายละเอียดหรือยังอาจคิดไม่ถึง ประโยชน์ของนมแม่ต่อมารดานั้นมีหลากหลายตั้งแต่ผลในระยะสั้นจะช่วยลดการตกเลือดหลังคลอด ช่วยให้น้ำหนักมารดากลับมาสู่ระยะก่อนการตั้งครรภ์ได้เร็ว ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ให้มีบุตรชิดกันเกินไปโดยสามารถใช้เป็นวิธีการคุมกำเนิดหลังคลอด สำหรับประโยชน์ในระยะยาวนั้น การให้นมลูกจะช่วยป้องกันหรือลดการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก ลดการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มอาการทางเมตาบอลิกและโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจช่วยในเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและมวลกระดูก แต่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน1

เอกสารอ้างอิง

  1. Abou-Dakn M. [Health effects of breastfeeding on the mother]. Bundesgesundheitsblatt Gesundheitsforschung Gesundheitsschutz 2018.

วิตามินดียังมีความจำเป็นต้องเสริมในทารกที่กินนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ความสำคัญของวิตามินดีในทารกแรกเกิดจะช่วยในเรื่องการสร้างกระดูก การดูดซึมแคลเซียม และระบบภูมิคุ้มกัน เช่นเดียวกันกับวิตามินหรือแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ ก็คือ ความจำเป็นในการเสริมวิตามินดีขึ้นอยู่กับภาวะขาดวิตามินดีในทารกหรือการขาดวิตามินดีในมารดาที่จะทำให้ทารกมีโอกาสเสี่ยงที่จะขาดวิตามินดีด้วย ?มีการศึกษาในการขาดวิตามินดีในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบว่ามีภาวะขาดวิตามินดีในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร การแนะนำการเสริมวิตามินดีขึ้นอยู่กับข้อมูลสภาวะวิตามินดีในมารดาของประเทศหรือแต่ละพื้นที่นั้น ๆ ในพื้นที่ยุโรปหรืออเมริกาที่มีสภาพแสงแดดน้อย การสร้างวิตามินดีในร่างกายด้วยตนเองจึงมีน้อย โอกาสที่จะพบภาวะขาดวิตามินดีจึงสูง สำหรับในประเทศไทยที่มีเป็นประเทศในเขตร้อนที่มีแสงแดดจัด แต่มีวัฒนธรรมหรือค่านิยมที่ปฏิบัติในสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่หลีกเลี่ยงแสงแดด ทาครีมกันแดดและทำงานในสำนักงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น ซึ่งพบภาวะขาดวิตามินดีในสตรีตั้งครรภ์ด้วย ดังนั้น ควรแนะนำการเสริมวิตามินดีในทารกแรกเกิดในขนาด 10-20 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 400-800 ยูนิตต่อวันในช่วงหนึ่งปีแรก โดยหากมีข้อจำกัดหรือข้อห้ามในการเสริมวิตามินดีในทารกโดยตรง อาจพิจารณาให้เสริมวิตามินดีในมารดาที่ให้นมบุตรก็ทำได้ โดยให้ขนาด 160 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 6400 ยูนิตต่อวัน เพื่อให้ได้ขนาดตามความต้องการของทารกและมารดา1

เอกสารอ้างอิง

  1. Taylor SN. ABM Clinical Protocol #29: Iron, Zinc, and Vitamin D Supplementation During Breastfeeding. Breastfeed Med 2018;13:398-404.

ความจำเป็นในการเสริมธาตุสังกะสีในทารกที่กินนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ความสำคัญของธาตุสังกะสีในทารกแรกเกิดจะช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของทารกและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ความจำเป็นของการเสริมธาตุสังกะสีในทารกที่กินนมแม่นั้นขึ้นอยู่กับการขาดธาตุสังกะสีของทารกแรกเกิดหรือทารกที่มารดาที่ให้นมลูกมีภาวะขาดสังกะสี ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงในปริมาณของธาตุสังกะสีในทารกที่กินนมแม่ลดลง ทำให้ทารกมีโอกาสที่จะขาดธาตุสังกะสีได้ มีการศึกษาว่าการเสริมธาตุสังกะสีในมารดาที่ให้นมลูกจะสามารถเพิ่มปริมาณธาตุสังกะสีในทารกได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการศึกษาถึงภาวะขาดธาตุสังกะสีในมารดาที่ให้นมลูกในแต่ละพื้นที่รวมทั้งในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกานั้น การเสริมธาตุสังกะสีในมารดาที่ให้นมแม่หรือทารกที่กินนมแม่ไม่แนะนำ1 เนื่องจากไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทารกจากการเสริมธาตุสังกะสี การที่จะให้คำแนะนำสำหรับประเทศไทยคงต้องอาศัยการศึกษาวิจัยเพื่อให้การแนะนำทำภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งต้องการบุคลากรที่มีบทบาททางด้านนี้หรือผู้ที่สนใจเก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Taylor SN. ABM Clinical Protocol #29: Iron, Zinc, and Vitamin D Supplementation During Breastfeeding. Breastfeed Med 2018;13:398-404.

การเสริมธาตุเหล็กในมารดาที่ให้นมลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?

? ? ? ? ? ? ? ความสำคัญของธาตุเหล็กในทารกแรกเกิดนอกจากช่วยในเรื่องของการสร้างเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กยังช่วยในพัฒนาการทางด้านพฤติกรรมและระบบประสาทของทารกแรกเกิดอีกด้วย โดยทั่วไปสมองของทารกจะมีการเจริญเติบโตมากใน?1-2?ปีแรก?ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงมีผลต่อการพัฒนาการของสมองของทารก ในทารกที่คลอดครบกำหนด ทารกมักจะมีการสะสมธาตุเหล็กพอเพียงใน?4-6?เดือนแรก การเสริมธาตุเหล็กจึงแนะนำหลังช่วงหกเดือนเป็นต้นไป?แต่ในมารดาที่มีการขาดธาตุเหล็ก ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยจะมีความเสี่ยงที่จะพบการขาดธาตุเหล็กตั้งแต่ในระยะแรกได้?การเสริมธาตุเหล็กจึงควรเสริมในระยะแรกด้วย มีการศึกษาถึงการเสริมธาตุเหล็กให้กับมารดาในระหว่างการให้นมลูก พบว่าช่วยให้ทารกมีธาตุเหล็กสะสมเพิ่มขึ้น ขณะที่การเสริมธาตุเหล็กในทารกโดยตรง พบว่าความยาวของทารกและเส้นรอบวงของศีรษะทารกเพิ่มขึ้น ดังนั้นในทารกที่ไม่มีความเสี่ยง การเสริมธาตุเหล็กแนะนำให้เสริมในอาหารเสริมตามวัยหลังทารกอายุหกเดือน โดยเสริมอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง?ได้แก่ เนื้อสัตว์ เต้าหู้ และถั่วในอาหารเสริมตามวัยในทารกแรกเกิด1?

เอกสารอ้างอิง?

1.Taylor SN. ABM Clinical Protocol #29: Iron, Zinc, and Vitamin D Supplementation During Breastfeeding. Breastfeed Med 2018;13:398-404.?

??

การให้คำปรึกษาเรื่องเอชไอวีในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?

? ? ? ? ? ? ? ? การติดเชื้อเอชไอวีนั้นจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปมักรับรู้และทราบจากสื่อที่มีการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่จะนำไปสู่การเกิดโรคเอดส์?(AIDS)?แต่การสื่อสารที่ยังมีความจำเป็น สำคัญ และเป็นบทบาทที่สำคัญของบุคลากรทางการแพทย์อีกส่วนหนึ่งก็คือ การให้คำปรึกษาและให้ความรู้แก่มารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร สามี และคู่นอนถึงการติดเชื้อเอชไอวีที่จะมีโอกาสเพิ่มขึ้นในระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์ รวมทั้งการติดเชื้อผ่านไปสู่ลูกจะสูงขึ้น หากมีการติดเชื้อเอชไอวีในช่วงระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมลูก1?ดังนั้นสิ่งนี้จึงมีความจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจแก่มารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกพร้อมคู่นอนเข้าใจถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีควรต้องมีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีในระหว่างการฝากครรภ์ โดยการให้ข้อมูลถึงคู่นอนตามความเป็นจริง รวมทั้งพฤติกรรมทางแพทย์ที่มีความเสี่ยง?จะทำให้แพทย์ให้คำแนะนำในการตรวจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม?

เอกสารอ้างอิง?

1.Chi BH, Rosenberg NE, Mweemba O, et al. Involving both parents in HIV prevention during pregnancy and breastfeeding. Bull World Health Organ 2018;96:69-71.?

??