เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

การเลือกวิธีการคลอดในมารดาที่ตั้งครรภ์แฝด

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?มารดาครรภ์แฝดที่มีทารกคนแรกมีส่วนนำเป็นศีรษะสามารถเลือกคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ส่วนใหญ่มารดามักมีความวิตกกังวลต่างๆ และอาจเลือกที่จะผ่าตัดคลอด มีการศึกษาถึงการวางแผนการคลอดด้วยการผ่าตัดคลอดกับการวางแผนการคลอดทางช่องคลอดในมารดาครรภ์แฝดที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 32-38 สัปดาห์ พบว่าการผ่าตัดคลอดไม่ได้ช่วยลดการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของทารกของมารดาครรภ์แฝด1 ดังนั้น มารดาควรได้รับการอธิบายให้เข้าใจถึงข้อมูลเหล่านี้ เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Barrett JF, Hannah ME, Hutton EK, et al. A randomized trial of planned cesarean or vaginal delivery for twin pregnancy. N Engl J Med 2013;369:1295-305.

 

การให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในมารดาครรภ์แฝด

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? มารดาครรภ์แฝดมักมีโอกาสในการคลอดก่อนกำหนดสูง มีการศึกษาการให้ยาฉีดโปรเจสเตอโรนในมารดาครรภ์แฝดพบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด1 ซึ่งแตกต่างจากการให้โปรเจสเตอโรนในมารดาครรภ์เดี่ยวที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าจะได้ประโยชน์ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด อาจเป็นไปได้ว่า กลไกการคลอดก่อนกำหนดที่สำคัญในครรภ์แฝดอาจจะแตกต่างจากในครรภ์เดี่ยว โดยควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
1. Senat MV, Porcher R, Winer N, et al. Prevention of preterm delivery by 17 alpha-hydroxyprogesterone caproate in asymptomatic twin pregnancies with a short cervix: a randomized controlled trial. Am J Obstet Gynecol 2013;208:194 e1-8.

 

การเจาะถุงน้ำคร่ำในการชักนำการคลอด

IMG_0101

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในมารดาบางรายมีเหตุผลจำเป็นต้องชักนำการคลอด การชักนำการคลอดมีหลายวิธี ได้แก่ การเจาะถุงน้ำคร่ำ การใช้ยาออกซิโตซินใส่ในน้ำเกลือ การใช้ยาสอดใส่ในปากมดลูก การเหน็บช่องคลอดด้วยยา misoprostol ซึ่งมีการศึกษาว่า การเจาะถุงน้ำคร่ำตั้งแต่ในระยะแรกร่วมกับการให้ยาเหน็บช่องคลอดด้วย misoprostol จะมีโอกาสการคลอดทางช่องคลอดสำเร็จสูงกว่า? ใช้ระยะเวลาในการคลอดสั้นกว่า และผลลัพท์ของทารกดีกว่า1

เอกสารอ้างอิง

  1. Makarem MH, Zahran KM, Abdellah MS, Karen MA. Early amniotomy after vaginal misoprostol for induction of labor: a randomized clinical trial. Arch Gynecol Obstet 2013;288:261-5.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การใช้น้ำมันช่วยนวดและหล่อลื่นปากช่องคลอดขณะเบ่งคลอด

 

 

การคลอดทางช่องคลอด
การคลอดทางช่องคลอด

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การคลอดในปัจจุบันแนะนำให้มีการตัดฝีเย็บขณะคลอดเมื่อจำเป็น ดังนั้นการตัดฝีเย็บจึงเลือกตัดในผู้คลอดบางรายเท่านั้น ในมารดาขณะเบ่งคลอดมีการศึกษาถึงการใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันอัลมอนด์ช่วยนวดและหล่อลื่นบริเวณปากช่องคลอด ซึ่งจะช่วยปากช่องคลอดไม่ให้ฉีกขาดขณะคลอดได้ สำหรับชนิดของน้ำมันที่ใช้นวดปากช่องคลอดในแต่ละชนิดที่ใช้ยังไม่มีความแตกต่างกัน1 ดังนั้น หากจะใช้การนวดและหล่อลื่นปากช่องคลอดในขณะคลอด อาจเลือกใช้น้ำมันมะกอกที่มีอยู่แล้วในการใช้เช็ดไขทารกนำมาใช้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Harlev A, Pariente G, Kessous R, et al. Can we find the perfect oil to protect the perineum? A randomized-controlled double-blind trial. J Matern Fetal Neonatal Med 2013;26:1328-31.

 

การติดเครื่องฟังหัวใจทารกระหว่างการรอคลอด

IMG_0111

 

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในระหว่างการรอคลอด ในโรงพยาบาลที่มีเครื่องฟังหัวใจทารกและเครื่องตรวจจับการหดรัดตัวของมดลูกแบบอิเลคทรอนิคส์ (cardiotocography) มักจะใช้เครื่องนี้ในการดูแลมารดาและทารกระหว่างรอคลอด ซึ่งจะสามารถตรวจฟังหัวใจทารกและตรวจการหดรัดตัวของมดลูกได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การให้การดูแลมารดาระหว่างรอคลอดสะดวกมากขึ้น มีการศึกษาว่า การใช้เครื่องตรวจจับการหดรัดตัวของมดลูกแบบหัวตรวจอยู่ที่หน้าท้อง (external monitoring) กับหัวตรวจอยู่ในมดลูก (internal monitoring) ไม่มีความแตกต่างกันในผลของการดูแลมารดาและทารก1 และในโรงพยาบาลที่ไม่มีเครื่องมือนี้ การตรวจฟังหัวใจทารกและตรวจจับการหดรัดตัวของมดลูกโดยพยาบาลที่ชำนาญ ก็ไม่มีความแตกต่างกันในผลการดูแลเช่นเดียวกัน

? ? ? ? ? ?ประเด็นสำคัญในการดูแลระหว่างการรอคลอด คือ การไปตรวจเยี่ยมมารดาและทารกพร้อมกับอ่านผลการตรวจจากเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวก แต่หากไม่ไปตรวจดูแลตามระยะที่ควรจะเป็น ผลการตรวจจากเครื่องมือนี้จะเป็นหลักฐานในการแสดงการดูแลที่ต่ำกว่ามาตรฐานได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bakker JJ, Janssen PF, van Halem K, et al. Internal versus external tocodynamometry during induced or augmented labour. Cochrane Database Syst Rev 2013;8:CD006947.