คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

เริ่มต้นอย่างไรให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ

IMG_0721

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? หลายๆ คนคงมีคำถามว่า ?ต้องทำอย่างไรจึงจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ? มีการวิจัยมากมายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่การจะทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จนั้น จะประกอบด้วย 3? ส่วนที่สำคัญ คือ ความมุ่งมั่นตั้งใจจะให้ลูกกินนมแม่ (intention) การเริ่มต้นให้ลูกกินนมแม่ (initiation) และการคงการให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง (continuity) ทั้งสามส่วนนี้ จำเป็นต้องเริ่มต้นจากส่วนแรกก่อน คือ มารดาต้องมีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1-4 ?ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้มารดามีความมุ่งมั่น เชื่อมั่น สามารถจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ การแก้ปัญหาที่ประสบ หรือเอาชนะอุปสรรคที่ขัดขวาง และนำมารดาไปสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องสร้างให้มารดาเกิดความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อน ซึ่งต้องอาศัยการให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีจากทั้งในครอบครัว โรงเรียน โรงพยาบาล และสื่อสุขภาพต่างๆ ในสังคม

เอกสารอ้างอิง

  1. Balogun OO, Kobayashi S, Anigo KM, Ota E, Asakura K, Sasaki S. Factors Influencing Exclusive Breastfeeding in Early Infancy: A Prospective Study in North Central Nigeria. Matern Child Health J 2016;20:363-75.
  2. Forster DA, McLachlan HL, Lumley J. Factors associated with breastfeeding at six months postpartum in a group of Australian women. Int Breastfeed J 2006;1:18.
  3. Blyth RJ, Creedy DK, Dennis CL, et al. Breastfeeding duration in an Australian population: the influence of modifiable antenatal factors. J Hum Lact 2004;20:30-8.
  4. Gregory EF, Butz AM, Ghazarian SR, Gross SM, Johnson SB. Met Expectations and Satisfaction with Duration: A Patient-Centered Evaluation of Breastfeeding Outcomes in the Infant Feeding Practices Study II. J Hum Lact 2015.

 

การเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรเริ่มต้นเมื่อไร

IMG_9403

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การเรียนรู้และทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีส่วนหนึ่งที่สตรีได้รับการถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมมาจากมารดา แต่ประสบการณ์การเรียนรู้เริ่มต้นได้ที่ครอบครัว ที่เป็นตัวอย่างให้เห็นและสร้างภาพจำให้เกิดกับเด็ก แต่เมื่อถึงวัยเรียนจะก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่พบมีความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น การให้ความรู้ในเรื่องเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น่าจะเป็นสิ่งที่ควรมีการจัดสรรเนื้อหาแทรกไปในหลักสูตรการเรียนรู้ ในประเทศไต้หวัน ได้มีการศึกษาการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กมัธยมปลาย ซึ่งมีผลที่ดีต่อทั้งในด้านความรู้และทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1?เมื่อมารดาได้รับการกระตุ้นเตือนอีกครั้งในระยะตั้งครรภ์ ก็น่าจะผลดีต่อการส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว2

เอกสารอ้างอิง

  1. Ho YJ, McGrath JM. Effectiveness of a Breastfeeding Intervention on Knowledge and Attitudes Among High School Students in Taiwan. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2016;45:71-7.
  2. Glaser DB, Roberts KJ, Grosskopf NA, Basch CH. An Evaluation of the Effectiveness of School-Based Breastfeeding Education. J Hum Lact 2016;32:46-52.

?

?

?

ทารกที่กินนมแม่จะกินอาหารหวานน้อยกว่า

IMG_0802

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?ความวิตกกังวลเรื่องการดูแลสุขภาพมีความตื่นตัวมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องภาวะอ้วน กลไกหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเสริมลักษณะนิสัยการกินอาหารที่เหมาะสมคือ การกินนมแม่ โดยทารกที่กินนมแม่ เมื่ออายุ 1-3 ปีจะกินอาหารที่หลากหลายกว่า และกินอาหารหวานน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นทารกที่คลอดครบกำหนดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด1 นอกจากนี้ ทารกที่กินนมแม่ยังได้รับการฝึกฝนให้ควบคุมการกินจากการควบคุมการดูดนมแม่ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในทารกที่กินนมแม่จึงมีน้อยกว่าเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น มารดาที่คิดว่าจะดูแลให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูก มรดกที่ส่งต่อให้ง่ายที่สุด คือ ?สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากนมแม่?

เอกสารอ้างอิง

  1. Husk JS, Keim SA. Breastfeeding and dietary variety among preterm children aged 1-3 years. Appetite 2016;99:130-7.

?

 

ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่เสี่ยงต่อความผิดปกติของจิตประสาท

62

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในปัจจุบันเริ่มมีความสนใจศึกษาในเรื่องของความสัมพันธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับความผิดปกติของจิตประสาท (neuropsychological deficit) และบุคลิกภาพที่มีความเสี่ยงต่อโรคจิตเภท (psychopathic personality traits) โดยเชื่ออาจจะเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท serotonin โดยพบว่าทารกที่ไม่ได้กินนมแม่หรือกินนมแม่น้อย เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของจิตประสาท1 ซึ่งกลไกความเชื่อมโยงของระบบประสาทที่พัฒนาในทารกจะถูกกระตุ้นโดยการที่มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อขณะที่ทารกกินนมแม่ หากปัจจุบันมีทารกที่กินนมแม่น้อยลง ในอนาคตอาจพบผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Jackson DB, Beaver KM. The Association Between Breastfeeding Exposure and Duration, Neuropsychological Deficits, and Psychopathic Personality Traits in Offspring: The Moderating Role of 5HTTLPR. Psychiatr Q 2016;87:107-27.

?

?

 

การใช้ที่กันหัวนม ช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่

01010023

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ที่กันหัวนม หรือ nipple shield ปัจจุบันมีการใช้กันแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะในมารดาที่มีปัญหาเรื่องการเจ็บหัวนมระหว่างการให้นมลูก แต่เนื่องจากการเจ็บหัวนมของมารดามีหลากหลายสาเหตุ ได้แก่ การจัดท่าเข้าเต้าที่ไม่ถูกต้อง การติดเชื้อรา หัวนมแตก การอักเสบของเต้านม ทารกมีภาวะลิ้นติด การมีน้ำนมไหลเร็วเกินไป และการมีเส้นเลือดที่หัวนมหดตัวเมื่อมีอากาศเย็น (Raynaud?s phenomenon)การให้การรักษาด้วยที่กันหัวนมจึงมีที่ใช้อย่างจำกัด มีการศึกษาพบว่ามารดาที่ใช้ที่กันหัวนมมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกสูงมากกว่าถึง 3-4 เท่า1 ดังนั้น การใช้ที่กันหัวนมอย่างไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มารดาหยุดการให้นมแม่ก่อนเวลาอันควร จึงควรเลือกใช้การรักษาโดยใช้ที่กันหัวนมอย่างระมัดระวัง หากจำเป็นควรใช้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Kronborg H, Foverskov E, Nilsson I, Maastrup R. Why do mothers use nipple shields and how does this influence duration of exclusive breastfeeding? Matern Child Nutr 2016.