หากน้ำนมไหลทั้งสองเต้า ให้นมจากเต้านมทั้งสองเต้าหรือเต้าเดียวดีกว่ากัน

IMG_3522

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? น้ำนมมารดานั้น จะมีน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง ซึ่งจะมีส่วนประกอบของสารอาหารที่แตกต่างกัน น้ำนมส่วนแรกที่ลูกกินจากเต้าจะเป็นน้ำนมส่วนหน้าที่มีสัดส่วนของน้ำตาลมากกว่า น้ำนมส่วนที่หลังจากที่ทารกดูดนมไประยะหนึ่งแล้วจะเป็นน้ำนมส่วนหลังที่จะมีสัดส่วนของไขมันที่มากกว่า มารดาควรให้ทารกกินนมทั้งน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังเพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารครบถ้วน กินอิ่มและหลับได้ดี ไม่งอแงหรือตื่นบ่อยหากทารกกินนมจากน้ำนมส่วนหน้าอย่างเดียว ซึ่งจะย่อยง่ายและถ่ายบ่อย การเลือกให้ทารกกินนมจากเต้าควรเริ่มที่เต้านมด้านใดด้านหนึ่งก่อน กินจนเกลี้ยงเต้าให้ได้ทั้งน้ำนมส่วนหน้าและส่วนหลัง เมื่อเกลี้ยงเต้าแล้ว หากทารกยังไม่อิ่มจึงเปลี่ยนไปกินอีกเต้าหนึ่ง หากทารกกินนมพอแล้วน้ำนมจากเต้านมยังเหลืออาจบีบน้ำนมเก็บ หรือเมื่อให้นมครั้งต่อไปควรให้จากเต้านมข้างที่ยังมีน้ำนมค้างอยู่ เนื่องจากกลไกการสร้างน้ำนมจะขึ้นอยู่กับการให้ทารกกินนมให้เกลี้ยงเต้ากับจำนวนครั้งของการกระตุ้นดูดนมของทารก จึงควรยึดหลักการดูดนมให้เกลี้ยงเต้าและดูดนมบ่อยๆ เพื่อช่วยให้การสร้างน้ำนมทำได้ดี

?????????? ในขณะที่ทารกดูดนมมารดาจากเต้านมด้านหนึ่ง น้ำนมจากเต้านมอีกข้างมักไหลออกมา เป็นกลไกการหลั่งน้ำนม (let-down reflex) หรืออาจเรียกว่า กลไกน้ำนมพุ่ง (milk ejection reflex) ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนอย่างหนึ่งว่าน้ำนมมารดาน่าจะมีเพียงพอ แต่มารดาบางคนเข้าใจผิดคิดว่าน้ำนมข้างที่กินอยู่เดิมน่าจะมีน้ำนมน้อยแล้ว จึงสลับไปให้นมจากเต้านมอีกข้าง ซึ่งกรณีนี้ทารกจะกินแต่น้ำนมส่วนหน้า ทำให้หิวบ่อย ตื่นบ่อย ยิ่งทำให้มารดาเข้าใจว่าน้ำนมไม่เพียงพอเข้าไปอีก เมื่อทารกกินนมไม่เกลี้ยงเต้า สารยับยั้งการสารน้ำนมที่มีอยู่ในน้ำนมเองจะขังอยู่ในเต้านมส่งผลทำให้การสร้างน้ำนมลดลง กระบวนการนี้จะมีผลต่อการลดการสร้างน้ำนม ทำให้มารดามีน้ำนมลดลงและไม่เพียงพอจริงต่างจากในช่วงแรกที่เป็นเพียงเข้าใจผิดว่าน้ำนมไม่เพียงพอ?