คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การประเมินการเข้าเต้าของมารดาและทารก

ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเมตาบอลิกสูงขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันคนในสังคมมีโรคทางเมตาบอลิกเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตยุคดิจิทัล โรคทางเมตาบอลิก ได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคทางหลอดเลือดสูงขึ้นที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบมากที่สุดของการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่า วิธีการคลอดมีผลต่อการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในทารกได้ โดยทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดจะมีความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบ และโรคทางเมตาบอลิกสูงกว่าทารกที่คลอดปกติทางช่องคลอด นอกจากนี้ หากทารกคลอดด้วยวิธีการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางเมตาบอลิกถึง 2.63 เท่า1 ดังนั้น หากมีการดูแลให้การคลอดมีอัตราการผ่าตัดคลอดที่เหมาะสมตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเมตาบอลิกในทารกซึ่งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอยู่แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้เมื่อทารกเจริญวัยขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Peters LL, Thornton C, de Jonge A, et al. The effect of medical and operative birth interventions on child health outcomes in the first 28 days and up to 5 years of age: A linked data population-based cohort study. Birth 2018.

 

 

การชักนำการคลอดเสี่ยงต่อทารกตัวเหลือง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การดูแลการคลอดมีผลต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารก การชักนำการคลอด คือ การกระตุ้นให้มารดามีการเจ็บครรภ์และคลอดบุตรโดยเป็นผลมาจากหลากหลายวิธี ได้แก่ การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกผ่านเข้าทางเส้นเลือด อมใต้ลิ้น หรือเหน็บช่องคลอด ปัจจุบันมีการชักนำการคลอดสูงขึ้น ซึ่งมีทั้งการชักนำการคลอดตามเหตุผลทางการแพทย์และการชักนำการคลอดด้วยเหตุอื่น ๆ เช่น การดูฤกษ์ยาม การเลือกเวลาที่สะดวกหรือว่างของแพทย์ หลังการชักนำการคลอด ส่วนหนึ่งของมารดาจะคลอดได้ทางช่องคลอด โดยมีที่เหลืออาจต้องใช้หัตถการในการทำคลอดคือใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศหรือการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาหลังจากการคลอดโดยหัตถการก็คือ การพบทารกตัวเหลืองสูงขึ้นถึง 2.75 เท่าของทารกที่คลอดปกติ1 ซึ่งเมื่อทารกมีภาวะตัวเหลืองก็มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเฉพาะ อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการส่องไฟหรือการถ่ายเลือดทำให้อาจขัดขวางการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด ผลจึงกระทบถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Peters LL, Thornton C, de Jonge A, et al. The effect of medical and operative birth interventions on child health outcomes in the first 28 days and up to 5 years of age: A linked data population-based cohort study. Birth 2018.

ปัจจัยที่ช่วยและขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในประเทศไทยยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่มีการกำหนดไว้คือร้อยละ 50 ซึ่งมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีส่วนช่วยและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในคนไทยในภาคอีสาน ที่จังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยที่มีส่วนช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว คือ ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสื่อในสังคม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว คือ การรับรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การต้องกลับไปทำงานของมารดา และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมผงดัดแปลงสำหรับทารก สำหรับปัจจัยที่อาจเป็นทั้งปัจจัยที่มีส่วนช่วยหรือปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง ได้แก่ ครอบครัว บุคลากรทางสาธารณสุข และธรรมเนียมปฏิบัติในการเลี้ยงดูทารก1 แม้ว่าการศึกษานี้จะทำในภาคอีสาน แต่ข้อมูลน่าจะนำมาเทียบเคียงและใช้ในการวางแผนในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในภาคอื่น ๆ และอาจเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดที่อาจเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของประเทศไทยได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Thepha T, Marais D, Bell J, Muangpin S. Perceptions of northeast Thai breastfeeding mothers regarding facilitators and barriers to six-month exclusive breastfeeding: focus group discussions. International Breastfeeding Journal 2018;13:14.

 

การรักษาเต้านมอักเสบ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อสาเหตุหลักของการเกิดเต้านมอักเสบคือ การมีการขังหรือขาดการระบายของน้ำนมออกจากเต้านม ซึ่งอาจเกิดจากการเว้นระยะของการให้ลูกดูดนมนาน โดยเกิดเนื่องจากการต้องมีการแยกกันระหว่างมารดาหรือทารกขณะที่มีอาการเจ็บป่วยหรือในช่วงที่มารดาต้องไปทำงานและไม่ได้ให้นมลูก การรักษาจึงใช้หลักการแก้ไขสาเหตุคือ การช่วยให้มีการระบายของน้ำนมออกจากเต้านม วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การระบายน้ำนมจากเต้านมโดยให้ลูกดูดนมจากเต้าของมารดา รองลงมาอาจใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม การนวดหรือการประคบร้อนจะช่วยให้ท่อน้ำนมขยายและระบายได้ดีขึ้น1 จึงอาจใช้วิธีเหล่านี้ร่วมกันกับการกินยาลดอาการปวดซึ่งมักพบว่ามารดามีอาการปวดร่วมด้วย สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะ แนะนำให้ใช้ในกรณีที่คิดว่าการอักเสบของเต้านมมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย โดยหากมารดามีหัวนมแตกหรือแผลที่หัวนม หรือมารดามีไข้สูงนานกว่า 24 ชั่วโมง ควรพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะที่มักใช้ในการรักษาอาการเต้านมอักเสบจากการติดเชื้อ ได้แก่ cloxacillin โดยให้ยารักษานาน 7-10 วัน หากมารดามีการแพ้ยาเพนนิซิลิน อาจพิจารณาการใช้ยา cephalexin แทน ในระหว่างให้การรักษามารดายังคงให้นมลูกได้ และควรที่จะให้นมลูกอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการลดการขังของน้ำนม ลักษณะของน้ำนมในขณะมีเต้านมอักเสบ รสชาติของน้ำนมอาจเปลี่ยนแปลงไป โดยมีรสอูมามิ ลูกสามารถกินนมนี้ได้โดยปราศจากอันตราย

เอกสารอ้างอิง

  1. Khanal V, Scott JA, Lee AH, Binns CW. Incidence of Mastitis in the Neonatal Period in a Traditional Breastfeeding Society: Results of a Cohort Study. Breastfeed Med 2015;10:481-7.