คลินิกนมแม่ ภาระงานการพยาบาลและความปลอดภัยของผู้ป่วย

IMG_3475

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การคิดภาระงานการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับมาตรฐานการให้การพยาบาล ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ (patient safety)1 ดังนั้นในทุกการให้บริการจึงควรมีการคิดอัตรากำลัง โดยภาระงานที่นำมาคิดอาจพิจารณาเป็น

  • การดูแลผู้ป่วยโดยตรง? (direct care) ตัวอย่างเช่น การทำแผล การเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย การให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจแก่ผู้ป่วย
  • การดูแลผู้ป่วยทางอ้อม (indirect care) ตัวอย่างเช่น การบริหารจัดการจำนวนเวชภัณฑ์สำหรับผู้ป่วย การจัดการเรื่องเอกสาร การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การส่งต่องาน การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
  • กิจกรรมที่ไม่ใช่การดูแลผู้ป่วย (nonpatient care) ตัวอย่างเช่น การอบรมและฝึกทักษะการพยาบาล การแก้ปัญหาเครื่องมือทำงานผิดปกติ ระยะเวลารอคอย
  • นอกจากนี้ ในบางกรณี การจัดกิจกรรมอาจคำนึงถึงในเรื่องคุณภาพชีวิต โดยคิดช่วงพัก ช่วงรับประทานอาหารกลางวัน ช่วงที่เข้าห้องน้ำ

? ? ? ? ? ? ? เมื่อคิดภาระงานและสามารถจัดสรรกำลังคนได้อย่างเหมาะสม จะสามารถลดการเกิดความผิดพลาดในการให้บริการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการให้บริการ1 สำหรับในคลินิกนมแม่นั้น แม้จะมองว่า ความผิดพลาดนั้น หากเกิดมักจะไม่รุนแรงและอันตรายถึงชีวิต แต่การให้คุณค่าแก่กิจกรรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (value-added) ซึ่งจะส่งผลลัพท์ที่เป็นพื้นฐานของสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องจัดสรรโดยเพิ่มคุณค่าให้กิจกรรมนี้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Swiger PA, Vance DE, Patrician PA. Nursing workload in the acute-care setting: A concept analysis of nursing workload. Nurs Outlook 2016;64:244-54.