
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?มารดาที่เป็นหอบหืด อาจมีคำถามหรือข้อสงสัยว่า จะให้ลูกกินนมแม่ดีหรือไม่ ลูกจะติดหอบหืดจากการกินนมแม่หรือไม่ และหากมารดาต้องกินยาหรือรักษาหอบหืด ลูกที่กินนมแม่จะมีอันตรายไหม
? ? ? ? ? ? ?โรคหอบหืด เป็นโรคที่ส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากพันธุกรรมกับอีกส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมและช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดในทารก ดังนั้น การสนับสนุนให้ลูกกินนมแม่จะเป็นผลดีในการป้องกันหรือลดการเกิดหอบหืด และแน่นอนการกินนมแม่ไม่ได้ทำให้ลูกติดหอบหืด สำหรับการที่มารดาต้องกินยาหรือรักษาอาการหอบหืด? ยาที่มารดาได้รับมักจะเป็นยาชนิดพ่นเข้าทางเดินหายใจและยาชนิดรับประทาน ซึ่งใช้ได้อย่างปลอดภัยในการให้นมลูก บุคลากรทางการแพทย์จึงควรส่งเสริมให้ลูกกินนมแม่โดยเฉพาะในมารดาที่เป็นหอบหืด
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ?ในช่วงหน้าหนาว หรืออากาศเย็น การระบาดของไข้หวัดใหญ่จะพบได้ อาการของไข้หวัดใหญ่ มารดาจะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว มีน้ำมูก ไอ หรือจาม ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยทั่วไปจะให้การรักษาด้วยยาตามอาการและอาการต่างๆ จะค่อยๆ หายไปเอง การติดต่อของไข้หวัดใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสจากการไอหรือจามของผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ผ่านละอองน้ำขนาดเล็ก ซึ่งหากร่างกายอ่อนแอ เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายอาจป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ ดังนั้น มารดาควรใช้ผ้าปิดปากป้องกันการไอหรือจามใส่ทารก ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนการให้นมทารก การให้นมแม่ยังสามารถทำได้ การใช้ยาลดหรือบรรเทาอาการ ควรหลีกเลี่ยงยาที่ลดอาการคัดจมูกและยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูกที่อาจทำให้มีผลลดการสร้างน้ำนม และอาจทำให้ทารกง่วงซึมได้ ยาต้านไวรัสหากมีความจำเป็น สามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสารพันธุกรรมของไวรัส ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ H1N1 ซึ่งการดูแลรักษาและการให้นมบุตรสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ?ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มารดาที่ให้นมลูกอาจเจ็บป่วยเป็นหวัดได้ อาการหวัดเกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดอาการไอ จาม น้ำมูกไหล ซึ่งการดูแลรักษามารดาโดยทั่วไปจะให้การรักษาด้วยยาตามอาการ การติดต่อของหวัดเกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสจากการไอหรือจาม ผ่านละอองน้ำขนาดเล็ก ซึ่งหากร่างกายอ่อนแอ เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายอาจเป็นหวัดได้ ดังนั้น มารดาควรใช้ผ้าปิดปากป้องกันการไอหรือจามใส่ทารก ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนการให้นมทารก การให้นมแม่ยังสามารถทำได้ การใช้ยาลดหรือบรรเทาอาการหวัด ยาลดน้ำมูกสามารถใช้ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ง่วง เนื่องจากอาจทำให้ทารกง่วงซึม หรือกินนมได้น้อย ควรหลีกเลี่ยงยาที่ลดอาการคัดจมูก เนื่องจากมีผลต่อการลดการสร้างน้ำนม ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องให้ยกเว้นมีการติดเชื้อของแบคทีเรียแทรกซ้อน ยาละลายเสมหะ ยังมีข้อมูลน้อย แต่จากข้อมูลสามารถให้ได้โดยปลอดภัย จะเห็นว่า การที่มารดาเป็นหวัดไม่ได้เป็นข้อห้ามในการให้นมลูกเลย
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? โดยส่วนใหญ่ มารดาให้นมบุตรจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ทารก แต่มีการติดเชื้อบางอย่างที่อาจส่งผลเสียต่อทารก หรือหากมีทางเลือกในการให้นมวิธีอื่นที่ปลอดภัยที่อาจมีผลดีต่อทารกมากกว่า การงดหรือการเว้นระยะการให้นมลูกในมารดาเหล่านี้อาจมีความจำเป็น โรคติดเชื้อที่เป็นข้อห้ามหรือละเว้นในการให้นมลูก ได้แก่
? ? ? ? ? -การติดเชื้อเอชไอวี
? ? ? ? ?-มารดาที่มีแผลเริมหรืองูสวัดที่เต้านม ควรงดให้นมที่เต้านมข้างนั้น แต่สามารถให้นมจากเต้านมอีกข้างได้
? ? ? ? -มารดาที่เป็นวัณโรคปอดที่ยังไม่ได้รับการรักษา จนเมื่อมารดาได้รับการรักษาจนกระทั่งพ้นระยะแพร่เชื้อแล้วสามารถให้นมลูกได้
? ? ? ? -มารดาที่ติดเชื้ออีสุกอีใสในระยะใกล้คลอด โดยทารกอาจกินนมแม่ได้หากได้รับการฉีดวัคซีน
? ? ? ? -มารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และมีเลือดออกจากหัวนม
? ? ? ?-มารดาติดเชื้ออีโบล่า โดยมารดาสามารถกลับมาให้นมบุตรได้หลังจากหายจากโรคและน้ำนมตรวจไม่พบเชื้อไวรัสแล้ว
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ?หากมารดาจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดและต้องให้ยาระงับความรู้สึก มีข้อควรรู้สำหรับการให้ยาระงับความรู้สึกในมารดาที่ให้นมลูก ดังนี้
? ? ? ? ? –การแจ้งให้วิสัญญีแพทย์หรือพยาบาลทราบว่า ขณะนี้มารดาให้นมบุตรอยู่เป็นความจำเป็นอย่างหนึ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบ และวางแผนที่จะเลือกวิธีและยาระงับความรู้สึกให้มารดาอย่างเหมาะสม ร่วมกับการขอคำแนะนำว่า มารดาสามารถจะเริ่มให้นมแม่ได้เมื่อไร และสิ่งใดเป็นข้อควรระวังในการให้นมแม่หลังการให้ยาระงับความรู้สึก
? ? ? ? ?-หากเลือกได้ ควรให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่มากกว่าการให้ยาดมสลบ
? ? ? ? ? -มารดาที่จำเป็นต้องดมยาสลบ แก๊สที่ใช้ในระหว่างการดมยาสลบจะผ่านเข้ากระแสเลือดในช่วงสั้นๆ ดังนั้นจะมีปริมาณต่ำในน้ำนม มารดาจึงสามารถให้นมลูกได้อย่างปลอดภัยหลังการผ่าตัดเมื่อมารดาฟื้นตัวดี
? ? ? ? ? -การแยกมารดาและทารก อาจไม่จำเป็นต้องแยกจากกันนาน โดยหลังผ่าตัด หากมารดารู้สึกตัวดี มารดาสามารถให้นมลูกได้ในทารกปกติ แต่มีข้อควรระมัดระวังในกรณีที่มีความเสี่ยงในการหยุดหายใจ หายใจไม่สม่ำเสมอ หรือทารกคลอดก่อนกำหนด
? ? ? ? ?ในกรณีที่มารดาได้รับยาร่วมกันหลายอย่างระหว่างการดมสลบ อาจมีความวิตกว่ายาอาจจะผ่านน้ำนมไปที่ทารก การบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมออกเพียงครั้งเดียว ส่วนใหญ่จะกำจัดยาที่มารดาได้รับระหว่างดมยาสลบได้ เนื่องจากวิสัญญีแพทย์มักเลือกยาที่ออกฤทธิ์สั้น ดังนั้น มารดาควรสามารถคลายความวิตกกังวลเรื่องยาที่ทารกอาจได้รับจากน้ำนมของมารดาที่ได้รับยาดมสลบและให้นมแม่ได้อย่างมั่นใจ
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)