รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????????? ประเทศเวียดนามนั้น ก่อนหน้าที่จะมีการรณรงค์ด้วยการโฆษณาทางสื่อทีวี อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนต่ำ แล้วทำไมจึงเกิดโครงการการรณรงค์ไม่ให้น้ำแก่ทารกโดยการโฆษณาทางสื่อทีวี เรื่องนี้ได้มีข้อมูลมาจากฐานการวิจัยว่า การที่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนต่ำเนื่องมาจากปัจจัยที่มารดาให้น้ำแก่ทารก โดยที่แนวทางที่จะแก้ไขก็คือ การให้ความรู้แก่มารดา และจากฐานข้อมูลจากการวิจัยเช่นกัน พบว่าสื่อทางทีวีมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนได้มากและประชาชนยังเข้าถึงสื่อนี้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น โครงการไม่ให้น้ำแก่ทารก เพื่อที่จะช่วยให้ทารกได้กินเฉพาะนมแม่หกเดือนจึงเกิดขึ้น โดยขั้นตอนของการดำเนินที่จะนำสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย
- การดำเนินที่เป็นขั้นเป็นตอน โดยการดำเนินงานตามขั้นตอนที่มีการพิสูจน์แล้วว่าได้ผล
- การวิเคราะห์ปัญหา (analyzing)
- การวางแผนจัดการ (designing)
- การพัฒนาการดำเนิน (developing)
- การทดสอบก่อนการปฏิบัติจริง (pretesting)
- การนำสู่การปฏิบัติจริง (launching)
- การติดตามประเมินผล (monitoring)
- มีการใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์วิจัยที่จะเสาะหา ?สิ่งเล็ก ๆ ที่เพียงกระทำจะส่งผลต่อพฤติกรรมในวงกว้าง?
- จุดเน้นของการเปลี่ยนแปลงคือ การขยับแรงขับเคลื่อนที่ส่งผลต่อพฤติกรรม ซึ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากสื่อโฆษณาการไม่ให้น้ำ โดยการสื่อสารว่าไม่มีความจำเป็นต้องให้น้ำแก่ทารกในช่วงหกเดือนแรกเพราะจะทำให้ลูกได้รับนมแม่น้อยลง ทำให้ได้รับประโยชน์จากแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ จากนมแม่น้อยลง ผ่านตัวละครที่เป็นทารกที่น่ารักที่จะนำไปสู่การติดตา จดจำ และระลึกถึงได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องมีการให้นมลูก แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมสามารถเกิดการปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วกว่าที่คิดหรือจินตนาการไว้ โดยอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเพิ่มขึ้นราวสองเท่าหลังจากมีการสื่อโฆษณาไม่ให้น้ำทางทีวีได้แพร่ภาพ ออกไปในระยะเวลาอันสั้น
- ความถี่บ่อยและช่วงเวลาของการเผยแพร่สื่อ มีความสำคัญ จากข้อมูลพบว่าการที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้นั้น ต้องมีการได้รับสื่อในความถี่ที่พอเหมาะ ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมที่มารดาและครอบครัวจะได้รับสื่อพบว่าเป็นช่วงเวลาที่ค่าสื่อโฆษณามีอัตราสูง แต่เมื่อคำนึงถึงผลสำเร็จก็มีความคุ้มค่าและน่าลงทุน
?????????????????? สรุปแล้ว โครงการไม่ให้น้ำแก่ทารกเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนให้เพิ่มขึ้นของประเทศเวียดนามประสบความสำเร็จจากพื้นฐานการสำรวจวิจัยบนฐานข้อมูล มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ประกอบกับการลงทุนที่คำนึงความคุ้มค่าเมื่อมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงน่าจะนำมาเป็นแบบอย่างในการรณรงค์เพื่อขับเคลื่อนการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยด้วย ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินงานบนฐานข้อมูลและการทำงานที่เป็นระบบอย่างมีมาตรฐานเช่นกัน
ที่มาจาก การบรรยายของ Ms. Phan Hong Linh และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์