คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์
การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์
งานวิจัยปัญหาของการดูแลการตั้งครรภ์และการคลอดในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
งานวิจัยระบบคำนวณวันคลอดและดูแลสุขภาพคุณแม่ออนไลน์
เมื่อไรมารดาจึงจะให้นมทารก
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ?มารดาที่คลอดบุตรใหม่ๆ อาจจะสงสัยว่าในวันหนึ่งๆ จะต้องให้นมลูกบ่อยแค่ไหน ซึ่งในมารดาและทารกแต่ละคู่จะมีความถี่ในจำนวนครั้งของการให้นมที่แตกต่างกัน เนื่องจากการให้นมบุตร แนะนำให้ให้ตามความต้องการของบุตร ดังนั้น การให้มารดาได้อยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอดจะช่วยให้มารดาได้สังเกตความต้องการของทารกจากอาการของบุตรที่มีลักษณะที่แตกต่างกันมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละคน นอกจากนี้ ยังขึ้นกับเต้านมของมารดาที่มีความสามารถในการเก็บสะสมน้ำนมได้มากน้อยแค่ไหน และทารกแต่ละคนดูดนมได้เก่งมากน้อยแค่ไหน ทารกบางคนดูดนมได้เร็ว ทารกบางครั้งดูดนมได้ช้า ซึ่งนมแม่สามารถให้ได้บ่อยๆ อยู่แล้ว จากการทางเดินอาหารทารกสามารถย่อยนมแม่ได้ง่ายกว่านมผสม อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป วันหนึ่งมารดามักให้นมทารกราว 8-12 ครั้ง
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.
การเจ็บหัวนมจากการมีการอุดตันของรูเปิดของท่อน้ำนม
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การเจ็บหัวนมจากการอุดตันรูเปิดของท่อน้ำนม เกิดจากไขของนมอุดตันที่รูและท่อน้ำนม จะเห็นเป็นจุดขาวติดอยู่ที่หัวนม ภาษาอังกฤษเรียกว่า white dot หรือ bleb หรือ milk blister ลักษณะอาการเจ็บหัวนมจะเกิดขึ้นขณะทารกดูดนมหรือระหว่างมื้อของการให้นม โดยการเจ็บจะร้าวจากหัวนมไปทางด้านหลัง หากมีการอุดตันเกิดขึ้นในหลายท่อน้ำนม จะพบมีเต้านมตึงคัดร่วมด้วย และอาจพบภาวะแทรกซ้อนคือ เต้านมอักเสบได้
??????????????? การช่วยเหลือสำหรับปัญหานี้ เริ่มต้นด้วยตรวจสอบว่ามารดามีท่าให้นมที่เหมาะสมก่อนเสมอ เนื่องจากสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากท่าให้นมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทารกดูดน้ำนมได้ไม่ดี มีน้ำนมขังอยู่ในท่อน้ำนมจนจับตัวเป็นไข อุดตันรูเปิดท่อน้ำนม สำหรับสาเหตุอื่น ได้แก่ การใส่ยกทรงหรือชุดชั้นในที่แน่นเกินไป หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ การชนกระแทกจนเกิดจ้ำเลือดเขียวช้ำที่ขัดขวางการไหลของน้ำนม การให้การรักษาด้วยการประคบอุ่นบริเวณเต้านมและการบีบน้ำนมด้วยมืออาจช่วยให้ไขที่อุดตันหลุดออกได้ แต่หากไขที่อุดตันมีเยื่อบุผิวหนังเจริญคลุมท่อการเจ็บหัวนม ซึ่งจะสังเกตเห็นเป็นจุดขาวเป็นมัน การช่วยบีบน้ำนมให้ไล่ไขที่ติดอยู่ออกอาจไม่ได้ผล การสะกิดไขออกโดยใช้ปลายเข็มอาจช่วยได้ แต่ควรพิจารณาทำโดยแพทย์ ร่วมกับแนะนำให้มารดาใส่ยกทรงหรือชุดชั้นในที่ไม่แน่นจนเกินไป อย่างไรก็ตาม หากภาวะนี้ไม่ได้รับการแก้ไข ทารกต้องดูดนมแรงขึ้น มารดาเจ็บหัวนม หัวนมแตก เกิดเต้าอักเสบ และฝีที่เต้านมตามมาได้ การเอาใจใส่ของมารดาและบุคลากรทางการแพทย์ว่า ?เรื่องการเจ็บหัวนม แม้เป็นเรื่องที่พบบ่อย แต่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นปกติของการให้นม? ดังนั้น การแก้ปัญหานี้ตั้งแต่เริ่มต้น จะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.