เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

การตึงคัดเต้านมหลังคลอด ต้องดูแลอย่างไร

S__38208108

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอด มารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิดมีการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองบริเวณเต้านมในราววันที่สองหลังคลอด ร่วมกับน้ำนมเริ่มมา จึงทำให้เกิดอาการตึงคัด บวม เจ็บในเต้านมทั้งสองข้าง และอาจมีไข้ต่ำๆ แต่มักไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ดังนั้น หลักในการรักษาอาการตึงคัดเต้านมในช่วงหลังคลอดใหม่จึงต้องช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้น ลดอาการปวดของมารดา ร่วมกับการระบายน้ำนมออกจากเต้านมโดยให้ทารกดูดนม การช่วยในการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองอาจทำโดยการประคบร้อน การนวด หรือการใช้ลูกประคบ ซึ่งจะช่วยในบรรเทาอาการปวดได้ด้วย สำหรับการประคบเย็นจะช่วยลดการเพิ่มการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองมาที่เต้านมและช่วยบรรเทาอาการปวด หากในมารดาที่เริ่มมีอาการปวดและบวมของเต้านม การใช้การประคบเย็นน่าจะช่วยได้ดี สำหรับมารดาที่มีอาการตึงคัดมาสองสามวันแล้ว การนวดและประคบร้อนน่าจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้น การใช้ยาลดอาการปวดร่วมด้วยอาจจำเป็นในกรณีที่มารดามีอาการปวดมาก อย่างไรก็ตาม ความทำการช่วยระบายน้ำนมจากเต้านมโดยการให้ลูกกินนมแม่บ่อยๆ ในช่วงที่มีอาการตึงคัดเต้านม

? ? ? ? ? ? ? ?ในกรณีการตึงคัดเต้านมเกิดหลังจากการคลอดเป็นระยะเวลานาน มักเป็นจากการระบายน้ำนมออกหรือให้ลูกดูดนมไม่บ่อยพอ การดูแลรักษาจึงเน้นไปที่การให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นหรือการบีบน้ำนมออกเพื่อช่วยระบายน้ำนม อาการตึงคัดเต้านมหลังคลอดใหม่เป็นอาการปกติที่มักเกิดขึ้นได้ซึ่งควรแยกออกจากภาวะแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรง ได้แก่ เต้านมอักเสบ และฝีที่เต้านมเสมอ ??

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

การเจ็บหัวนม เรื่องพบบ่อยที่ต้องใส่ใจ

S__38208150

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในการให้ลูกกินนมแม่ มารดาอาจมีอาการเจ็บหัวนมจากการดูดนมของทารกได้ โดยมักพบในวันที่สองหลังคลอด อาการเจ็บมักจะมีในขณะให้ทารกดูดนม แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น และหายไปได้เองในช่วงปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด แต่หากอาการเจ็บหัวนมรุนแรงขึ้นหรือยังมีอาการต่อเนื่อง การหาสาเหตุของการเจ็บหัวนมจะมีความจำเป็น โดยสาเหตุที่พบ ได้แก่ การจัดท่าเข้าเต้าให้นมที่ไม่เหมาะสม การมีหัวนมแตก การติดเชื้อ การที่ทารกมีภาวะลิ้นติด และการหดตัวของเส้นเลือดบริเวณหัวนม การแก้ไขสาเหตุจะช่วยแก้ปัญหาการเจ็บหัวนมได้ อย่างไรก็ตาม มักพบการจัดท่าให้นมที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุหลัก โดยสาเหตุนี้อาจพบร่วมกับสาเหตุอื่นๆ ได้ ดังนั้น ในการแก้ปัญหาจึงมักต้องมีการสังเกตการให้นมของมารดาว่า มีการจัดท่าที่เหมาะสมหรือไม่เสมอ สำหรับการจำกัดระยะเวลาในการเข้าเต้าหรือการเพิ่มระยะเวลาในการเข้าเต้าทีละน้อยจะไม่ช่วยในการรักษา การใช้ยาลดอาการเจ็บหัวนม เช่น ibuprofen อาจมีความจำเป็นในกรณีที่มารดามีอาการเจ็บหัวนมมาก ในกรณีที่มีหัวนมแตก มารดาควรใช้น้ำนมส่วนหลังทาบริเวณที่หัวนมแตกหลังทารกกินนม มารดาที่มีหัวนมแตกโดยทั่วไปสามารถให้นมแม่ต่อไปได้ แต่หากแผลที่หัวนมรุนแรงจนไม่สามารถให้นมได้ การบีบน้ำนมและใช้การป้อนทารกด้วยถ้วนแทนในระยะสั้นจนแผลเริ่มดีขึ้นแล้วจึงให้ลูกดูดนมจากเต้าต่อได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

 

การกินนมจากเต้ากับนมจากขวด แตกต่างกันอย่างไร

 

S__38208155

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ลูกกินนมแม่จากเต้านมจะมีกลไกการกินที่มีความแตกต่างจากการกินนมจากขวด ลักษณะการเคลื่อนที่ของลิ้นและการขยับของขากรรไกรของทารกจะไม่เหมือนกัน ในระหว่างการกินนมจากเต้า ทารกจะมีการหายใจที่สัมพันธ์กับการดูดและกลืนน้ำนม โดยอัตราส่วนการหายใจ การดูด และการกลืนนมจะเป็น 1:1:1 ในขณะที่ทารกที่กินนมขวด น้ำนมจะไหลเร็ว ทำให้ทารกหยุดหายใจและหายใจออกเร็วกว่า การให้ทารกกินนมจากขวดจะอาจทำให้ทารกคุ้นเคยกับการดูดนมจากขวดที่ไหลได้เร็วและทารกไม่ได้เคลื่อนลิ้นไปด้านหน้าในขณะกินนม เมื่อนำทารกมากินนมแม่จากเต้าจึงอาจมีความลำบาก ต้องฝึกลักษณะการดูดนมใหม่ ทารกที่ติดขวดนมแล้ว อาจจะหงุดหงิดและปฏิเสธการกินนมจากเต้า อย่างไรก็ตาม แม้มีความลำบาก หากมารดามีความตั้งใจที่จะให้ลูกกินนมแม่ร่วมกับการสนับสนุนของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นผู้ดูแล การเข้าเต้าเพื่อให้ทารกกินนมแม่ยังสามารถทำได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

ภาวะน้ำตาลต่ำในทารกแรกเกิด

S__38208134

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ภาวะน้ำตาลต่ำเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยทั่วไปมักพบในทารกที่มารดาเป็นเบาหวาน ทารกที่คลอดก่อนกำหนด และทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์อายุครรภ์ แต่จะไม่พบในทารกที่คลอดครบกำหนดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดของทารกจะต่ำที่สุดในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ดังนั้น การที่จะช่วยป้องกันหรือลดปัญหาภาวะน้ำตาลต่ำในทารกสามารถทำได้โดยการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ และให้ทารกเริ่มต้นกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งจะช่วยปัญหาภาวะน้ำตาลต่ำ

? ? ? ? ? ? ? ? สำหรับอาการของทารกที่มีภาวะน้ำตาลต่ำนั้น ในบางคนอาจไม่แสดงอาการ และหากมีอาการ สามารถเป็นได้ตั้งแต่ กระวนกระวาย หงุดหงิด เฉื่อยชา ง่วงซึม โคม่า หายใจเร็ว หยุดหายใจ เขียว อุณหภูมิร่างกายต่ำหรือไม่คงที่ ความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชัก หรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของการกิน

? ? ? ? ? ? ? ? การดูแลรักษา ควรเริ่มต้นตั้งแต่การคัดกรองทารกที่มีความเสี่ยง เน้นให้มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ และเริ่มให้นมแม่เร็ว และให้บ่อยๆ ในทารกที่ไม่มีอาการ การดูแลเบื้องต้นและเจาะเลือดก่อนการให้นมจะช่วยในการรักษาได้ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาการให้น้ำนมที่ได้จากการบีบเก็บหรือนงผงดัดแปลงสำหรับทารกเพิ่มเติม แต่ในทารกที่มีอาการ จำเป็นต้องใช้การให้น้ำเกลือร่วมในการดูแลด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

การใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนในสตรีตั้งครรภ์

IMG_9466

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เมื่อสตรีตั้งครรภ์มักมีอาการแพ้ในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งอาการในมารดาแต่ละคนมีมากน้อยไม่เท่ากัน ในมารดาที่มีอาการน้อย อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารโดยกินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น จะช่วยให้มารดาสามารถรับประทานอาหารได้ การกินน้ำหวานจะช่วยลดอาการอ่อนเพลียในมารดาที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก นอกจากนี้ การใช้การแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ยังสามารถลดการใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนได้ ได้แก่ การดื่มน้ำขิง การฝังเข็ม แต่ในมารดาบางคนที่มีอาการมาก การเริ่มต้นใช้ยาอาจมีความจำเป็น ยาที่ใช้เป็นทางเลือกแรก ได้แก่ วิตามินบีหก ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้น อาจให้ dimenhydramine ร่วมด้วย ยานี้อาจทำให้มารดาง่วงนอนได้ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ยา ondansetron ซึ่งจากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าประโยชน์ของการใช้ยามีมากกว่าความเสี่ยงในการใช้ยา อย่างไรก็ตาม มีรายงานบางการศึกษาพบว่า การใช้ยานี้อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของหัวใจโดยเฉพาะที่ลิ้นหัวใจ1 ดังนั้น แม้สมาคมสูตินรีแพทย์ของอเมริกาจะแนะนำให้ใช้ได้โดยมีความเสี่ยงต่ำ แต่การใช้ควรมีการเฝ้าระวังและติดตามรายงานผลด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Carstairs SD. Ondansetron Use in Pregnancy and Birth Defects: A Systematic Review. Obstet Gynecol 2016;127:878-83.