เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

น้ำนมไม่พอกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

DSC00115

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?น้ำนมไม่พอกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นปัญหาของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจากการศึกษาพบเป็นปัญหาเพียงร้อยละ 5 แต่มารดารู้สึกว่าน้ำนมไม่พอถึงร้อยละ 501 ในการศึกษาของประเทศไทย พบเป็นสาเหตุในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พบบ่อยรองจากการกลับไปทำงานของมารดา2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Hector D, King L. Interventions to encourage and support breastfeeding. N S W Public Health Bull 2005;16:56-61.

2.??????????? Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health sci 2009;16:116-23.

 

ทารกน้ำหนักตัวน้อยกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ทารกคลอดก่อนกำหนด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ทารกน้ำหนักตัวน้อยกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การที่ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยจะมีความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีหากทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม2 ปัจจัยที่จะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่น้ำหนักตัวน้อย คือ การเริ่มให้อาหารทางปากเร็ว3 การให้ทารกดูดจากเต้าหลังการปั๊มนมออก (non-nutritive sucking)4 และการให้ผิวทารกสัมผัสกับมารดาในลักษณะเหมือนจิงโจ้ (kangaroo care)5

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Lee TY, Lee TT, Kuo SC. The experiences of mothers in breastfeeding their very low birth weight infants. J Adv Nurs 2009;65:2523-31.

2.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

3.??????????? Mamemoto K, Kubota M, Nagai A, et al. Factors associated with exclusive breastfeeding in low birth weight infants at NICU discharge and the start of complementary feeding. Asia Pac J Clin Nutr 2013;22:270-5.

4.??????????? Pimenta HP, Moreira ME, Rocha AD, Gomes Jr SC, Pinto LW, Lucena SL. Effects of non-nutritive sucking and oral stimulation on breastfeeding rates for preterm, low birth weight infants: a randomized clinical trial. J Pediatr (Rio J) 2008;84:423-7.

5.??????????? Almeida H, Venancio SI, Sanches MT, Onuki D. The impact of kangaroo care on exclusive breastfeeding in low birth weight newborns. J Pediatr (Rio J) 2010;86:250-3.

 

ทารกคลอดก่อนกำหนดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ทารกคลอดก่อนกำหนดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาในด้านการดูดและการกลืนซึ่งส่งผลต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,2และมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3 พบในทารกคลอดก่อนกำหนดเล็กน้อย (late preterm) มีความเสี่ยงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยากเพิ่มขึ้นเป็น 1.72 เท่า (95%CI 1.24-2.38)4 โดยปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนดคือ การเริ่มปั๊มนมก่อน 12 ชั่วโมงหลังคลอด สำหรับการป้อนนมด้วยถ้วย5 การให้ทารกดูดจากเต้าหลังการปั๊มนมออก (non-nutritive sucking)6 การตรวจทดสอบน้ำหนักของทารก (test-weighing) และการงดการใช้จุกนมเทียมจะช่วยในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว7

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? da Costa SP, van der Schans CP, Zweens MJ, et al. The Development of Sucking Patterns in Preterm, Small-for-Gestational Age Infants. The Journal of Pediatrics 2010;157:603-9.e3.

2.??????????? Ayton J, Hansen E, Quinn S, Nelson M. Factors associated with initiation and exclusive breastfeeding at hospital discharge: late preterm compared to 37 week gestation mother and infant cohort. Int Breastfeed J 2012;7:16.

3.??????????? Ladomenou F, Kafatos A, Galanakis E. Risk factors related to intention to breastfeed, early weaning and suboptimal duration of breastfeeding. Acta Paediatr 2007;96:1441-4.

4.??????????? Nagulesapillai T, McDonald SW, Fenton TR, Mercader HF, Tough SC. Breastfeeding difficulties and exclusivity among late preterm and term infants: results from the all our babies study. Can J Public Health 2013;104:e351-6.

5.??????????? Yilmaz G, Caylan N, Karacan CD, Bodur I, Gokcay G. Effect of cup feeding and bottle feeding on breastfeeding in late preterm infants: a randomized controlled study. J Hum Lact 2014;30:174-9.

6.??????????? Pimenta HP, Moreira ME, Rocha AD, Gomes Jr SC, Pinto LW, Lucena SL. Effects of non-nutritive sucking and oral stimulation on breastfeeding rates for preterm, low birth weight infants: a randomized clinical trial. J Pediatr (Rio J) 2008;84:423-7.

7.??????????? Maastrup R, Hansen BM, Kronborg H, et al. Factors associated with exclusive breastfeeding of preterm infants. Results from a prospective national cohort study. PLoS One 2014;9:e89077.

 

ภาวะลิ้นติดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

baby-crying-colic

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ภาวะลิ้นติดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่งผลให้เกิดการเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดีและการหยุดนมแม่เร็ว ในประเทศไทยพบภาวะลิ้นติดร้อยละ 13.4 ของการคลอด1 มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-892,3 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-952,4-6 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 37 และมีคะแนนการเข้าเต้าต่ำกว่าทารกปกติอย่างมีนัยสำคัญ1 โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ5,6,8 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 162 การผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 655 สำหรับการหยุดนมแม่เร็ว พบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า9

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

2.??????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

3.??????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

4.??????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

5.??????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

6.??????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

7.??????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

8.??????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

 

ทารกมีความผิดปกติของช่องปากและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

01_991

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ทารกมีความผิดปกติของช่องปากและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกที่มีความผิดปกติของช่องปากที่มีผลต่อกลไกการอ้าปาก การเข้าเต้า และการดูดนมมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่มีผลต่อการเข้าเต้าและการดูดนมของทารก โดยทารกที่มีเพดานโหว่จะมีปัญหาเรื่องการดูดนมโดยจะสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมไม่ได้1 นอกจากนี้ทารกที่มีคางเล็กหรือลิ้นใหญ่คับปากอาจมีความลำบากในการเข้าเต้าด้วย เช่น ทารกกลุ่มอาการดาวน์ ในทารกที่มีความผิดปกติของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงอาจมีต่อการอ้าปาก อมหัวนมและการดูดนมเช่นเดียวกัน

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Arosarena OA. Cleft Lip and Palate. Otolaryngologic Clinics of North America 2007;40:27-60.