มงคล เลาหเพ็ญแสง
นมแม่…แหล่งอาหารสำคัญของลูก
? ? ? ? ? ? ? ? ? เป็นที่ทราบกันดีว่า นมแม่เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูก โดยเฉพาะในเด็กวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน ทั้งสารอาหารที่มีประโยชน์ และภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังสะดวกและประหยัด ที่สำคัญระหว่างให้นมลูกนั้นเป็นช่วงเวลาคุณภาพที่ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลศิริราชจึงรณรงค์การให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงลดน้อยลง ทว่าคลินิกนมแม่กลับพบปัญหาใหม่ นั่นคือคุณแม่จำนวนหนึ่งไม่สามารถให้นมลูกได้ เนื่องจากเด็กมีพังผืดใต้ลิ้น จากปัญหาดังกล่าว ทำให้แม่หลายคนตัดสินใจให้ลูกดูดนมจากขวดพลาสติกแทนการดูดจากเต้าตนเอง เพราะทนเจ็บไม่ไหว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเกิดความล้มเหลว จึงได้มีการวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัด และทำการวิจัยเปรียบเทียบวิธีการรักษาพังผืดใต้ลิ้นระหว่างการผ่าตัดโดยการดมยาสลบที่ทำมาแต่เดิม (frenuloplasty) และการผ่าตัดโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ (frenulotomy) ว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้เหมือนกันหรือไม่ เมื่อนำผลการรักษาทั้ง 2 วิธีมาเปรียบเทียบกันพบว่า การใช้ยาชาเฉพาะที่สะดวก รวดเร็ว ลดอัตราเสี่ยงจากการดมยาสลบ และที่สำคัญคือลดค่าใช้จ่าย ซึ่งค่ารักษาพยาบาลด้วยการดมยาสลบประมาณ 2,000 กว่าบาท แต่การใช้ยาชาเฉพาะที่ราคาจะประมาณ 200-300 บาท และเป็นการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ต่อมาจึงมีการพัฒนา Care Team Tongue Tie เพื่อให้การดูแลมีการเชื่อมโยงและต่อเนื่อง และได้มีการพัฒนา SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE (STT Score)
กำเนิด SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE
??????????????? เนื่องจากการวิจัยทำในเด็กจำนวน 1,500 ราย ทั้งยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ที่ยังไม่มีใครมีความรู้เรื่องนี้เลย ก่อนลงมือทำจึงต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการผ่าตัดรักษา จากผลการศึกษานำมาสู่การพัฒนา SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE
???????????????? การพัฒนาเครื่องมือนนี้จะช่วยในการตัดสินใจในทำการผ่าตัดในเด็กที่มีปัญหาเรื่องการดูดนมไม่ได้เท่านั้น ถ้าในเด็กที่มีพังผืดเยอะ แต่ยังสามารถดูดนมแม่ได้เราก็จะไม่ผ่าตัด และเครื่องมือนี้จะสามารถช่วยเราวินิจฉัยได้ว่า คนไข้กลุ่มไหนที่ควรได้รับการผ่าตัด กลุ่มไหนไม่มีปัญหาเราก็ไม่ทำ
??????????????? ?เครื่องมือนี้คือเครื่องมือวัดปัญหาการดูดนมของเด็ก ความจริงอาจไม่ใช่ปัญหาเรื่องพังผืด หรือเรื่องลานหัวนมแม่ แต่อาจะเป็นปัญหาการอุ้มลูกไม่ถูกวิธี เพราะบางคนเป็นแม่ครั้งแรก ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก ซึ่งถ้าเราให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการจัดท่าให้นม มารดาก็จะสามารถผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างสบาย แถมไม่ต้องมีความเจ็บปวดจากการถูกลูกงับลานหัวนม ไม่ต้องมีปัญหาหัวนมแตก หรือเจ็บปวดด้วย แต่ถ้าขาดการช่วยเหลือ เด็กก็จะงับดูดนมแบบผิดวิธี หรือใช้เหงือกงับหัวนมแม่ และทำให้เด็กดูดนมได้ไม่ดี ทั้งที่ความจริงน่าจะดูดได้ดี?
??????????????? ความสำเร็จที่ได้รับจากการทำวิจัยในครั้งนี้ ?นอกจากจะช่วยยกระดับการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานขึ้น ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ทั้งแม่และเด็กแล้ว ยังนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของทีมงาน และทำให้บุคลากรชื่นใจ
??????????????? ปัจจุบันศิริราชมีคลินิกดูแลเฉพาะพังผืดใต้ลิ้นอย่างครบวงจร? ทำการผ่าตัดรักษาช่วยให้ทารกที่มีปัญหา กลับมาดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ? โดยปลอดภัยไปมากกว่า 30,000 ราย? และยังเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับออกไปรับใช้สังคมไทย? ช่วยเหลือส่งเสริมการเรื่องลูกด้วยนมมารดา อย่างต่อเนื่อง
ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์