เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

การต้มหรืออุ่นนมแม่

pump6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????นมแม่ไม่ควรผ่านความร้อนหากไม่จำเป็น เนื่องจากความร้อนจะทำลายภูมิคุ้มกันและเอนไซม์ในน้ำนม อย่างไรก็ตาม แม้นมแม่ที่ผ่านความร้อนก็ยังมีคุณค่าเหนือนมผสม ดังนั้น ไม่ควรให้นมที่ผ่านความร้อนสำหรับลูกตนเองยกเว้นในกรณีที่มารดาติดเชื้อเอชไอวี

การพาสเจอร์ไรส์นมแม่

DSC00115

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การให้ความร้อนและการพาสเจอร์ไรส์นมแม่แต่ละวิธีมีผลต่อโปรตีนในน้ำนมแตกต่างกัน การใช้วิธีการต้มน้ำนมจะทำลายโปรตีนในน้ำนมมากที่สุด การให้ความร้อนโดยใช้อุณหภูมิสูงในเวลาสั้น (HTST heating) จะมีผลต่อโปรตีนน้อยกว่าวิธีการให้ความร้อนโดยใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่าในเวลานาน (Holder pasteurization)

ธนาคารนมแม่

55899542

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ธนาคารนมแม่เป็นที่รับบริจาคน้ำนมจากมารดาผู้บริจาคนมแม่ เก็บรักษา และแจกจ่ายให้กับสถานพยาบาลที่มีความจำเป็นในการใช้นมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือเจ็บป่วยที่อยู่ในหอทารกวิกฤต มารดาที่บริจาคน้ำนมจะได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและความเจ็บป่วยอื่นๆ น้ำนมที่เก็บได้จะได้รับการพลาสเจอไรส์ก่อนนำไปให้กับทารก

วิธีการป้อนนมด้วยถ้วย

DSC00123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? การป้อนนมด้วยถ้วย ควรใส่นมในถ้วยประมาณครึ่งแก้ว จับถ้วยนมไปใกล้กับปากของทารก เมื่อถึงมุมปาก วางขอบถ้วยบริเวณริมฝีปากล่างให้แตะสัมผัสเบาๆ เอียงถ้วยเล็กน้อย ให้ทารกพอทีจะแลบลิ้นออกมารับน้ำนมเข้าปากได้ เพื่อจะให้ทารกสามารถควบคุมกระบวนการการกินนมด้วยตนเอง และควรระมัดระวังไม่ให้เกิดการเทน้ำนมเข้าไปในปากทารก

? ? ? ? ? ปริมาณน้ำนมที่ป้อนด้วยถ้วยให้กับทารกขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนักของทารกและเหตุผลที่ต้องป้อนนมทารกด้วยถ้วย

? ? ? ? ? การป้อนนมด้วยถ้วยเป็นวิธีที่ปลอดภัยและใช้ในเป็นวิธีที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านจากการกินนมจากเต้านมเองไม่ได้จนกินนมจากเต้าเองได้ดี

การป้อนน้ำนมในทารกที่ไม่สามารถกินนมจากเต้าได้ด้วยตนเอง

DSC00122

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?วิธีการป้อนน้ำนมในทารกที่ไม่สามารถกินนมจากเต้าได้ด้วยตนเอง อาจทำโดย การป้อนด้วยถ้วย การบีบน้ำนมเข้าปากทารกโดยตรง การป้อนด้วยช้อน การป้อนด้วยหลอดฉีดยาหรือหลอดหยด หรือการป้อนด้วยสายยาง