รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?การผ่าตัดคลอดมีผลต่อมารดาและทารกในด้านการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยมารดามีแนวโน้มจะตื่นกลัวและเครียด ได้รับการให้น้ำเกลือและสายสวนปัสสาวะ ถูกจัดให้อยู่บนเตียงและจำกัดการเคลื่อนไหว ต้องงดน้ำและอาหารก่อนและหลังการคลอด ซึ่งทำให้ขาดพลังงานในการจะดูแลทารก ได้รับยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวดซึ่งส่งผลต่อมารดาและทารกในการเริ่มให้นมลูก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการตกเลือด มารดาอาจรู้สึกล้มเหลวที่ร่างกายไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ และมักจะถูกแยกจากทารก
??????????? สำหรับผลกระทบจากการผ่าตัดคลอดที่มีต่อทารก ได้แก่ ทารกจะมีความเสี่ยงสูงในการที่จะไม่ได้กินนมแม่หรือได้กินนมแม่ในช่วงสั้นๆ ทารกที่ผ่าตัดคลอดจะมีปัญหาเรื่องการหายใจมากกว่า ทารกอาจจะต้องการการดูดเสมหะ ซึ่งทำให้ทารกเจ็บปากและลำคอซึ่งมีผลต่อการดูดนมแม่ ทารกได้รับยาทำให้ง่วงจากยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวดที่มารดาได้รับ ทารกจะได้รับการให้โอบกอดเนื้อแนบเนื้อน้อยกว่า และทารกมีโอกาสสูงกว่าที่จะย้ายไปหออภิบาลทารกแรกเกิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อระหว่างทารกด้วยกันเอง และต้องจำกัดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ?การผ่าตัดคลอดเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเริ่มต้นการกินนมแม่ของทารก และมีผลต่ออัตราและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย?
เอกสารอ้างอิง
- Habib FA. Monitoring the practice and progress of initiation of breastfeeding within half an hour to one hour after birth, in the labor room of king khalid university hospital. J Family Community Med 2003;10:41-6.