เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

การหลีกเลี่ยงและการแก้ปัญหาเต้านมคัดหลังคลอด

milk expression5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? บุคลากรทางการแพทย์สามารถจะช่วยมารดาหลีกเลี่ยงการเกิดการตึงคัดเต้านมได้ โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ การให้ทารกสัมผัสผิวกับมารดาหลังคลอดทันที การให้ทารกกินนมแม่จากเต้านมภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด การช่วยเหลือมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเพื่อทำให้มั่นใจว่ามารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าและให้นมลูกได้ การสอนการบีบเก็บน้ำนม การให้ทารกได้อยู่กับมารดาตลอด 24 ชั่วโมง การกระตุ้นให้ให้นมลูกบ่อยตามความต้องการของทารกทั้งกลางวันและกลางคืน (อย่างน้อย 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง) และการไม่ให้มารดาใช้ขวดนม จุกนมเทียมหรือหัวนมหลอกกับทารกแทนการดูดนมจากเต้านม

สำหรับการลดอาการตึงคัดเต้านม มีความจำเป็นต้องให้ทารกดูดนมหรือบีบนมออก โดยการปฏิบัตินี้จะช่วยลดความอึดอัดหรือไม่สบายตัวของมารดา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้แก่ เต้านมอักเสบหรือฝีที่เต้านม ช่วยให้มั่นใจว่าการสร้างน้ำนมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ทารกสามารถกินนมแม่ได้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องตรวจสอบการเข้าเต้าของมารดาว่า ทารกเข้าเต้าได้ดีหรือไม่ ถ้าการเข้าเต้าไม่ดี ควรช่วยทารกให้เข้าเต้าได้ดีเพียงพอที่จะทำให้ดูดนมออกจากเต้านมได้พร้อมแนะนำมารดาว่าควรบีบนมด้วยมือด้วยตนเองก่อนการให้ทารกดูดนม เพื่อให้หัวนมและลานนมไม่ตึงและง่ายในการเข้าเต้า แต่หากการให้ทารกดูดนมอย่างเดียวยังช่วยลดการตึงคัดเต้านมไม่ดี แนะนำให้มารดาบีบน้ำนมด้วยมือออกระหว่างมื้อการให้นมทารกจนกระทั่งเต้านมลดการคัดตึง การกระตุ้นให้มารดาให้นมลูกบ่อยๆ ถ้าให้ได้นมไม่มาก กระตุ้นให้มารดาให้นมทารกบ่อยและนานตามความต้องการของทารก การบรรเทาอาการปวดหรือตึงคัดเต้านมด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ การฝังเข็ม (acupuncture) การประคบด้วยใบกระหล่ำปลี (cabbage leaves) แช่เย็น การประคบเย็นระหว่างมื้อการให้นมทารก การให้ออกซิโตซินฉีดใต้ผิวหนัง และการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงน่าจะช่วยลดอาการปวดจากการตึงคัดเต้านมได้ แต่ข้อมูลจากการศึกษายังไม่สามารถสรุปได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบต่อไป1,2 สำหรับการปฏิบัติตัวที่ช่วยให้มารดาผ่อนคลาย ทำได้โดยการอาบน้ำอุ่น การนวดหลังหรือต้นคอที่ทำให้มารดาผ่อนคลายอาจช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น ในมารดาที่มีเต้านมใหญ่ขึ้นมากอาจต้องการการพยุงเต้านมเพื่อช่วยให้สบายขึ้น นอกจากนี้ ควรจัดบรรยากาศที่เอื้อในสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยสร้างความมั่นใจให้กับมารดาว่าการตึงคัดเต้านมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ไม่น่ากังวล และจะค่อยๆ หายไป

หนังสืออ้างอิง

  1. Mangesi L, Dowswell T. Treatments for breast engorgement during lactation. Cochrane Database Syst Rev 2010:CD006946.
  2. Chapman DJ. Evaluating the evidence: is there an effective treatment for breast engorgement? J Hum Lact 2011;27:82-3.

 

 

การตึงคัดเต้านมหลังคลอด

images123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? อาการของตึงคัดเต้านม มักจะพบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด เมื่อน้ำนมเริ่มมา การไหลเวียนของเลือดจะมาเลี้ยงเต้านมมากขึ้นพร้อมกันกับการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น เต้านมจะรู้สึกอุ่น ตึง และหนัก ลักษณะนี้จะเป็นลักษณะปกติ เพื่อลดการตึงคัด มารดาควรให้ทารกดูดนมบ่อยๆ และประคบเย็นที่เต้านมระหว่างมื้อของการให้นม เมื่อผ่านไปสองถึงสามวัน น้ำนมจะผลิตตามความต้องการของทารก

การตึงคัดเต้านม หากน้ำนมไม่ได้ถูกดูดหรือบีบออก น้ำนม เลือด และน้ำเหลืองจะคั่งอยู่ในเต้านม ทำให้การไหลของนมไม่ดีจากการบวมหรือบวมน้ำ เต้านมก็จะรู้สึกร้อน แข็ง และปวด ซึ่งจะมองดูตึงและเป็นประกาย หัวนมก็อาจจะยึดตึงและแบนราบลง ทำให้ยากในการที่ทารกจะอ้าปากอมหัวนมและลานนม? จนทำให้เกิดอาการเจ็บหัวนมได้ หากอาการตึงคัดยังเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง กลไกของปฏิกิริยาตอบกลับจะลดการสร้างน้ำนมลง

สาเหตุของการตึงคัดเต้านม อาจรวมถึงการเริ่มต้นการให้นมลูกหลังทารกเกิดช้า การเข้าเต้าไม่ดี ทำให้การดูดนมออกจากเต้านมไม่มีประสิทธิภาพ การให้นมในแต่ละครั้งสั้นเกินไป ห่างเกินไป และอาจจะไม่ได้ให้นมในช่วงกลางคืน1

 

หนังสืออ้างอิง

  1. Chapman DJ. Evaluating the evidence: is there an effective treatment for breast engorgement? J Hum Lact 2011;27:82-3.

 

 

 

การตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังคลอด

b1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การตรวจเต้านมด้วยตนเอง มารดาควรตรวจเต้านมทุกวันในขณะที่อาบน้ำ การตรวจเต้านมขณะมารดายังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรให้นมให้เต้านมลดการคัดตึงลงก่อน หากในรายที่มีประจำเดือนมาแล้ว ควรตรวจเต้านมในวันที่ 5-7 หลังมีประจำเดือน ในกรณีที่พบคลำได้ก้อน ขณะให้นมลูก ส่วนใหญ่จะเป็นก้อนจากน้ำนมขังซึ่งจะหายไปเอง หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรกระตุ้นให้มารดาตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังคลอด1

หนังสืออ้างอิง

  1. Strelnick EG. Postpartum care: an opportunity to reinforce breast self-examination. MCN Am J Matern Child Nurs 1982;7:249-52.

 

 

ภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด

w19

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? หลังคลอดมารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจมีอาการเสียใจ ร้องไห้โดยไม่สมเหตุสมผล และไม่สามารถรับได้กับการต้องนำลูกมาเลี้ยง สิ่งเหล่านี้ต้องการการเอาใจใส่จากสามีและครอบครัว สนับสนุน ช่วยเหลือในด้านต่างๆ รวมทั้งการดูแลลูก อาการเหล่านี้มักค่อยๆ ดีขึ้นและหายเองโดยไม่ต้องใช้ยา หากอาการเป็นอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีผลดีต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยพบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้1-3

หนังสืออ้างอิง

  1. Figueiredo B, Canario C, Field T. Breastfeeding is negatively affected by prenatal depression and reduces postpartum depression. Psychol Med 2014;44:927-36.
  2. Tashakori A, Behbahani AZ, Irani RD. Comparison Of Prevalence Of Postpartum Depression Symptoms Between Breastfeeding Mothers And Non-breastfeeding Mothers. Iran J Psychiatry 2012;7:61-5.
  3. Mawson AR, Xueyuan W. Breastfeeding, retinoids, and postpartum depression: a new theory. J Affect Disord 2013;150:1129-35.

 

 

การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดของมารดาหลังคลอด

w39

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?หลังคลอดเมื่ออาการปวดแผลลดลง มารดาสามารถบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดได้ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น ลดภาวะกระบังลมหย่อน1 โดยทำได้ทั้งในท่ายืน ท่านั่งหรือท่านอน การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดทำโดยการขมิบช่องคลอด การขมิบช่องคลอดที่ถูกต้อง อาจสังเกตจากขณะปัสสาวะ หากทำการขมิบจะกลั้นปัสสาวะปัสสาวะได้ หยุดขมิบจะปัสสาวะต่อได้ การขมิบหรือเกร็งกล้ามเนื้อจะทำสองถึงสามวินาทีและผ่อนคลาย ทำเป็นชุดต่อเนื่องกันชุดละ 5 ครั้ง วันละ 50-100 ชุด การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน จะทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดแข็งแรงและกระชับดีขึ้น

หนังสืออ้างอิง

  1. Davies GA, Wolfe LA, Mottola MF, et al. Exercise in pregnancy and the postpartum period. J Obstet Gynaecol Can 2003;25:516-29.