คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

มารดาที่มีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้มีโอกาสที่สำเร็จมากขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ทัศนคติของมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากมารดามีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะทำให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อมารดามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะส่งผลต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วและมีระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานกว่า1 การที่มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วจะสัมพันธ์กับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น นอกจากนี้ การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วยังส่งผลดีต่อระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย ดังนั้น การสร้างให้มารดามีทัศนคติที่ดีรวมทั้งส่งเสริมให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่จะช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Keddem S, Frasso R, Dichter M, Hanlon A. The Association Between Pregnancy Intention and Breastfeeding. J Hum Lact 2018;34:97-105.

การให้ความรู้แก่คนในครอบครัวช่วยเรื่องนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? คนในครอบครัวที่อยู่ด้วยกันจะมีส่วนร่วมในบทบาทของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด ซึ่งบางคนอาจทำหน้าช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขณะที่บางคนอาจมีทัศนคติที่ไม่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้ตนเองเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่า การให้ความรู้แก่คนในครอบครัวเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงขึ้น1 ซึ่งเหตุผลของการเพิ่มของอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอาจจะเกิดจากการที่มารดาและครอบครัวได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทิศทางเดียวกันทั้งครอบครัว ซึ่งหากครอบครัวมีความเห็นหรือทัศนคติในทิศทางเดียวกัน แนวทางการปฏิบัติของมารดาในระยะหลังคลอดก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ปราศจากข้อขัดแย้งที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ?ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ความให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และทัศนคติของคนในครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อช่วยให้เกิดการสนับสนุนของคนในครอบครัวที่มีความใกล้ชิดที่จะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Ke J, Ouyang YQ, Redding SR. Family-Centered Breastfeeding Education to Promote Primiparas’ Exclusive Breastfeeding in China. J Hum Lact 2018;34:365-78.

 

ควรมีการให้ความรู้เรื่องการปั๊มนมแม่แก่มารดาตั้งแต่ระยะฝากครรภ์

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??การที่มารดาได้กินนมแม่แม้ว่าจะเป็นการให้นมแม่ที่ได้จากการปั๊มนม น้ำนมแม่ที่ได้จากการปั๊มนมก็ยังมีประโยชน์มากกว่าการให้ทารกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก การให้ความรู้เรื่องการปั๊มนมแม่แก่มารดาตั๊งแต่ในระยะฝากครรภ์จึงมีความจำเป็น1?เนื่องจากในมารดาบางคน อาจต้องการให้นมแม่ แต่ยังขาดความรู้ว่าทางเลือกหนึ่งของการให้ทารกได้รับนมแม่สามารถจะได้รับจากการปั๊มนมแม่ เพราะข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยในการตัดสินใจในการเลือกที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ในกรณีที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งในแง่การเจ็บป่วยของทารกและมารดา หรือมีความจำเป็นทางด้านการทำงานหรือครอบครัว นอกจากนี้ การให้ข้อมูลเหล่านี้ อาจลดความรู้สึกผิดของมารดาที่มีความรู้สึกผิดในการที่ไม่ได้ให้ลูกได้กินนมแม่ และลดความเครียดหรือความวิตกกังวลของมารดาในช่วงหลังคลอดได้ จากข้อมูลเหล่านี้ ความจำเป็นในการให้ข้อมูลเรื่องการปั๊มนมแม่ตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์จึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Jardine FM. Breastfeeding Without Nursing: “If Only I’d Known More about Exclusively Pumping before Giving Birth”. J Hum Lact 2018:890334418784562.

การเสริมสารอาหารให้มารดาช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?หลังคลอด สุขภาพทางโภชนาการของมารดามีความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้นมารดาควรได้รับการเสริมสารอาหารให้มีความสมบูรณ์เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารในมารดาที่ส่งผลต่อสุขภาพของทารก โดยทำให้เกิดการขาดสารอาหารในทารกและมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกได้ มีการศึกษาการเสริมสารอาหารให้แก่มารดาในช่วงหลังคลอด พบว่าช่วยในการเจริญเติบโตของทารกและช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวด้วย1 แพทย์ผู้ดูแลมารดาในช่วงหลังคลอดทั้งสูติแพทย์และกุมารแพทย์ควรร่วมกันในการเอาใจใส่ดูแลภาวะโภชนาการของมารดาให้มีความสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของทารกที่ผิดปกติและยังช่วยเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่จะเป็นผลดีต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารกทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Huynh DTT, Tran NT, Nguyen LT, Berde Y, Low YL. Impact of maternal nutritional supplementation in conjunction with a breastfeeding support program on breastfeeding performance, birth, and growth outcomes in a Vietnamese population. J Matern Fetal Neonatal Med 2018;31:1586-94.

ป้องกันลูกอ้วนจากแม่ที่เป็นเบาหวานโดยการให้ลูกได้กินนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การที่มารดาเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่าง ได้แก่ ทารกตัวโต คลอดยาก ทารกคลอดติดไหล่ การผ่าตัดคลอด การติดเชื้อและการตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น การเกิดทารกตัวโตและโอกาสที่ทารกจะเจริญเติบโตแล้วเป็นเด็กที่อ้วนหรือวัยรุ่นที่อ้วนในมารดาที่เป็นเบาหวานจะสูงขึ้น1 หนทางหนึ่งในการป้องกันทารกจะเจริญเติบโตไปเป็นเด็กที่อ้วนหรือวัยรุ่นที่อ้วนสามารถจะทำได้โดยการให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยในเรื่องภาวะอ้วนเมื่อทารกเจริญวัยไปแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยในเรื่องพัฒนาการอีกด้วย จะเห็นว่า หนทางที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะอ้วนเมื่อทารกเจริญวัยขึ้นนั้น เป็นเรื่องพื้นฐานและธรรมชาติที่มารดาสามารถปฏิบัติได้ หากมีความตั้งใจและมั่นใจว่าตนเองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Hui LL, Li AM, Nelson EAS, Leung GM, Lee SL, Schooling CM. In utero exposure to gestational diabetes and adiposity: does breastfeeding make a difference? Int J Obes (Lond) 2018.