
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การให้ลูกเริ่มกินกล้วยเมื่ออายุเดือนยังไม่เหมาะสม แม้ว่าลูกจะกินกล้วยได้ อิ่มนาน และหลับได้ดี เนื่องจากกล้วยยังย่อยยากกว่านมแม่ ทารกที่กินกล้วยจึงอิ่มและหลับได้นาน ซึ่งอาจทำให้แม่เข้าใจผิดคิดว่าลูกกินกล้วยบดแล้วอิ่มได้ดี แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า นมแม่มีคุณค่าและประโยชน์มากกว่ากล้วย เมื่อลูกกินกล้วยแล้วอิ่มนาน จะกินนมน้อยลง ทำให้ได้รับประโยชน์จากนมแม่น้อยลง ดังนั้น การเริ่มให้ทารกกินกล้วยบดจึงไม่ต้องรีบร้อน รอจนกระทั่งลูกอายุหกเดือน1 การให้นมแม่อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก จึงค่อย ๆ เริ่มอาหารเสริมตามวัยทีละน้อย จะเป็นประโยชน์กับลูกมากกว่า
เอกสารอ้างอิง
- ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ไม่ควรปฏิบัติ เพราะการที่ทารกกินนมแม่ไม่จำเป็นต้องมีการกินน้ำเพื่อการล้างปาก เนื่องจากนมแม่มีประโยชน์มากอย่างที่เป็นที่รู้กันแล้ว และมีภูมิคุ้มกันที่จะป้องกันการติดเชื้อ1 ดังนั้น การกินน้ำตามจะไปเจือจางความเข้มข้นของนมแม่ ทำให้การป้องกันการติดเชื้อลดลงด้วย นอกจากนี้ การให้ทารกกินน้ำ หากให้ในปริมาณที่มาก จะทำให้ทารกอิ่มน้ำ กินนมได้ลดลง น้ำหนักขึ้นน้อยกว่าที่ควรเป็นได้ จากเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ควรมีความเชื่อเรื่องการกินน้ำตามเพื่อล้างปาก หรือปฏิบัติตามที่บอกเล่ากันมาโดยปราศจากการเสาะหาข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์กับทารกมากกว่า
เอกสารอ้างอิง
- ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง การที่มารดาให้ลูกกินนมแม่ในช่วงเวลากลางคืนจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดี เนื่องจากฮอร์โมนโพรแลกตินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักในที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมจะมีการหลั่งในปริมาณที่สูงและตอบสนองต่อการกระตุ้นโดยการดูดนมได้ดี เมื่อค่าของฮอร์โมนนี้ได้รับการกระตุ้นให้อยู่ในระดับที่สูง จะส่งผลให้มีการสร้างน้ำนมได้ดี1 โดยทั่วไปทารกหลังคลอดใหม่จะหลับและมีการตื่นบ่อย ซึ่งจะตื่นทุก 2-3 ชั่วโมง ในช่วงกลางคืนหลังเที่ยงคืน ทารกจึงตื่นราว 2-3 ครั้ง เมื่อมารดาทราบดังนี้ ควรพักผ่อนไปพร้อมกับทารก คือ ทารกหลับ มารดาควรหลับด้วย และตื่นมาให้นมทารกหากทารกหิว แต่เมื่อทารกอายุมากขึ้น ทารกจะหลับได้นานขึ้น มารดาก็จะได้นอนพักได้นานขึ้น โดยมารดาไม่จำเป็นต้องตื่นขึ้นมาปลุกทารกเพื่อกินนมทุก 2-3 ชั่วโมง แต่มารดาควรให้นมแม่ตามความต้องการของทารก บางครั้งครอบครัวอาจกลัวมารดาเหนื่อย จึงอาสาจะเลี้ยงทารกให้ในเวลากลางคืนโดยจะชงนมผงดัดแปลงสำหรับทารกให้แทนนมแม่ ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะทำให้ทารกไม่ได้กระตุ้นการสร้างน้ำนมของแม่ และอาจส่งผลทำให้มีการสร้างน้ำนมน้อยลงและไม่เพียงพอได้ ดังนั้น ควรเน้นว่า “ลูกหลับ แม่ควรหลับด้วยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก”
เอกสารอ้างอิง
- ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ข้อมูลนี้เป็นจริง เนื่องจากมารดาที่คลอดปกติแม้จะไม่มีแผลบริเวณหน้าท้อง แต่หลังคลอดใหม่ยังมีการหย่อนของเส้นเอ็นที่ยึดตัวมดลูกร่วมกับขนาดมดลูกจะมีขนาดใหญ่ ดังนั้น เมื่อยกของหนัก (ของหนัก หมายถึงของที่หนักตั้งแต่ 4.5 กิโลกรัมขึ้นไป) การเกร็งผนังหน้าท้องจะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้มดลูกที่ไม่กลับเข้าที่เกิดการหย่อนลงไปต่ำกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดภาวะกระบังลมหย่อนเมื่อมารดาอายุมากขึ้น โดยหากหย่อนมากจะพบปากมดลูกโผล่ออกมาจากช่องคลอดได้ ดังนั้น ควรรอให้มดลูกเริ่มมีขนาดเล็กลงและเส้นเอ็นที่ยึดมดลูกตึงยึดมดลูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ดีขึ้นราว 1 สัปดาห์ สำหรับในกรณีที่ผ่าตัดคลอด การยกของหนักจะทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อผนังหน้าท้องที่มีบาดแผลจากการผ่าตัดคลอด ทำให้เกิดการเจ็บหรือหากรุนแรงอาจมีภาวะแผลแยกได้ โดยแผลที่ผ่าตัดแนวยาวตามลำตัวจะมีอาการปวดระบมมากกว่าแผลผ่าตัดแนวขวาง1 ดังนั้น หากผ่าตัดคลอด การยกของหนักควรจะทำเมื่อแผลผ่าตัดยึดกันได้ดีราวร้อยละ 80 ซึ่งจะใช้เวลาราว 4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
เอกสารอ้างอิง
- ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ข้อมูลนี้เป็นจริง เนื่องจากมารดาที่คลอดปกติจะมีแผลบริเวณปากช่องคลอดหรือแผลจากการตัดฝีเย็บ เมื่อต้องยกขาขณะขึ้นบันได มารดาจะปวดหรือขัด หากสามารถทำได้ ควรแนะนำมารดาควรนอนชั้นล่างของบ้านและมีห้องน้ำอยู่ใกล้ ๆ หรือในห้องเพื่อดูแลเรื่องน้ำคาวปลาและดูแลแผล1 สำหรับมารดาที่ผ่าตัดคลอดหากแผลผ่าตัดในแนวเดียวกับลำตัวหรือแนวตั้ง การขึ้นบันไดจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องที่อาจมีผลทำให้เกิดการเจ็บระบมได้ แต่หากแผลผ่าตัดคลอดในแนวขวางหรือแนวบิกินี จะมีการปวดจากการเกร็งหน้าท้องน้อยกว่า ควรรอประมาณ 1-4 สัปดาห์หลังคลอดขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของแผล และเมื่ออาการปวดระบมแผลดีขึ้น การขึ้นบันไดก็สามารถทำได้
เอกสารอ้างอิง
- ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)