รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?คำว่า สับสนหัวนม คำนี้ได้ถูกนำมาใช้แพร่หลาย แต่ยังไม่มีการกำหนดนิยามออกมาเป็นทางการ และขาดข้อมูลรายงานถึงอุบัติการณ์ของการสับสนหัวนม กลไกที่การเกิด สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นเฉพาะในเด็กบางคนที่อาจมีปัญหาจากการเข้าและจากการนมให้ขวดนม ทำให้เด็กบางคนสับสน ไม่สามารถแยกแยะระหว่างหัวนมกับจุกนมจนทำให้มีความยากลำบากในการดูดนมจากเต้านมซึ่งต้องการช่วยแก้ไขต่อไป โดยทั่วไปการที่ทารกดูดนมจากเต้า ทารกจะอมหัวนมและลานนมลึกและใช้ลิ้นดุนหรือกดบริเวณลานนมเมื่อดูดนมจากเต้าอย่างถูกวิธี โดยกลไกการดูดนมจะเป็นอัตโนมัติ ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบการดูดนมจากเต้านมกับจุกนม หากทารกได้รับการป้อนนมจากจุกนมมาก่อน ส่วนใหญ่ทารกอาจจะปฏิเสธที่จะดูดนมจากเต้านม เนื่องจากการดูดนมจากเต้านม ทารกต้องอ้าปากกว้างและอมหัวนมแม่ไปถึงลานนม และขณะดูดนมหัวนมแม่จะยืดไปถึงด้านในปากของลูก ซึ่งจะมีความยากมากกว่าการดูดนมจากจุกนมที่ใช้การอมจุกนมเพียงตื้น ๆ ?
ปัจจัยหลายอย่างของมารดาและทารก เช่น การเจ็บหัวนมของมารดา การคัดตึงเต้านม และการที่ทารกมีน้ำหนักขึ้นช้าที่ทำให้มารดาไม่ได้ให้ทารกดูดนมจากเต้า ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าทารกไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ แต่การขาดความชำนาญในการช่วยเหลือทารกให้ดูดนมจากเต้าที่ต้องใช้ความพยายามเนื่องจากมีความยากมากกว่า ทำให้เกิดการตัดสินใจเลือกที่จะให้ทารกดูดนมจากจุกนม สิ่งนี้อาจนำมาซึ่งปัญหาสับสนหัวนม ดังนั้น การแก้ปัญหาการสับสนหัวนมควรทำโดยการให้ข้อมูลแก่มารดาและผู้ดูแลในการให้ทารกดูดนมจากเต้าที่ถูกวิธี โดยหากผู้ช่วยหรือผู้ที่ให้คำปรึกษาขาดทักษะและให้ทารกกินนมจากขวดซ้ำ ๆ ทารกจะปฏิเสธเต้านมอีก ซึ่งอาจทำให้มารดาทุกข์ทรมานจากการที่ไม่สามารถให้นมลูกจากเต้า ทารกก็จะสับสนทุกข์ยากลำบาก และปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไข แต่หากผู้ช่วยหรือผู้ให้คำปรึกษามีทักษะสามารถช่วยเข้าเต้าได้ มารดาและทารกก็จะมีความสุขเมื่อได้ให้หรือดูดนมจากเต้านมของแม่1
เอกสารอ้างอิง
- Fisher C, Inch S. Nipple confusion–who is confused? J Pediatr 1996;129:174-5.