คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

เอดส์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?แม้ว่าโรคเอดส์?(AIDS)?จะเป็นข้อบ่งห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่?แต่ด้วยข้อจำกัดในการสนับสนุนการให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกจนเจริญวัยมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงมีบางประเทศที่ยังคงแนะนำให้ลูกกินนมแม่ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อลดการเสียชีวิตของทารกจากอาการท้องร่วงและการติดเชื้อในทางเดินอาหาร โดยในยุคที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคนี้?การเรียนรู้จากประสบการณ์การใช้ยาต้านไวรัสในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรจึงยังมีประโยชน์ มีการศึกษาการใช้ยาต้านไวรัสให้ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรพบว่า มารดาที่ได้ยาต้านไวรัสในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีอัตราการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกต่ำกว่ามารดาที่ไม่ใช้ยา1?ดังนั้น การให้ลูกกินนมแม่ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของการให้อาหารในทารกในอนาคต?

เอกสารอ้างอิง?

1.Chi BH, Mutale W, Winston J, et al. Infant HIV-Free Survival in the Era of Universal Antiretroviral Therapy for Pregnant and Breastfeeding Women: A Community-Based Cohort Study from Rural Zambia. Pediatr Infect Dis J 2018.?

??

แม่ที่คลอดบุตรเองมีความผูกพันกับลูกมากกว่าแม่ที่ผ่าตัดคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?

? ? ? ? ? ? ? ? ?ความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก?แม้ว่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ได้มีการศึกษาในแม่ที่มีวิธีการคลอดที่แตกต่างกัน พบว่าแม่ที่คลอดลูกเองมีความผูกพันกับลูกมากกว่าแม่ที่ผ่าตัดคลอด นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของแม่กับลูกกับการประเมินคะแนนการเข้าเต้า?(LATCH score)1?ซึ่งสิ่งนี้น่าจะสะท้อนถึงกระบวนการส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกน่าจะมีเร็วกว่าหรือมากกว่า สมมุติฐานนี้น่าจะเกิดจาก แม่ที่คลอดลูกเองจะให้นมลูกได้เร็วกว่า การที่แม่นำลูกเข้าเต้าได้ดี มีคะแนนการประเมินการเข้าเต้าสูง จะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินได้ดี ฮอร์โมนออกซิโทซินจะมีความสัมพันธ์กับการสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ดังนั้น แพทย์ผู้ดูแลควรให้คำแนะนำแก่แม่ว่า หากแม่สามารถคลอดได้เองจะส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้มากกว่า ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น แต่หากแม่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด การนำลูกมากระตุ้นดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดยิ่งเร็ว น่าจะยิ่งช่วยสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้ดี และยังช่วยให้โอกาสที่แม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า ซึ่งจะมีประโยชน์ที่ดีต่อทั้งแม่และลูก??

เอกสารอ้างอิง?

1.Cetisli NE, Arkan G, Top ED. Maternal attachment and breastfeeding behaviors according to type of delivery in the immediate postpartum period. Rev Assoc Med Bras (1992) 2018;64:164-9.?

??

ทารกคลอดก่อนกำหนดจะกินนมแม่สำเร็จ อะไรเป็นตัวตัดสิน?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลายอย่าง ได้แก่

ปัจจัยด้านทารกในเรื่องอายุครรภ์ที่ยังไม่ครบกำหนด อาจทำให้พัฒนาการของการดูดนมแม่จากเต้าขาดความพร้อม และภาวะแทรกซ้อนที่มีจากการคลอดก่อนกำหนด เช่น การหายใจเร็ว ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะตัวเย็น

ปัจจัยด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดความรู้และทักษะในการให้การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดให้ประสบความสำเร็จในการกินนมแม่จากเต้า และกระบวนการในการดูแลรักษาที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนให้ลูกได้กินนมแม่จากเต้า เช่น การแยกแม่จากลูกโดยไม่กระตุ้นให้มารดามาเยี่ยมลูก ให้มารดามีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นม

ปัจจัยด้านเครื่องมือและสถานที่ บุคลากรทางการแพทย์อาจมีความวิตกกังวลว่าทารกอาจตัวเย็นหรือมีความผิดปกติในขณะที่นำมาโอบกอดเนื้อแนบเนื้อหรือให้นมแม่ โดยการขาดเครื่องมือที่จะประเมินติดตามทารกอย่างเพียงพอจึงทำให้บุคลากรขาดความมั่นใจในการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ?มีการศึกษาถึงว่าอะไรเป็นตัวตัดสินของทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะประสบความสำเร็จในการกินนมแม่จากเต้า พบว่า อายุครรภ์ซึ่งบ่งบอกถึงพัฒนาการต่าง ๆ ที่จะมีความพร้อมในการกินนมแม่ และการให้ทารกได้กินนมแม่จากเต้าตั้งแต่ในครั้งแรกที่เริ่มให้นม1 ซึ่งหากมองดูทั้งสองปัจจัยนี้ ปัจจัยเรื่องอายุครรภ์ที่คลอดออกมาก่อนกำหนด อาจเป็นเรื่องที่ยากในการที่จะลดการคลอดก่อนกำหนดลง แต่การให้โอกาสหรือสนับสนุนให้ทารกได้พยายามดูดนมแม่ตั้งแต่ในครั้งแรกของการเริ่มให้นมนี้อาจทำได้ง่ายกว่า หากมารดาเห็นความสำคัญของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และจัดระบบการดูแลให้เอื้อต่อการเริ่มต้นการกินนมของทารกควรเริ่มจากการให้ทารกกินนมจากเต้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดสูงขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Casey L, Fucile S, Dow KE. Determinants of Successful Direct Breastfeeding at Hospital Discharge in High-Risk Premature Infants. Breastfeed Med 2018.

?

การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวช่วยจุลชีพที่มีประโยชน์ในลำไส้ของทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? เรื่องของจุลชีพที่มีประโยชน์ในลำไส้ของทารกจะมีความเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและควบคุมระบบภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ นอกจากนี้จุลชีพที่อยู่ในลำไส้จะเป็นจุลชีพประจำถิ่นที่ช่วยปกป้องการติดเชื้อจากเชื้อที่จะทำให้เกิดโรค ผลเหล่านี้จึงนำมาสู่การลดการเสียชีวิตของทารกในช่วงระยะแรกหลังคลอด (neonatal death) จากการติดเชื้อในทางเดินอาหารและอาการท้องเสีย และช่วยลดกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ เช่น ผิวหนังอักเสบและหอบหืด มีการศึกษาพบว่านมแม่นั้นจะเป็นพรีไบโอติก (prebiotic) คือเป็นอาหารที่ดีของจุลชีพที่มีประโยชน์เหล่านี้ในลำไส้ ซึ่งจะช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของจุลชีพนี้ในลำไส้ การให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนจะคงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมของจุลชีพที่เหมาะสมในลำไส้ได้จากการติดตามเป็นระยะเวลาหนึ่งปี แต่หากทารกกินนมแม่ร่วมกับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกหรือให้อาหารอื่นก่อนเดือนที่ห้า สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับจุลชีพที่มีประโยชน์จะเปลี่ยนแปลงไป1 ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของทารก สิ่งที่พบนี้น่าจะสนับสนุนข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน จากนั้นกินนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Carvalho R, II, Duarte RTD, Brandt KG, Martinez MB, Taddei CR. Breastfeeding increases microbial community resilience. J Pediatr (Rio J) 2018;94:258-67.

การนอนเตียงร่วมกันช่วยให้ทารกกินนมแม่ได้นานขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ความใกล้ชิดระหว่างมารดาและทารกในการนอนร่วมเตียงเดียวกัน จะช่วยให้มารดาสามารถสังเกตอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกว่าทารกหิว ซึ่งจะทำให้มารดาให้นมลูกได้ตามความต้องการของทารกและมีระยะเวลาการกินนมแม่ที่นานกว่ามารดาที่แยกกันนอนโดยทารกห่างจากมารดาหรืออยู่คนและห้องกับมารดา1 อย่างไรก็ตาม การที่ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาควรต้องจัดสถานที่ให้มีความปลอดภัย ปราศจากร่องหรือช่องที่ทารกอาจพลัดหล่นลงไปได้ หมอนหรืออุปกรณ์บนเตียงที่ใช้กับทารกไม่ควรนุ่มจนเกินไปจนอาจทำให้ทารกจมลงตามน้ำหนักตัวและอุดกั้นการหายใจของทารกได้ ควรหลีกเลี่ยงการใส่ตุ๊กตาลงในที่นอนทารกเพราะส่วนใหญ่จะนุ่มทำให้เสี่ยงอันตรายดังที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจสะสมฝุ่นละอองและดูแลความสะอาดได้ยากขึ้น ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักใช้ฟูกนอน ทารกอาจนอนใกล้หรือบนฟูกที่นอนเดียวกันกับมารดา แต่ควรมีพื้นที่กว้างขวางพอและควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัยเช่นเดียวกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Bovbjerg ML, Hill JA, Uphoff AE, Rosenberg KD. Women Who Bedshare More Frequently at 14 Weeks Postpartum Subsequently Report Longer Durations of Breastfeeding. J Midwifery Womens Health 2018.

?