เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

การสนับสนุนจากภาคเอกชนในเชิงนโยบายเพื่อการให้นมแม่อย่างต่อเนื่องหลังหกเดือน

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เอกชนเป็นส่วนร่วมที่สำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งต้องมีการสื่อสารให้เห็นถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีผลต่อทารกที่จะทำให้ทารกสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้เจ็บป่วยน้อย ทำให้มารดาลดความวิตกกังวล มีสมาธิในการทำงาน ลดการลางานเพื่อดูแลทารกที่เจ็บป่วย ทำให้ภาพรวมของการทำงานดีขึ้น ร่วมกับการใส่ใจกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรและครอบครัวของบริษัทหรือผู้ประกอบการจะทำให้บุคลากรมีความรักต่อองค์กรมากขึ้น ทำให้ส่งผลต่อความก้าวหน้าขององค์กรดีขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเอื้อให้มุมมองการบริหารทรัพยากรขององค์กร โดยการสนับสนุนให้ลูกได้กินนมแม่ อาจดำเนินการได้ดังนี้

การสนับสนุนในเชิงนโยบาย ได้แก่

-นโยบายการให้บุคลากรลาคลอดบุตรและลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามสิทธิที่สนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดสรรและบริหารจัดการให้มีเพิ่มบุคลากรทดแทนชั่วคราวที่เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยไม่ทำให้บุคลากรต้องวิตกว่าจำเป็นต้องกลับทำงานก่อนกำหนดการลาเนื่องจากไม่มีคนทำงานแทน หรือเกรงใจเพื่อนที่ต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นแทน

-นโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในองค์กร โดยจัดสรรให้มารดาผู้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้มีเวลาพักทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อบีบหรือปั๊มนม โดยอาจจัดสถานที่ที่เหมาะสมในการบีบหรือปั๊มนม มีตู้เย็นที่ไว้เก็บรักษานมแม่ หรือในบางแห่งอาจจัดบริการการดูแลทารกและเด็กเล็กให้บุคลากรนำลูกมาฝากเลี้ยงในเวลากลางวัน ซึ่งระหว่างช่วงพักงานให้มารดามาให้นมลูกได้

 

การสนับสนุนจากภาครัฐในทางปฏิบัติเพื่อการให้นมแม่อย่างต่อเนื่องหลังหกเดือน

13749112721374911362l

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? สิ่งที่รัฐบาลควรให้การสนับสนุนในการปฏิบัติ ได้แก่

-โรงพยาบาลของรัฐบาลทุกโรงพยาบาล ควรดำเนินการตามนโยบายที่กำหนด โดยการจัดระบบการส่งต่อข้อมูลการดำเนินงานให้เอื้อต่อการตรวจเยี่ยมติดตามการพัฒนาการ และการสนับสนุนให้เกิดเป็นโครงสร้างงานและภาระงานที่ต้องกำหนดผู้รับผิดชอบในหน่วยงานที่ชัดเจน เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ชัดเจน มีกำลังคน เครื่องมืออุปกรณ์เพียงพอ และมีการจัดสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงของผู้รับบริการ

-สนับสนุนสถานศึกษาเปิดหลักสูตรอบรมผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-สนับสนุนการสร้างทีมงานบุคลากรนมแม่ในโรงพยาบาล เพื่อเป็นแกนนำ ให้คำปรึกษา เก็บข้อมูล เรียนรู้และพัฒนางานนมแม่

-สนับสนุนการสร้างเครือข่ายในชุมชน โดยการสนับสนุนงบประมาณในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนนมแม่ ซึ่งหากชุมชนเข้มแข็งสามารถขอสนับสนุนการดำเนินการเป็นชุมชนนมแม่ได้ โดยกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในการดำเนินงานและติดตามที่ชัดเจน เหมาะสม และต่อเนื่อง มีการชื่นชม ให้ประกาศนียบัตรสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือคุณแม่อาสาที่เป็นต้นแบบหรือช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-สนับสนุนสื่อต่างๆ ของภาครัฐเพื่อช่วยสร้างกระแสสังคมนมแม่ โดยการให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นขั้นตอนปกติที่มารดาทุกคนควรให้แก่ลูก สร้างตัวแทนนมแม่ในสังคม หรือมอบรางวัลช่วยเด็กไทยได้กินนมแม่ และสร้างกิจกรรมต่างๆ ที่ต่อเนื่องในสังคมเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมนมแม่

การสนับสนุนจากภาครัฐในเชิงนโยบายเพื่อการให้นมแม่อย่างต่อเนื่องหลังหกเดือน

Mom3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การพัฒนาคุณภาพของคนเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ การเจริญและพัฒนาการของสมองของมนุษย์จะมีมากในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต ดังนั้นการบริหารจัดการให้ทารกได้สิ่งที่ได้ที่สุดที่จะสร้างสรรค์ให้มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายที่เหมาะสมและมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งต้องได้จากการกินนมแม่ การบริหารจัดการต่างๆ ควรมีส่วนเอื้อ สนับสนุน หรือส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายได้ โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

การสนับสนุนในเชิงนโยบาย ได้แก่

-รัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายให้ ?เด็กไทยได้กินนมแม่จนถึงสองปี? โดยในช่วงหกเดือนแรกให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียว ซึ่งหากมีนโยบายที่ชัดเจน การสื่อสารให้กับหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ ให้เข้าใจตรงกันและสื่อสารในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่องจนสามารถสร้างกระแสหรือค่านิยมในสังคมได้

-รัฐบาลสามารถออกกฎหมายเอื้อให้มารดาและครอบครัวได้สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด โดยในปัจจุบันมีการลาคลอดบุตรและการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ซึ่งควรจะมีการสื่อสารในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลงไปในการลาให้ชัดเจน เช่น การลาคลอดบุตรและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือจัดแยกการลาเป็นการลาคลอดบุตรซึ่งมีระยะเวลากำหนดไว้ โดยในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถลาเพิ่มเติมได้ และในการลาของสามี สามีลาไปช่วยเหลือภริยาคลอดบุตร และสามารถลาไปช่วยเหลือภริยาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ การลาในมารดาที่ทำงานเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ? หรือลูกจ้างที่สามารถลาได้ในช่วง 45-60 วันโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน ยังไม่สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ต้องการให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน ซึ่งปัญหาของการหยุดนมแม่ก่อนหกเดือนที่พบอันดับแรกคือ การกลับไปทำงานของมารดา นโยบายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด ควรจะสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน สำหรับการบริหารจัดการให้สามารถมีเงินเดือนจ่ายในช่วงลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจทำได้ในลักษณะของการออมเงินในลักษณะคล้ายประกันสังคม และเป็นสิทธิที่หากออกเป็นกฎหมายจะช่วยให้เป้าหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนดีขึ้น

-การออกกฎหมายหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (The International Code of Marketing of Breast-milk Substitutes หรือ code) สิ่งนี้จะช่วยป้องกันการใช้ตลาดที่มีผลต่อมารดาและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจหยุดนมแม่หรือเลือกที่กินนมผสม1 ร่วมกับให้มีการติดตามควบคุมให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

-กำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานของสถานพยาบาลทั่วประเทศเพื่อเรียนรู้ ติดตาม พัฒนาระบบข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศ โดยเอื้อให้มีการเผยแพร่และเข้าถึงได้ง่าย เพื่อการพัฒนาศึกษาและวิจัย

-สนับสนุนการเปิดสถานฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะให้ความรู้หรือเป็นที่ปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประจำหน่วยงานหรือโรงพยาบาล

-จัดทำโครงสร้างงานการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสร้างบันไดอาชีพของบุคลากรในงาน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีการรับรองภาระงานที่ชัดเจน ประเมินความก้าวหน้าในอาชีพได้ มีค่าตอบแทนเทียบเท่ากับกลุ่มชำนาญการที่มีความขาดแคลนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ได้พัฒนางานได้อย่างมีกำลังใจและมีศักดิ์ศรี

-สนับสนุนงบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ และตำแหน่งบุคลากรที่ดำเนินการในโครงสร้างงานที่ให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-สนับสนุนงบประมาณงานวิจัยที่พัฒนาความรู้ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

  1. Sokol E, Clark D, Aguayo VM. Protecting breastfeeding in West and Central Africa: over 25 years of implementation of the International Code of Marketing of Breastmilk Substitutes. Food Nutr Bull 2008;29:159-62.

 

การให้นมแม่อย่างต่อเนื่องหลังหกเดือน

milk expression8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? หลังจากให้นมแม่อย่างเดียวกับทารกจนครบหกเดือน และเริ่มให้อาหารอื่นเพิ่มเติมแล้ว นมแม่ยังคงมีประโยชน์ มารดาจำเป็นต้องให้ทารกดูดนมอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของทารกไปจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น การที่สามารถจะให้นมได้สองปีหรือนานกว่านั้น มารดาต้องมีความรู้และเห็นความสำคัญของนมแม่และมีทัศนคติที่ดีต่อการให้นมแม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะได้จากมารดาและครอบครัวที่มีความสนใจด้วยตนเอง อีกส่วนหนึ่งจะได้จากบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีต่อนมแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยค่านิยม สื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต และการสนับสนุนจากสังคมทั้งในภาครัฐและเอกชน

 

การให้อาหารทารกเพิ่มจากนมแม่หลังหกเดือน

images3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? การให้อาหารทารกเพิ่มจากนมแม่หลังหกเดือนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้นเพียงพอกับการเจริญเติบโตของทารก ให้ทารกได้ฝึกการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว (semisolid food) เพื่อปรับตัวในการกินอาหารจนกระทั่งสามารถกินอาหารได้เหมือนผู้ใหญ่โดยมีสุขลักษณะนิสัยในการกินที่เหมาะสม

เมื่อทารกอายุหกเดือนจะมีความพร้อมของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท โดยทารกจะใช้ลิ้นช่วยในการกลืนอาหารได้ มีการเพิ่มการสร้างน้ำย่อยอะไมเลส (amylase) ที่ใช้ย่อยอาหารจำพวกแป้งและไลเปส (lipase) ที่ใช้ย่อยอาหารจำพวกไขมันจากตับอ่อน มีการเพิ่มการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร และเพิ่มการสร้างเปปซิน (pepsin) ที่ใช้ในย่อยอาหารจำพวกโปรตีนจากกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้การย่อยและการดูดซึมทำได้ดี ซึ่งในทารกที่อายุน้อยจะมีข้อจำกัดในการทำงานของตับอ่อน1 ขณะเดียวกันทารกจะมีความพร้อมในด้านการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยการทำงานของไตจะกำจัดยูเรีย ฟอสฟอรัส และโซเดียมออกทางปัสสาวะได้ดีขึ้น ซึ่งปริมาณของเสียเหล่านี้จะสูงในกรณีที่กินอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณที่มาก

ลักษณะของอาหารที่เริ่มให้กับทารกหลังหกเดือน เมื่อทารกเติบโตขึ้นความต้องการพลังงานจะสูงขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้พลังงานเพิ่มเติมจากอาหารที่เพิ่มให้ อาหารที่จะให้แก่ทารกควรมีความหลากหลาย โดยลักษณะของอาหารในระยะแรกจะเป็นอาหารที่บดละเอียด แล้วปรับเป็นบดหยาบขึ้นเพื่อให้ทารกได้คุ้ยเคยและปรับตัวกับลักษณะของอาหารจนลักษณะอาหารเหมือนวัยผู้ใหญ่ ไม่จำเป็นต้องปั่นอาหารเพราะทารกจะไม่ได้ฝึกปรับตัวกับการย่อยอาหาร จำนวนมื้อของอาหารจะเริ่มให้ 1-2 มื้อเมื่อทารกอายุ 6-8 เดือน เพิ่มเป็น 2-3 มื้อเมื่ออายุ 9-11 เดือน และเป็น 3 มื้อเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาถึงความรู้ของมารดาเกี่ยวกับอาหารที่เพิ่มให้กับทารก พบว่ามารดามีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการให้ชนิดและคุณค่าของอาหารที่จะเพิ่มให้กับทารกแตกต่างจากที่นักโภชนาการแนะนำ2,3 และรสชาติของอาหารที่เสริมให้กับทารกยังมีบทบาทต่อการยอมรับของทารกด้วย4 ดังนั้นการให้ความรู้ความเข้าใจกับมารดาในการเริ่มให้อาหารเพิ่มกับทารกพร้อมตัวอย่างที่ชัดเจนและมีทางเลือกที่หลากหลายมีความจำเป็น5 สำหรับการติดตามการเจริญเติบโตของทารกยังคงใช้น้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มเทียบกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของทารก ข้อมูลที่จำเพาะในแต่ละพื้นที่ควรมีการนำเสนอให้กับมารดาทราบ ได้แก่ ในพื้นที่ที่มีการขาดไอโอดีน ควรมีการเสริมไอโอดีนในอาหารหรือน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากไอโอดีนมีความจำเป็นในพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง6 ในพื้นที่ที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก7-9 อาจพิจารณาให้อาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อสัตว์10,11 ตับ เลือดและไข่แดง หรือผสมธาตุเหล็กในน้ำที่ใช้ทำอาหารสำหรับทารก12 ในพื้นที่ที่มีการขาดธาตุสังกะสีควรเริ่มอาหารเสริมที่มีเนื้อสัตว์ตั้งแต่เริ่มแรก13,14 และในพื้นที่ที่มีภาวะขาดวิตามินเอ อาจให้ตับ ไข่ แดง ฟักทอง แครอท มะละกอสุกเพิ่มขึ้น ในบางพื้นที่พบว่า ความหลากหลายของอาหารที่ให้ยังไม่ครบถ้วน โดยมีการให้อาหารที่มีส่วนผสมของผักและเนื้อปลาน้อย15 และอาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าการให้อาหารเสริมแก่ทารกก่อนทารกอายุ 4 เดือนจะมีประโยชน์ต่อการช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดอาการภูมิแพ้16,17 ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่จะให้คำแนะนำสำหรับการเริ่มอาหารเสริมที่เร็วกว่า 4 เดือน นอกจากนี้ในกรณีที่มีการให้ของหวานหรือขนมหวานกับทารกในขวบแรกของชีวิตอาจสัมพันธ์กับการเร่งให้การเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 เร็วขึ้น18 และการให้อาหารที่มีโปรตีนจากผลิตภัณฑ์จากนม เนยสูงกับทารกในขวบแรกอาจสัมพันธ์กับการมีดัชนีมวลกายสูงและมีสัดส่วนของไขมันในร่างกายสูงเมื่อเข้าสู่วัยเด็ก19

หนังสืออ้างอิง

  1. Roos N, Sorensen JC, Sorensen H, et al. Screening for anti-nutritional compounds in complementary foods and food aid products for infants and young children. Matern Child Nutr 2013;9 Suppl 1:47-71.
  2. Romulus-Nieuwelink JJ, Doak C, Albernaz E, Victora CG, Haisma H. Breast milk and complementary food intake in Brazilian infants according to socio-economic position. Int J Pediatr Obes 2011;6:e508-14.
  3. Rodriguez-Oliveros MG, Bisogni CA, Frongillo EA. Knowledge about food classification systems and value attributes provides insight for understanding complementary food choices in Mexican working mothers. Appetite 2014;83C:144-52.
  4. Schwartz C, Chabanet C, Lange C, Issanchou S, Nicklaus S. The role of taste in food acceptance at the beginning of complementary feeding. Physiol Behav 2011;104:646-52.
  5. Paul KH, Muti M, Khalfan SS, Humphrey JH, Caffarella R, Stoltzfus RJ. Beyond food insecurity: how context can improve complementary feeding interventions. Food Nutr Bull 2011;32:244-53.
  6. Alexy U, Drossard C, Kersting M, Remer T. Iodine intake in the youngest: impact of commercial complementary food. Eur J Clin Nutr 2009;63:1368-70.
  7. Wang YY, Chen CM, Wang FZ, Jia M, Wang KA. Effects of nutrient fortified complementary food supplements on anemia of infants and young children in poor rural of Gansu. Biomed Environ Sci 2009;22:194-200.
  8. Skau JK, Bunthang T, Chamnan C, et al. The use of linear programming to determine whether a formulated complementary food product can ensure adequate nutrients for 6- to 11-month-old Cambodian infants. Am J Clin Nutr 2014;99:130-8.
  9. van Rheenen PF, de Moor LT, Eschbach S, Brabin BJ. A cohort study of haemoglobin and zinc protoporphyrin levels in term Zambian infants: effects of iron stores at birth, complementary food and placental malaria. Eur J Clin Nutr 2008;62:1379-87.
  10. Hambidge KM, Sheng X, Mazariegos M, et al. Evaluation of meat as a first complementary food for breastfed infants: impact on iron intake. Nutr Rev 2011;69 Suppl 1:S57-63.
  11. Dube K, Schwartz J, Mueller MJ, Kalhoff H, Kersting M. Complementary food with low (8%) or high (12%) meat content as source of dietary iron: a double-blinded randomized controlled trial. Eur J Nutr 2010;49:11-8.
  12. Rim H, Kim S, Sim B, et al. Effect of iron fortification of nursery complementary food on iron status of infants in the DPRKorea. Asia Pac J Clin Nutr 2008;17:264-9.
  13. Krebs NF. Meat as an early complementary food for infants: implications for macro- and micronutrient intakes. Nestle Nutr Workshop Ser Pediatr Program 2007;60:221-9; discussion 9-33.
  14. Krebs NF, Westcott JE, Butler N, Robinson C, Bell M, Hambidge KM. Meat as a first complementary food for breastfed infants: feasibility and impact on zinc intake and status. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2006;42:207-14.
  15. Mesch CM, Stimming M, Foterek K, et al. Food variety in commercial and homemade complementary meals for infants in Germany. Market survey and dietary practice. Appetite 2014;76:113-9.
  16. Grimshaw KE, Maskell J, Oliver EM, et al. Introduction of complementary foods and the relationship to food allergy. Pediatrics 2013;132:e1529-38.
  17. Heinrich J, Koletzko B, Koletzko S. Timing and diversity of complementary food introduction for prevention of allergic diseases. How early and how much? Expert Rev Clin Immunol 2014;10:701-4.
  18. Crume TL, Crandell J, Norris JM, et al. Timing of complementary food introduction and age at diagnosis of type 1 diabetes: the SEARCH nutrition ancillary study (SNAS). Eur J Clin Nutr 2014.
  19. Pearce J, Langley-Evans SC. The types of food introduced during complementary feeding and risk of childhood obesity: a systematic review. Int J Obes (Lond) 2013;37:477-85.