เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

การเตรียมความพร้อมสำหรับมารดาที่จะกลับบ้าน

DSC00035

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?-บันไดขั้นที่ 10 สู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เขียนไว้ว่า ?จัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และส่งต่อมารดาเข้ากลุ่มหลังออกจากโรงพยาบาลหรือคลินิก?

-สิ่งสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะต้องมีอย่างต่อเนื่องในชุมชนและพร้อมรอรับการส่งต่อเมื่อมารดาได้กลับบ้าน

-ในบางชุมชน มารดาจะได้รับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างดีจากเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว แต่หากไม่มี การจัดกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนจะช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-ก่อนที่มารดาจะกลับบ้าน มารดาจะต้อง

  • สามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเอง
  • เข้าใจความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน และเริ่มอาหารเสริมโดยคงการให้นมแม่ต่อเนื่องต่อไปได้จนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น
  • สามารถจะสังเกตได้ว่า การให้นมแม่ทำได้ดีหรือไม่
  • รู้วิธีที่จะขอความสนับสนุนเมื่อมารดาต้องการความช่วยเหลือหลังจากกลับบ้าน

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การใช้ยากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ยา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?-หากมารดาต้องใช้ยา ควรแจ้งแพทย์ว่าให้นมลูกอยู่ โดยปกติแพทย์จะสามารถจะเลือกใช้ยาที่มีความปลอดภัยในการใช้ระหว่างการให้นมลูกได้ ยาส่วนใหญ่จะผ่านน้ำนมน้อยและมีผลต่อทารกน้อย ดังนั้นการหยุดให้นมแม่อาจจะมีอันตรายต่อทารกมากกว่าการใช้ยา

-ยาที่มารดาใช้มักมีผลต่อทารกที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่หรือทารกที่อายุอ่อนกว่า 2 เดือนมากกว่าทารกที่อายุแก่กว่า ดังนั้นในการรักษามารดาควรเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-หากมารดาต้องใช้ยาและบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มั่นใจ ควรปฏิบัติดังนี้

  • กระตุ้นให้มารดายังคงให้นมแม่ไปก่อน ขณะที่หาข้อมูลเพิ่มเติม
  • สังเกตอาการข้างเคียงในทารก ได้แก่ ง่วงนอนผิดปกติ ไม่อยากกินนมแม่ ตัวเหลือง โดยเฉพาะหากมารดาจำเป็นต้องใช้ยาเป็นช่วงเวลานาน
  • ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการใช้ยาระหว่างให้นมลูกจากรายการยาขององค์กรอนามัยโลกหรือฐานข้อมูลอื่นที่เชื่อถือได้
  • สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่หรือเภสัชกร ซึ่งจะทำให้พบทางเลือกในการรักษาที่ปลอดภัยในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • หากทารกได้รับอาการข้างเคียงของยาและยาของมารดาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ การพิจารณาการป้อนนมผสมด้วยถ้วยชั่วคราว อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง

-การใช้ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพรหรือวิธีการรักษาอื่นๆ อาจจะมีผลข้างเคียงกับทารก ควรจะหาข้อมูลรายละเอียดของการรักษาโดยเฉพาะที่ใช้บ่อยในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งการกระตุ้นให้มารดาคงการให้นมแม่ไปก่อนและสังเกตอาการข้างเคียงที่เกิดในทารกยังเป็นสิ่งที่จำเป็น

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ขณะที่มารดาป่วย มีสถานการณ์ใดที่จำเป็นต้องให้อาหารอื่นทดแทนนมแม่?

obgyn3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? –มีสถานการณ์น้อยมากที่จำเป็นต้องให้อาหารอื่นทดแทนนมแม่ขณะที่มารดาป่วย สิ่งสำคัญจะต้องแยกให้ได้ว่า การเจ็บป่วยของมารดาเป็นข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ หรือความเจ็บป่วยของมารดาทำให้สภาพแวดล้อมที่จะให้นมแม่ได้มีความยากลำบากมากขึ้น

-การนอนโรงพยาบาลไม่ได้เป็นข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อมารดาป่วยและจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ทารกสามารถจะอยู่ร่วมกับมารดาได้ โดยหากมีความช่วยเหลือของครอบครัวด้วย ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะดีขึ้น

-ในมารดาที่ใช้สารเสพติด ได้แก่ นิโคติน แอลกอฮอล์ ยาบ้า ฝิ่น โคเคน สารเหล่านี้จะผ่านทางน้ำนมและมีผลต่อทารกได้ มารดาควรจะหยุดสารเสพติดเหล่านี้ และจะใช้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นโอกาสดีในการเลิกสารเสพติดเหล่านี้

-หากมารดาป่วยเป็นโรคติดต่อที่พบบ่อย ได้แก่ เป็นหวัด เจ็บคอ ท้องเสีย ทารกจะมีความเสี่ยงบ้างในการติดเชื้อผ่านทางการสัมผัสและการไอจาม แต่การคงการให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง ทารกจะได้ภูมิคุ้มกันที่จะป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งความเสี่ยงอาจจะต่ำกว่าการหยุดการให้นมลูกและมารดายังมีการสัมผัสกับทารกอยู่ ในมารดาที่เป็นวัณโรค ไวรัสตับอักเสบบี หรือเต้านมอักเสบ ก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-หากมารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ การใช้แม่นม (ที่มีผลการตรวจเอชไอวีเป็นลบ) หรือการพลาสเจอไรส์นมแม่ อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

การแนะนำช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะมารดาป่วย

01_991

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การช่วยเหลือมารดาให้สามารถให้นมลูกได้ ขณะมารดาป่วย มีดังนี้

-อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของการคงการให้นมลูก ขณะที่มารดาป่วย

-ให้มารดาและทารกได้อยู่ร่วมกัน ลดการพลัดพรากและแยกจากกัน

-ให้มารดาได้รับน้ำที่เพียงพอ โดยเฉพาะมารดาที่มีไข้

-ช่วยให้มารดาจัดท่าที่เหมาะสมในการให้นมลูกเพื่อความสบายในขณะให้นม

-หากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ยากหรือมารดาอ่อนแอเกินไป การบีบเก็บน้ำนมและป้อนนมด้วยถ้วยอาจจะช่วยได้ และทำให้มารดากลับมาให้นมลูกได้อีกครั้งเมื่ออาการดีขึ้น

-เลือกวิธีการรักษาหรือยาที่ปลอดภัยให้มารดาสามารถให้นมลูกต่อไปได้ขณะที่ป่วย

-ช่วยมารดาให้กลับมาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ หากในระหว่างที่มารดาเจ็บป่วยที่ต้องมีการลดหรือเว้นการให้นมบุตร

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การบริหารจัดการการให้นมลูกขณะมารดาป่วย

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำถาม จะบอกมารดาเรื่องการให้นมลูกอย่างไร ขณะมารดาป่วย?

-มารดาสามารถให้นมลูกได้เกือบทุกกรณีในขณะที่มารดาป่วย มีประโยชน์หลายประการในการคงการให้นมลูกอย่างต่อเนื่องขณะมารดาป่วย ได้แก่

  • มารดาจะสร้างภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งจะผ่านจากน้ำนมไปสู่ลูก ทำให้ลูกมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นด้วย
  • การหยุดให้นมทันทีจะทำให้มารดาเจ็บคัดเต้านม และอาจทำให้มีไข้ได้
  • ทารกอาจจะแสดงอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย หากมารดาหยุดให้นมทันที
  • จะเป็นเรื่องยากที่มารดาจะกลับไปให้นมลูกอีกครั้งหลังจากหยุดให้นมเมื่อฟื้นตัวหายจากอาการเจ็บป่วยแล้ว ร่วมกับปริมาณน้ำนมที่สร้างก็ลดลงด้วย
  • การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นการปล่อยให้ทารกต้องผจญกับความเสี่ยงภัยในการกินนมผสม
  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นภาระงานที่น้อยกว่าการให้ลูกกินนมผสมที่มารดาจะชงนม นั่งประกบกับทารกขณะให้นมขวด และต้องดูแลความสะอาดพร้อมนึ่งขวดนม
  • มารดาและทารกสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมารดาจะรู้ว่าลูกปลอดภัยและมีความสุข
  • ทารกยังคงได้รับประโยชน์จากการกินนมแม่ที่จะช่วยป้องกันโรค มีคุณค่าของสารอาหารครบถ้วน มีการเจริญเติบโตและการพัฒนาการที่ดี และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ เมื่อททารกเติบโตขึ้นน้อยกว่า

-มารดาที่เจ็บป่วยเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เช่น มารดาที่เป็นเบาหวานและมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดที่รบกวนการให้นมลูก แต่หากได้รับการแนะนำช่วยเหลืออย่างเหมาะก็สามารถให้นมลูกได้

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009