หากมารดาคิดถึงลูก ทำไมน้ำนมไหลได้

IMG_3892

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การที่มารดามีน้ำนมไหลออกมาจากเต้านมได้เมื่อคิดถึงลูก ได้กลิ่น หรือเห็นภาพของลูกนั้นเป็นจากกลไกการหลั่งน้ำนม (let-down reflex) หรืออาจเรียกว่า กลไกน้ำนมพุ่ง (milk ejection reflex) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ทารกกระตุ้นดูดนมจากเต้านมข้างหนึ่งและเต้านมอีกข้างมีน้ำนมไหล ผ่านกลไกหลักคือฮอร์โมนออกซิโตซินที่ถูกกระตุ้นจากการดูดนมของทารก หรือจากการสั่งงานของสมองเมื่อมารดาคิดถึงลูก หรือสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้คิดถึงลูก ฮอร์โมนออกซิโตซินนี้นอกจากจะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี ทารกไม่ต้องออกแรงในการดูดนมมากแล้ว ยังช่วยสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก นอกจากนี้ กลไกนี้อาจเป็นสิ่งที่สะท้อนอย่างหนึ่งว่าน้ำนมมารดาน่าจะมีเพียงพอ แต่หากมีมากตั้งแต่ทารกเริ่มดูดและมารดารู้สึกว่าตึงแน่นบริเวณบริเวณลานนมมาก อาจทำให้ทารกดูดนมได้ลำบากจากการที่น้ำนมไหลเร็วเกินไป การบีบน้ำนมออกก่อนให้ลานนมนุ่มลง จะช่วยให้ทารกสามารถอมหัวนมและลานนมได้ดีขึ้น ไม่สำลักหรืองับหัวนมมารดาจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มารดาเจ็บหัวนม