รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? แม้ว่ามารดาส่วนใหญ่เข้าใจว่านมแม่มีประโยชน์ แต่การเลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความเคารพและยอมรับ หากมารดาตัดสินใจหลังจากได้รับข้อมูลเพียงพอ ถูกต้องอย่างเหมาะสมแล้ว ดังนั้น ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ให้คำปรึกษาไม่ควรกดดันหรือบังคับให้มารดาต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากในสัญชาตญาณความเป็นแม่ มารดาอาจรู้สึกผิดอยู่แล้วที่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอด นอกจากนี้ มารดาบางคนอาจรู้สึกต่อต้านกับการกดดันหรือการบังคับให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1 ซึ่งในการให้คำปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ควรมีความเป็นมืออาชีพ????? ซึ่งเคารพสิทธิของผู้ป่วยที่เป็นสิทธิพื้นฐานที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ
เอกสารอ้างอิง
Alianmoghaddam N, Phibbs S, Benn C. Resistance to breastfeeding: A Foucauldian analysis of breastfeeding support from health professionals. Women Birth 2017.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? เมื่อมารดาตั้งครรภ์ หากมารดามาฝากครรภ์ ควรมีการแนะนำและเตรียมความพร้อมให้กับมารดาในกรณีที่มารดาตัดสินใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมารดาส่วนใหญ่ หากได้รับฟังข้อมูลที่เพียงพอและครบถ้วนถึงประโยชน์และความสำคัญของการให้ลูกกินนมแม่ที่จะช่วยทั้งสุขภาพของตัวมารดาเองและต่อลูก มารดามักจะเลือกที่จะให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งการตัดสินใจจะส่งผลต่อความตั้งใจในการที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ อย่างไรก็ตาม การให้คำแนะนำควรมีความต่อเนื่องและให้อย่างเหมาะสมกับช่วงเวลาที่มารดาจะต้องเตรียมตัวสำหรับการให้นมบุตร รวมทั้งในระยะคลอดและแรกคลอด หากมารดาอยู่ในระยะคลอดที่ยังมีอาการเจ็บครรภ์ไม่มาก การแนะนำกระบวนการต่าง ๆ ระหว่างการคลอดที่ช่วยสนับสนุนให้มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เร็ว ได้แก่ การให้ทารกได้รับการโอบกอดสัมผัสเนื้อแนบเนื้อและดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด ซึ่งจะกระตุ้นน้ำนมและระบบฮอร์โมนที่เอื้อต่อการให้นม น้ำนมมารดาจะมาเร็ว ร่วมกับการกระตุ้นให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ดูดจนเกลี้ยงเต้า จะทำให้การสร้างน้ำนมมามากขึ้น ซึ่งต้องทำร่วมกับการสอนการจัดท่าให้นมลูกอย่างเหมาะสมและนัดติดตามช่วยแก้ปัญหาระหว่างการให้นมลูกเป็นระยะ ๆ ดังนั้น จะเห็นว่า กระบวนการการกระตุ้นสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องการความต่อเนื่องตั้งแต่ระยะการดูแลครรภ์ การคลอด หลังคลอด และติดตามไปจนถึงการเยี่ยมบ้านหรือโทรศัพท์ติดตาม โดยกระบวนการเหล่านี้ได้รับการศึกษาว่าช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้1
เอกสารอ้างอิง
Primary Care Interventions to Support Breastfeeding: Recommendation Statement. Am Fam Physician 2017;95:Online.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? การให้นมลูกมีผลดีต่อมารดาในการป้องกันและลดการเกิดมะเร็งเต้านมลงได้ โดยในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมถึงร้อยละ 28 นอกจากนี้ แม้ในกลุ่มมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านม ประวัติของการเคยให้นมลูกก็ยังมีประโยชน์ โดยพบว่า หากมารดาไม่เคยให้นมลูก การพยากรณ์โรคจะไม่ดี 1 น่าคือจะมีโอกาสที่โรคจะลุกลามหรือเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่มีประวัติให้นมลูก ดังนั้น การให้นมลูกจึงอาจถือเป็นวิธีการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมแบบปฐมภูมิคือก่อนที่จะเกิดโรค และยังช่วยลดความรุนแรงหรืออันตรายในกรณีที่มารดาเป็นมะเร็งเต้านม สิ่งนี้อาจคล้ายกับการป้องกันทุติยภูมิ อย่างไรก็ตาม แม้ในมารดาที่มีประวัติการให้นมลูก การตรวจคัดกรองเพื่อเป็นการช่วยให้ได้การวินิจฉัยที่เร็วตั้งแต่ในระยะแรก ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะลดการเสียชีวิตของมารดาลงได้
เอกสารอ้างอิง
Stecklein SR, Reddy JP, Wolfe AR, et al. Lack of Breastfeeding History in Parous Women with Inflammatory Breast Cancer Predicts Poor Disease-Free Survival. J Cancer 2017;8:1726-32.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? เมื่อพูดถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว คำถามที่ต้องถามคือ ความหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้สื่อสารตรงกันหรือไม่ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับมารดาและครอบครัว ซึ่งบางคนยังมีความเข้าใจว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว หมายถึงให้ลูกกินนมแม่โดยไม่มีการให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก บางคนก็เข้าใจว่าให้นมแม่ แต่สามารถให้น้ำร่วมกับการกินนมแม่ได้ มีการศึกษาถึงความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า ?การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว? ของมารดาโดยทบทวนจากงานวิจัยต่าง ๆ ที่เผยแพร่ พบว่า มารดาร้อยละ 70 สามารถตอบคำถามถึงความหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากรายงานที่มีความเข้าใจความหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ต่ำที่สุดพบว่าตอบถูกต้องเพียงร้อยละ 3 ซึ่งต่ำมาก1 ดังนั้น ในการแนะนำมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องให้เวลาอธิบายเพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง และอาจต้องให้แผ่นพับที่บอกรายละเอียดของความหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละรูปแบบ เพื่อประโยชน์ต่อตัวมารดาและทารก และต่อการเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาหาความรู้ในการวิจัยจะได้มีความแม่นยำในการตอบคำถามของการวิจัย ทำให้ความรู้ใหม่ที่ได้น่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ได้จริง
เอกสารอ้างอิง
Still R, Marais D, Hollis JL. Mothers’ understanding of the term ‘exclusive breastfeeding’: a systematic review. Matern Child Nutr 2017;13.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? อาการสะอึกเกิดจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกันของการหายใจกับกระบังลม ซึ่งการกลั้นหายใจระยะหนึ่งแล้วเริ่มต้นใหม่ จะเริ่มจังหวะของการหายใจและบังลมใหม่ที่สอดคล้องกัน ทำให้หายอาการสะอึก ในทารกอาการสะอึกมักพบจากการที่ทารกขณะกินนมได้ดูดอากาศเข้าไปในกระเพาะมากจนรบกวนจังหวะการทำงานของกระบังลม ดังนั้น การแก้ไขเบื้องต้น ควรจับให้ทารกเรอ เพื่อให้ลมในท้องระบายออก อาการสะอึกก็จะดีขึ้น แต่หากทารกไม่ดีขึ้น การที่จะให้ทารกกินน้ำหรือกินนมเพื่อขณะที่ทารกดูดกลืนน้ำหรือนม ทารกจะกลั้นหายใจ การเริ่มต้นใหม่ของจังหวะการทำงานของการหายใจและกระบังลมจะเริ่มต้นใหม่ การสะอึกก็จะหายไป แต่การเลือกที่จะให้น้ำแก่ทารกนั้น แม้จะดูว่าไม่มีอันตรายใด ๆ แต่ทารกจะขาดการได้ประโยชน์จากการกินนมแม่สูงสุด เนื่องจากการกินน้ำเข้าไป จะทำให้ทารกอิ่มน้ำและกินนมได้น้อยลง ค่านิยมเรื่องความเชื่อในการให้ลูกกินน้ำในระยะหลังคลอดยังพบได้มากในประเทศไทย เช่นเดียวกันกับการศึกษาที่ทำที่ประเทศเม็กซิโก ซึ่งมีความเชื่อว่า ทารกต้องกินน้ำเพื่อช่วยลดการกระหาย1 ความเชื่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อบุคลากรทางการแพทย์ที่จะต้องปรับเปลี่ยน รณรงค์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อให้ทารกได้คุณค่าของนมแม่ที่ประโยชน์เต็มที่จากการกินนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก
เอกสารอ้างอิง
Swigart TM, Bonvecchio A, Theodore FL, Zamudio-Haas S, Villanueva-Borbolla MA, Thrasher JF. Breastfeeding practices, beliefs, and social norms in low-resource communities in Mexico: Insights for how to improve future promotion strategies. PLoS One 2017;12:e0180185.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)