คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การกลับไปทำงานของมารดายังเป็นสาเหตุหลักในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3709

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ปัจจัยที่มีผลอย่างมากต่อการให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนคือ การกลับไปทำงานของมารดา ซึ่งพบเป็นปัญหาในหลายประเทศ1 รวมทั้งในประเทศไทย ช่วงเวลาของการลาพักหลังคลอดที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่มารดาก็เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันด้วย ในประเทศไทยช่วงเวลาที่มีการจ่ายเงินเดือนให้กับมารดาที่เป็นสิทธิข้าราชการจะลาคลอดได้ 3 เดือน ขณะที่ในประเทศเวียดนามที่กำลังรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ออกกฎหมายลาคลอด 6 เดือน แม้สิ่งนี้จะกระทบต่อการจ้างงานและระบบเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่า นโยบายนี้น่าจะมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในด้านสุขภาวะและโอกาสที่ดีที่จะพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น การจะเลือกดูแบบอย่างแนวทางในการพัฒนากำลังคนของประเทศที่กำลังพัฒนาใกล้เคียงกับประเทศไทยก็น่าจะเป็นสิ่งที่นำใช้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Soomro JA, Shaikh ZN, Bijarani SA, Saheer TB. Factors affecting breastfeeding practices among working women in Pakistan. East Mediterr Health J 2017;22:810-6.

การดูแลมารดาในอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_2921

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในมารดาที่อายุน้อยโดยเฉพาะมารดาวัยรุ่น มักมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนในการคลอดบุตร โดยมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตที่ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการให้ลูกได้เริ่มกินนมแม่ นอกจากนี้ มีการศึกษาว่าปัจจัยด้านอายุของมารดามีผลต่อการให้บริการการดูแลในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ พบว่าสถานพยาบาลที่ทำการศึกษาในสหรัฐอเมริกาให้การดูแลมารดาที่มีอายุน้อยกับอายุมากแตกต่างกัน โดยให้การดูแลการเริ่มต้นการให้นมลูกเมื่อพร้อมและให้มารดาอยู่กับทารก 24 ชั่วโมงน้อยกว่ามารดาที่อายุมาก1 ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับในประเทศไทยที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีถือว่ามารดาวัยรุ่นเป็นความเสี่ยงต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นในมารดาวัยรุ่นที่คลอดทารกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่แตกต่างกับมารดาที่อายุมากกว่า 20 ปี2

เอกสารอ้างอิง

  1. Sipsma HL, Jones K, Nickel NC. Hospital practices to promote breastfeeding: The effect of maternal age. Birth 2017.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.

 

เภสัชกร บทบาทที่ท้าทายในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_2935

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เภสัชกรถือเป็นบทบาทสำคัญที่เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการการรักษาระดับปฐมภูมิในชุมชนและยังมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากในระยะหลังคลอดเมื่อมารดาเจ็บป่วย ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนใหญ่ที่จะไปซื้อยาที่ร้านขายยามารับประทาน การให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมในการใช้ยาระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ดังนั้น การเรียนการสอนเรื่องการใช้ยาในระหว่างให้นมลูกจึงต้องมีการสอนและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยเภสัชกร นอกจากนี้ การวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการจัดกลุ่มยาในระหว่างการให้นมบุตรก็เป็นสิ่งที่ควรพัฒนา1 ในปัจจุบันในสถานพยาบาลการดูแลร่วมสหสาขาถือเป็นสิ่งที่จะให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย ผู้รับบริการ รวมทั้งมารดาที่ให้นมบุตรด้วย การเยี่ยมมารดาที่ให้นมบุตรจากสหวิชาชีพอาจช่วยสร้างมุมมองใหม่ในการเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสมระหว่างการให้นมบุตรได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Sim TF, Hattingh HL, Sherriff J, Tee LB. Towards the implementation of breastfeeding-related health services in community pharmacies: Pharmacists’ perspectives. Res Social Adm Pharm 2017.

การจัดทีมเฉพาะกิจช่วยมารดาให้นมลูกในกลุ่มทารกคลอดก่อนกำหนด

IMG_3460

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ซึ่งกระบวนการในการส่งเสริมให้ทารกได้กินนมแม่นั้นมีความละเอียดและยุ่งยากมากกว่ามารดาที่คลอดปกติครบกำหนดและทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อน การจัดทีมเฉพาะกิจที่จะให้คำปรึกษาแก่มารดาตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดอาจมีความจำเป็น มีการศึกษาพบว่า การตั้งทีมเฉพาะกิจที่ให้คำปรึกษาและดูแลส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่ต้องอยู่ที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตนั้น ช่วยให้อัตราการกินนมแม่ของทารกกลุ่มนี้สูงขึ้น1 ดังนั้น การวางแผนบุคลากรหรือการจัดทีมเฉพาะกิจในการให้คำปรึกษาอาจเป็นนวัตกรรมที่จะพัฒนาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มที่คลอดทารกก่อนกำหนดได้ สิ่งนี้อาจช่วยส่งเสริมแนวคิดในการพัฒนาบริการต่าง ๆ ควรทำร่วมกับการเก็บข้อมูลเพื่อเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ตามแนวทางของการพัฒนาประเทศไทย Thailand 4.0

เอกสารอ้างอิง

  1. Sethi A, Joshi M, Thukral A, Singh Dalal J, Kumar Deorari A. A Quality Improvement Initiative: Improving Exclusive Breastfeeding Rates of Preterm Neonates. Indian J Pediatr 2017;84:322-5.

 

การจัดพี่เลี้ยงช่วยมารดาให้นมลูก

IMG_3530รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในมารดาที่มีบุตรคนแรกยังไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มักจะพบปัญหาในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก โดยอาจพบเรื่องการจัดท่าเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม การเจ็บหัวนม และความวิตกกังวลในอาการต่าง ๆ ของทารก ดังนั้น จึงมีแนวคิดเรื่องการจัดพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษาช่วยมารดาให้นมลูก ซึ่งมีการศึกษาพบว่า การจัดระบบพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษาช่วยมารดาแนะนำเรื่องการให้นมลูกนั้น สามารถช่วยให้มารดาที่มีบุตรคนแรกเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกได้เพิ่มขึ้น แต่หลังจากหกสัปดาห์ไปแล้วไม่พบความแตกต่างกันของอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 สิ่งนี้น่าจะบ่งบอกว่า มารดาที่มีบุตรคนแรกอาจจะขาดประสบการณ์ในการให้นมลูก แต่เมื่อได้รับคำแนะนำจนสามารถเริ่มให้นมลูกได้ดีแล้ว ปัจจัยด้านอื่น ๆ อาจเป็นตัวตัดสินการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงต้องเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบถึงประโยชน์ของการเป็นพี่เลี้ยงแนะนำการให้นมลูกน่าจะสูงสุดในช่วงสองสัปดาห์แรก

เอกสารอ้างอิง

  1. Scott S, Pritchard C, Szatkowski L. The impact of breastfeeding peer support for mothers aged under 25: a time series analysis. Matern Child Nutr 2017;13.