คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การใช้ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารระหว่างการให้นมบุตร

369482_9282221_0

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารที่ใช้บ่อย ได้แก่ ยากลุ่ม antacid ส่วนประกอบของยากลุ่มนี้จะมี อลูมิเนียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งจะดูดซึมผ่านทางเดินอาหารได้น้อย alginic acid และ simethicone จะไม่ดูดซึมจากการรับประทาน จึงสามารถใช้ได้โดยปลอดภัย1 ยากลุ่ม H2 antagonist คือ ยา famotidine ยา ranitidine และยา cimetidine ?ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา famotidine พบร้อยละ 1.92 ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา ranitidine พบร้อยละ 1.3-4.63 และขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา cimetidine พบร้อยละ 9.8-32.6 ดังนั้น ควรเลือกใช้ยา famotidine หรือ ranitidine ก่อน สำหรับยาอีกกลุ่มที่ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยากลุ่ม proton-pump inhibitors (PPIs) คือ ยา omeprazole และยา pantoprazole ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา omeprazole พบร้อยละ 1.14 และขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา pantoprazole พบร้อยละ 0.955 ดังนั้น ขนาดยาที่ผ่านไปสู่น้ำนมน้อย ร่วมกับยากลุ่มนี้จะไม่คงตัวในสภาวะเป็นกรด การดูดซึมในทารกน้อย จึงค่อนข้างปลอดภัยในการเลือกใช้ยานี้

??????????????? แนวทางการดูแลรักษา

??????????????? ในมารดาที่มีอาการแสบร้อนท้อง การใช้ยา antacid สามารถช่วยลดอาการนี้ได้6 ในกรณีที่มารดาสงสัยมีโรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งสาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการมีแบคทีเรีย H. pyroli และการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน6 จำเป็นต้องมีการส่องกล้องตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เนื่องจากการใช้ยารักษาจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันหลายชนิดและใช้นาน นอกจากนี้ การงดน้ำงดอาหารและความเครียดของมารดายังมีผลต่อโรค ควรเลือกงดน้ำงดอาหารมารดาเท่าที่จำเป็น สร้างความคุ้นเคย และเอาใจใส่ในดูแลมารดาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยป้องกันและลดความเครียดให้กับมารดา การกำเริบของโรคของมารดาจะลดลง ร่วมกับการหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน

เอกสารอ้างอิง

  1. Lewis JH, Weingold AB. The use of gastrointestinal drugs during pregnancy and lactation. Am J Gastroenterol 1985;80:912-23.
  2. Anderson PO. Drug use during breast-feeding. Clin Pharm 1991;10:594-624.
  3. Kearns GL, McConnell RF, Jr., Trang JM, Kluza RB. Appearance of ranitidine in breast milk following multiple dosing. Clin Pharm 1985;4:322-4.
  4. Marshall JK, Thompson AB, Armstrong D. Omeprazole for refractory gastroesophageal reflux disease during pregnancy and lactation. Can J Gastroenterol 1998;12:225-7.
  5. Plante L, Ferron GM, Unruh M, Mayer PR. Excretion of pantoprazole in human breast. J Reprod Med 2004;49:825-7.
  6. Richter JE. Review article: the management of heartburn in pregnancy. Aliment Pharmacol Ther 2005;22:749-57.

 

การใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนระหว่างการให้นมบุตร

407434_12078548_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาที่มักใช้บ่อย ได้แก่ ยา dimenhydrinate ยา ondansetron ยา domperidone และยา metoclopramide การใช้ยาเหล่านี้ มีความปลอดภัย โดยมีการใช้ทั้งในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด ไม่มีการพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในมารดาและทารก1-5 แต่การใช้ dimenhydrinate ซึ่งเป็นยากลุ่ม antihistamine หากใช้ในขนาดสูงอาจมีผลต่อการลดลงของระดับฮอร์โมนโปรแลคตินได้6 และมีรายงานว่าอาจสัมพันธ์กับการกระสับกระส่ายของทารกที่มารดาใช้ยานี้7 ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา dimenhydrinate และยา ondansetron ในทารกยังไม่พบมีรายงานที่ชัดเจน ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา domperidone ในทารกพบน้อยกว่าร้อยละ 0.1 ส่วนขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา metoclopramide พบร้อยละ 4.7 นอกจากนี้ยา domperidone และ metoclopramide ยังใช้เป็นยากระตุ้นน้ำนม (galactogogue) ในมารดาด้วย8,9

แนวทางการดูแลรักษา

??????????????? การเลือกใช้ยาเพื่อแก้คลื่นไส้อาเจียนในมารดาที่ให้นมลูก เมื่อศึกษาจากข้อมูลปัจจุบัน ควรใช้ยา ondansetron เป็นทางเลือกแรก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยา ondansetron มีราคาแพง การเลือกใช้ยา domperidone ยา metoclopramide ยา dimenhydrinate หรืออาจใช้การแพทย์ทางเลือกในการลดการคลื่นไส้อาเจียน เช่น การดื่มน้ำขิง10,11 การฝังเข็ม12 สามารถทำได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา domperidone ในมารดาที่มีโรคหัวใจ13 นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร โดยการรับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณที่น้อยและเพิ่มจำนวนมื้ออาหารขึ้น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมัน จะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และทำให้การใช้ยาลดลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Babaei AH, Foghaha MH. A randomized comparison of vitamin B6 and dimenhydrinate in the treatment of nausea and vomiting in early pregnancy. Iran J Nurs Midwifery Res 2014;19:199-202.
  2. Abas MN, Tan PC, Azmi N, Omar SZ. Ondansetron compared with metoclopramide for hyperemesis gravidarum: a randomized controlled trial. Obstet Gynecol 2014;123:1272-9.
  3. da Silva OP, Knoppert DC, Angelini MM, Forret PA. Effect of domperidone on milk production in mothers of premature newborns: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. CMAJ 2001;164:17-21.
  4. Czeizel AE, Vargha P. A case-control study of congenital abnormality and dimenhydrinate usage during pregnancy. Arch Gynecol Obstet 2005;271:113-8.
  5. Kauppila A, Kivinen S, Ylikorkala O. Metoclopramide increases prolactin release and milk secretion in puerperium without stimulating the secretion of thyrotropin and thyroid hormones. J Clin Endocrinol Metab 1981;52:436-9.
  6. Messinis IE, Souvatzoglou A, Fais N, Lolis D. Histamine H1 receptor participation in the control of prolactin secretion in postpartum. J Endocrinol Invest 1985;8:143-6.
  7. Ito S, Blajchman A, Stephenson M, Eliopoulos C, Koren G. Prospective follow-up of adverse reactions in breast-fed infants exposed to maternal medication. Am J Obstet Gynecol 1993;168:1393-9.
  8. Winterfeld U, Meyer Y, Panchaud A, Einarson A. Management of deficient lactation in Switzerland and Canada: a survey of midwives’ current practices. Breastfeed Med 2012;7:317-8.
  9. Gupta AP, Gupta PK. Metoclopramide as a lactogogue. Clin Pediatr (Phila) 1985;24:269-72.
  10. Viljoen E, Visser J, Koen N, Musekiwa A. A systematic review and meta-analysis of the effect and safety of ginger in the treatment of pregnancy-associated nausea and vomiting. Nutr J 2014;13:20.
  11. Heitmann K, Nordeng H, Holst L. Safety of ginger use in pregnancy: results from a large population-based cohort study. Eur J Clin Pharmacol 2013;69:269-77.
  12. Knight B, Mudge C, Openshaw S, White A, Hart A. Effect of acupuncture on nausea of pregnancy: a randomized, controlled trial. Obstet Gynecol 2001;97:184-8.
  13. Doggrell SA, Hancox JC. Cardiac safety concerns for domperidone, an antiemetic and prokinetic, and galactogogue medicine. Expert Opin Drug Saf 2014;13:131-8.

 

การใช้ยาแก้ปวดหลังคลอดระหว่างการให้นมบุตร

01_136_4-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ยาแก้ปวดเป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในระยะหลังคลอด ยาที่ใช้ ได้แก่ พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาแก้ปวดที่มีสารตั้งต้นมาจากฝิ่น (opioids) ยาพาราเซตามอลมีค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ร้อยละ 0.5-8.11,2 ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยา ibuprofen มีค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ร้อยละ 0.653 และยา naproxen มีค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ร้อยละ 3.34 ยาแก้ปวดที่มีสารตั้งต้นมาจากฝิ่น เช่น ยา codeine มีค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ร้อยละ 16.72 และยา morphine มีค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ร้อยละ 9-355 ยาในกลุ่มที่มีสารตั้งต้นมาจากฝิ่น แม้ว่าจะออกฤทธิ์แก้ปวดได้ดี แต่มีฤทธิ์กดการหายใจ จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง?????????????

? ? ? ? ? ? แนวทางการดูแลรักษา

ในมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด หากมีอาการปวดมาก การใช้ยาร่วมกันหลายชนิด เพื่อบรรเทาอาการปวดจะทำให้ใช้ขนาดของยาลดลง และลดอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนของยาได้ อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่ได้รับยาแก้ปวดที่มีสารตั้งต้นมาจากฝิ่น หากมีการใช้ควรใช้ในขนาดต่ำและในระยะสั้นและควรติดตามดูอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนของยาในมารดาและทารกที่ได้รับยากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

  1. Bitzen PO, Gustafsson B, Jostell KG, Melander A, Wahlin-Boll E. Excretion of paracetamol in human breast milk. Eur J Clin Pharmacol 1981;20:123-5.
  2. Lam J, Kelly L, Ciszkowski C, et al. Central nervous system depression of neonates breastfed by mothers receiving oxycodone for postpartum analgesia. J Pediatr 2012;160:33-7 e2.
  3. Weibert RT, Townsend RJ, Kaiser DG, Naylor AJ. Lack of ibuprofen secretion into human milk. Clin Pharm 1982;1:457-8.
  4. Jamali F, Stevens DR. Naproxen excretion in milk and its uptake by the infant. Drug Intell Clin Pharm 1983;17:910-1.
  5. Feilberg VL, Rosenborg D, Broen Christensen C, Mogensen JV. Excretion of morphine in human breast milk. Acta Anaesthesiol Scand 1989;33:426-8.

 

 

การคำนวณค่าความเสี่ยงของยาที่ผ่านน้ำนมไปสู่ทารก

378096_10948911_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การที่จะบอกถึงความเสี่ยงของยาที่ผ่านน้ำนมไปสู่ทารก ในทางทฤษฎีความมีการคำนวณค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ (relative infant dose หรือ RID) ซึ่งจะคำนวณเป็นสัดส่วนร้อยละของขนาดยาที่ทารกได้รับต่อวันเทียบกับขนาดยาที่มารดาได้รับต่อวัน โดยทั่วไปหากค่าขนาดยาของทารกสัมพัทธ์มากกว่าร้อยละ 10 ถือว่าเป็นค่าที่ต้องวิตกกังวลว่าอาจมีความเสี่ยง

ปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านของยาสู่น้ำนม2

3386536-2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการผ่านของยาจากกระแสเลือดของมารดาไปสู่น้ำนมและทารก มีดังนี้ (ต่อ)

?-ความสามารถในการแตกตัวเป็นไอออน ค่าคงที่ของการแตกตัวของยาหรือ pKa จะเป็นค่า pH ที่ทำให้ความเข้มข้นของยาที่ไม่แตกตัวเท่ากับยาที่แตกตัวเป็นไอออน โดยยาที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนจะผ่านไปยังน้ำนมได้ดีกว่า น้ำนมแม่จะมี pH 7-7.2 ?หากค่า pKa ของยามากกว่า 7.2 แสดงว่าขณะที่อยู่ที่ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำนม ยาจะมีส่วนของยาที่ไม่แตกตัวมากกว่าส่วนของยาที่แตกตัว การผ่านไปที่น้ำนมของยาจะดีกว่า

??????????????? -ระยะของการสร้างน้ำนม ในช่วงการสร้างหัวน้ำนม (colostrums) ปริมาณยาที่ผ่านไปสู่น้ำนม ทารกจะได้รับในปริมาณที่น้อยเนื่องจากปริมาณของหัวน้ำนมที่น้อย แต่เมื่ออยู่ในระยะการสร้างน้ำนมที่สมบูรณ์ (mature milk) กลไกของปรับตัวของเยื่อบุผนังลำไส้ของทารกหลังจากได้รับนมแม่จะมีการยึดกันแน่นของเยื่อบุผนังลำไส้ จะทำให้การผ่านของยาลดลง